Stephen King: Different Seasons

Stephen King: Different Seasons เป็นหนังสือที่คุ้มค่าต่อการอ่าน ทำให้ได้พบกับแง่มุมใหม่ของ สตีเฟ่น คิง ในแบบนิยายอเมริกันนี่ชัดเจนมาก
Stephen King: Different Seasons

Stephen King: Different Seasons เป็นนิยายของ เป็นนักเขียนนิยายเขย่าขวัญ ชาวอเมริกัน เกิดวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2490 ที่เมืองพอร์ตแลนด์ ในรัฐเมน  เคยใช้นามปากกาว่า “ริชาร์ด บาร์คแมน” (Richard Bachman) และ “จอห์น สวิเธน” (John Swithen) เขียนนวนิยายเรื่องแรกคือ Carrie ในปี พ.ศ. 2516 ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Doubleday & Co. มีนิยายของคิงถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และบทละครโทรทัศน์ เช่น ‘Salem’ s LotItMiseryPet Sematary

Stephen King: Different Seasons

5 ประเด็นหลังอ่าน Stephen King: Different Seasons สี่นิยายสั้นของคิง จบลง

เอาจริงๆ ผู้เขียนไม่ได้เป็นแฟนของสตีเฟ่น คิง เลย โดยเฉพาะนิยายแนวสยองขวัญ หรือเรื่องผีของเขา ผู้เขียนแทบไม่เคยอ่านเลย แต่มีหนังบางเรื่องที่ดัดแปลงไปเป็นหนังก็ได้ดูอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ใช่แฟนหนังบทดัดแปลงจากนิยายอยู่ดี แต่ที่ตัดสินใจอ่านเล่มนี้แม้ว่าจะหนามาก และใช้เวลาอ่านสองสัปดาห์กว่าๆ เลยทีเดียว เพราะโดยโครงสร้างนิยายสั้นสี่เรื่องนี้แตกต่างจากแนวเขียนโดยรวมของคิง จะกล่าวได้ว่านี่เป็นยอดใบ หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่มันเป็นสิ่งที่นักเขียนปรารถนาจะทำงานที่ตัวเองอยากจะทำจริงๆ ก็เป็นได้ ทั้งสี่เรื่องจึงไม่ใช่นิยายในแนวทางสยองขวัญ สั่นประสาท หรือนิยายสืบสวนหักเหลี่ยม แม้มีเค้าโครงบ้าง แต่โดยประเด็นหลักแล้วคงปรารถนาที่จะทำงานเชิงวรรณกรรมสร้างสรรค์ด้วยเช่นกันในหนังสือเล่มนี้ประกอบไปด้วยนิยายสั้นสี่เรื่อง (ที่จริงบางเรื่องก็ไม่สั้นเลย แยกมาทำเล่มเดี่ยวๆ ก็ได้ 555) Stephen King: Different Seasons ประกอบไปด้วย “Rita Hayworth and the Shawshank Redemption”, “Apt Pupil” , “The Body” และ “The Breathing Method” 

1. Rita Hayworth and the Shawshank Redemption

สังเกตว่าฉบับแปลไทยเล่มนี้ออกแบบปกก็เพื่อให้ต่างจากนิยายของคิงที่มีวางขายในบ้านเราเลยทีเดียว เรียกว่าหาตลาดกลุ่มใหม่ให้กับหนังสือ แต่ไม่รู้ว่าแฟนของคิงจะตามมาอ่านหรือเปล่า เพราะว่าไปแนวทางทั้งสี่เรื่องนี่ ห่างไกลจากหนังสือสยองขวัญพอสมควร แม้บางเรื่องมีกลิ่นอยู่นิดๆ ก็ตาม และในสี่เรื่องนี้เรื่องที่โด่งดังที่สุดก็คงจะเป็น “Rita Hayworth and the Shawshank Redemption” 

ที่เรื่อง “Rita Hayworth and the Shawshank Redemption” ดังมากๆ เพราะหนังได้รับการดัดแปลงให้เป็นหนังในชื่อเรื่องว่า The Shawshank Redemption เป็นหนังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง กำกับโดย Frank Darabont แสดงนำโดย ทิม ร็อบบิน ซึ่งบทตัวเอกตัวนี้ส่งโห้ร็อบบินดังมากๆ และปะทะบทบาทกับ Morgan Freeman เจ้าแห่งดาราสมทบที่เล่นกับบทแบบนี้ทั้งส่งตัวเอง ส่งให้กับตัวแสดงนำ หลายคนยกให้ The Shawshank Redemption เป็นหนังในดวงใจตลอดกาล (สำหรับผู้เขียนยังสงสัยว่าโอเวอร์เรทไปหรือเปล่า 5555) ตอนดูหนังเรื่องนี้ครั้งแรกก็ไม่ได้ชอบมาก เป็นเรื่องราวของนักโทษแหกคุก แอนดี้ ดูเฟรส์น นักบัญชีมือดี ที่ต้องมาติดคุกด้วยข้อหาฆาตกรรมภรรยาและชู้รักอย่างโหดร้าย นิยายเล่าเรื่องโดยผ่านสายตานักโทษอีกคนคือ “ผม” ที่เป็นนักโทษขาใหญ่ ที่ติดคุกมาอย่างยาวนาน เขาหาของให้กับนักโทษคนอื่นๆ ด้วยวิธีการต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนบอกได้เลยว่าให้รายละเอียดมากกว่าในหนังมาก เพราะในหนังมีหลายตอนที่ตัดแบบเร็วๆ โดยเฉพาะตอนที่ผู้คุมจอมกร่างฉีกโปสเตอร์ออก ในนิยาย คิงเองก็ค่อนข้างจะกังวลใจกับหลายตอนที่จะทำให้คนอ่านรู้สึกว่าจะไม่สมจริง เช่นตอนที่แอนดี้รอดพ้นจากการตรวจห้องได้อย่างไรเป็นเวลาสิบๆ ปี แล้วระหว่งที่เขาทุกจับขังเดี่ยวห้องของเขาก็ปลอดภัยจากการที่ไม่ตกไปให้คนอื่น หรือถ้าเขาจะได้รับทัณฑ์บน ความลับของเขาก็ต้องถูกเผย ดังนั้นมันเป็นความบังเอิญล้วนๆ ที่น่ากังวลไม่น้อยจริงๆ แต่ก็นะ มันพอที่จะผ่านไปและถือว่านี่เป็นหนังสือสนุกๆ เล่มนึง สำหรับผู้เขียนถือว่าอ่านสนุก แล้วมันก็เป็นตำราสำหรับคนที่อยากเขียนหนังสือแล้วต้องการหาเรื่อง หรือวิธีเล่า ที่น่าสนใจโดยใช้ “ผม” ให้กลายเป็นพระเจ้า ผู้เขียนว่าตรงนี้สิ เก่งเป็นบ้าเลย

Stephen King: Different Seasons

2. Apt Pupil

นิยายสั้นเรื่องนี้ก็ไปเป็นหนัง แต่ผู้เขียนไม่เคยดู อาจจะบอกได้ว่าถ้าใครชอบงานสยองขวัญของคิง เรื่องนี้มีความใกล้เคียงที่สุดในโลกนิยายของคงแน่นอน เรื่องราวของทอดด์ บาวเดนเด็กหนุ่มผิวขาว ฉลาด เก่ง หล่อ เป็นนักกีฬา และมีอนาคตไกลที่จะไปเรียนมหาวิทยาลัยระดับประเทศ โชคดีหรือโชคร้ายไม่ทราบทอดด์เป็นแฟนพันแท้สงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะพวกเหล่านาซี เขาศึกษาเรื่องราวเหล่านี้จนเข้าเส้นเลือด แล้วความบังเอิญทำให้เขาไปพบกับคิร์ท ดุสเซซันเดอร์ หรืออีกชื่อหนึ่ง อาร์เธอ เดนเคอร์ ชายชราเพื่อนบ้าน อดีตนาซีเก่าที่มากลบดานหนีความผิดในคดีอาชญากรสงคราม เขาเป็นนายทหาร SS ชั้นนำที่มีบทบาทสังหารหมู่ชาวยิวในค่ายกักกัน การค้นพบความลับครั้งนี้ทำให้ความหลงใหลต่อสงครามโลกครั้งที่สองของทอดด์ ฉุดให้วิญญาณภายในของทอดด์แตกกระเจิง จนเปลี่ยนเด็กเรียนดีไปเป็นเด็กเรียนแย่ และสถานการณ์ต่างๆ ของเขาก็ดิ่งลึกลงไปอย่างช่วยไม่ได้

ผู้เขียนชอบงานของคิงอย่างหนึ่งคือ ตอนแรกเขาคงคิดจะเขียนถึงเรื่องนาซีสักเรื่อง แต่คงเขียนในแบบหล่อๆ ไม่ได้ สุดท้ายเรื่องมันพาไปจนกลายเป็นแนวทางของคิงเลยทีเดียว แล้วผมยังชอบการที่เขาใช้คำสบถแบบหยาบคายมากๆ ถ้านึกเป็นภาษาอังกฤษนะครับ แล้วก็การบรรยายฉากสยดสยองนี่ คิงกินขาดจนเราอยากจะอาเจียนเลยล่ะ 

บทวิจารณ์ที่เกี่ยวข้อง: Blade Runner>>

3. The Body

หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อหนังว่า Stand by Me ผู้เขียนบอกได้เลยว่า นี่เป็นครั้งแรกที่ชอบหนังและหนังสือพอๆ กัน หนังเรื่องนี้ทำได้ดีมากนะครับ ส่วนหนังสือผู้เขียนอยากบอกว่า นี่คือนิยายสั้นที่คิงอาจจะระลึกถึงช่วงเวลาที่เขาเป็นเด็ก และต้องการเป็นนักเขียน มันเป็นนิยาย coming of age ที่ไม่ได้ดีที่สุด (แต่หนังรื่อง Stand by Me เป็นหนัง coming of age ที่ดีมากๆ เรื่องนึง) แต่นิยายเรื่องนี้ผู้เขียนเห็นว่าคิงตั้งใจมากๆ ที่จะใส่แรงปรารถนาในงานเขียนของเขาลงไป 

ผู้เขียนเคยได้ยินนักเขียนบางคนเปรยว่า เขาไม่ชอบอ่านหนังสือ เพราะกลัวว่าจะติดรูปแบบนักเขียนคนนั้นๆ ส่วนนักเขียนบางคนมักคิดว่า พวกเขาสามารถค้นหาความเป็น original ได้จากอะไรสักอย่างที่ไม่ใช่หนังสือ ซึ่งผู้เขียนอาจพูดได้ว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องเพ้อเจ้อและเข้าใจผิด ใครจะคิดว่าคิงเองก็มีไอดอลนักเขียนอยู่ในใจ และเขาก็อยากจะเขียนงานให้ได้แบบนั้น ดังนั้น The Body คือตัวอย่างหนึ่งที่บอกว่านักเขียนระดับโลกก็มีไอดอลนะจ๊ะ เขาไม่ได้เกิดมาแล้วเก่งเลย 

4. The Breathing Method

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สั้นที่สุด แต่วิธีเล่าของคิงยังเป็นจุดเด่น มันเป็นการซ้อนเรื่องเล่าในเรื่องเล่าไปอีกชั้น “วิธีการหายใจ” พล๊อตต่างจากที่คิงเคยเขียนมากๆ เรื่องเล่าถึงคนท้องที่ยังไม่แต่งงาน กับหมอสูตินารี ที่สอนวิธีหายใจให้เธอก่อนคลอด ในเรื่องนี้เราจะพบว่าสังคมอเมริกันในยุคก่อนก็เป็นสังคมอนุรักษ์นิยมค่อนข้างมาก ในตอนจบผู้เขียนคิดว่ามันเป็นตอนจบที่เหตุการณ์แสนจะเละเทะที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เพราะถ้ามันไม่จบแบบนี้เรื่องมันคงจืดพิลึก เสียชื่อชั้นเจ้าพ่อสยองขวัญแน่นอน 555 

5. บทสรุป

หนังสือเล่มนี้คุ้มค่าต่อการอ่าน แม้ว่าหนังสือจะหนาและหนักมาก มีบางตอนเนือยๆ ไปบ้าง แต่ก็พอทำให้ได้พบกับแง่มุมใหม่ของ สตีเฟ่น คิง ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าแฟนพันธุ์แท้จะชอบงานแบบนี้ของคิงหรือเปล่า แต่กลิ่นในแบบนิยายอเมริกันนี่ชัดเจนมาก การเล่าเรื่อง การบรรยาย ฉาก วิธีคิด การตัดต่อ เหมาะกับการศึกษางานเขียน ถ้าผู้อ่านมีเวลา อ่านหนังสือในช่วงปลายปี เล่มนี้ก็ขอแนะนำ แม้คุณภาพในการจัดหน้าเนื้อในจะยังขัดใจผู้เขียนอยู่บ้างก็ตาม แต่ถ้าใครสนใจหนังสือที่อ่านสนุก เล่มนี้ซื้อหาอ่านกันได้ครับ

[block id=”bottom-product”]
Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *