Political Crisis Cycle

ผู้ชุมนุมขับไล่รัฐบาลประยุทธ จันทร์โอชา ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สื่อสาร ติดต่อ สัมพันธ์กันผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นส่วนมาก จึงไม่แปลกใจที่จะเห็นการก่อเกิดของเยาวชนเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรมบนท้องถนน 
เพื่ออนาคตเรา

ประยุทธ จันทร์โอชา คือ วงจรวิกฤตทางการเมือง Political Crisis Cycle สืบทอดอำนาจยาวนานถึง 7 ปี รักษาอำนาจเก่ง บริหารแย่ ปราศจากการทบทวน เปลี่ยนแต่ตัวบุคคลเข้ามาแล้วออกไป หากเปิดดวงตามองอย่างเป็นธรรม นี่คือวงจรอุบาททางการเมืองที่ไม่มีวันจบสิ้น เราจะเห็นได้ว่าขบวนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่ออกมาขับไล่ประยุทธ จันทร์โอชา ส่วนใหญ่อยู่ในวัย 15 ปีขึ้นไป จนถึงคนที่ทำงาน โดยเฉพาะเด็กมัธยม ซึ่งในประวัติศาสตร์การประท้วงเยาวชนในวัยนี้แทบไม่เห็น หรือมีบ้างแต่ไม่ได้มีนัยสำคัญมากเท่ากับผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลในปีที่ผ่านมา เป็นเพราะว่าพวกเขามองไม่เห็นอนาคตของตัวเอง มองไม่เห็นสังคมเบื้องหน้าจะเป็นอย่างไร นี่คือความไม่มั่นคง และจะนำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นในอนาคต

มองผิวเผินไม่เจาะลึกเป็นเพราะว่าเยาวชนเหล่านี้สื่อสาร ติดต่อ สัมพันธ์กันผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นส่วนมาก จึงไม่แปลกใจที่จะเห็นการก่อเกิดของเยาวชนเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรมบนท้องถนน 

แต่ถ้าต้องการมองให้ลึกลงไปกว่านั้น ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมดาที่อยู่ๆ ก็เกิดขึ้นมาให้ประจักษ์ต่อสายตาแม้แต่ผู้เขียนเองก็ไม่เคยคิดว่าวันนี้จะได้เห็นภาพมวลชนจำนวนมหาศาลเดินบนท้องถนนเพื่อประท้วงรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรม ใช้อำนาจกดขี่ โดยมีกฎหมายเป็นเครื่องมือ ข่มขู่ประชาชนให้หวาดกลัวต่อการกวาดล้าง จับกุม และกุมขังโดยไม่มีเหตุผล รวมถึงการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินร้ายแรงเพื่อเป็นการถางทางอำนาจ ขาดการตรวจสอบ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ราษฎร

การยุบพรรคอนาคตใหม่

อนาคตใหม่อนาคตของลูกหลาน

ย้อนกลับไปในวันที่พรรคอนาคตใหม่ นำโดยธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค และ ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการฯ ได้นำเสนอนโยบายที่ต้องใจกับกลุ่มเยาวชนจำนวนมาก และพรรคอนาคตใหม่ได้เกาะกุมกินใจเยาวชนอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะในโลกโซเชียลมีเดีย อย่างเช่นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ รวมถึงอินสตาแกรม พรรคอนาคตใหม่เหมือนจะมาเป็นผู้ปิสวิซท์ วงจรวิกฤตทางการเมือง

นั่นเป็นครั้งแรกที่เสียงของประชาชนจากโลกออนไลน์ดังขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน แฮชแท็กในทวิตเตอร์ติดเทรนด์ธนาธร อนาคตใหม่ทุกๆ วัน แม้ในสายตาคู่แข่งทางการเมืองมองว่าแม้จะได้รับความนิยมในโลกโซเชียล ก็ใช่ว่าจะมาได้ด้วยคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง เพราะคนใช้โซเชียลส่วนใหญ่จะเป็นเยาวชน ซึ่งครึ่งหนึ่งอาจจะอายุไม่ถึงเกณฑ์ในการเลือกตั้ง ดังนั้นไม่มีใครในโลกบนดินเชื่อว่าอนาคตใหม่จะได้รับคะแนนเสียงเสียเท่าไหร่

แต่หลังจากประกาศผลการเลือกตั้ง อนาคตใหม่ได้คะแนนรวม 6,312,377 เสียง กลายเป็นพรรคที่มีคนเลือกอันดับสาม ได้ สส.เขต 31 เขต ได้ 50 ปาร์ตี้ลิสต์ ซึ่งเป็นพรรคที่ได้ สส. อันดับสาม เหนือกว่าพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคเก่าแก่ นั่นเป็นเครื่องยืนยันว่าเสียงของพรรคอนาคตใหม่ในโลกโซเชียลฯ ไม่ไร้ความหมายอย่างที่ทุกคนคิด อันเป็นที่มาให้พรรคอนาคตใหม่กลายเป็นพรรคที่เป็นปรปักษ์กับฝ่ายตรงข้ามอันดับหนึ่งในทันที ฝ่ายอนุรักษ์นิยมฝ่ายขวามองว่าอนาคตใหม่จะก่อปัญหาทางการเมืองในระยะยาว การเกิดขึ้นของพรรคอนาคตใหม่ เป็นการเกิดขึ้นของการเมืองแบบใหม่ๆ สร้างความหวาดกลัวให้กับคนบางคน คนบางกลุ่ม ดังนั้นข่าวการฟ้องเพื่อยุบพรรคอนาคตใหม่จึงดังกระหึ่มขึ้นเป็นระยะ โดยระหว่างนั้นได้มีการร้องเรียนพรรคอนาคตใหม่จากทุกสารทิศจากนักร้องหน้าเดิมๆ จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญได้รับฟ้องสองกรณี กรณีแรกคือตราสัญลักษณ์ของพรรคเป็นการล้มล้างการปกครอง หรือ คดี ‘อิลลูมินาติ’ ซึ่งศาลตัดสินไม่ยุบในคดีนี้ในเวลาต่อมา

ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ด้วยคดีที่ธนาธร ออกเงินกู้ให้พรรคตัวเอง จำนวน 191.2 ล้านบาท นั้นได้มีการร่วมลงชื่อคัดค้านการยุบพรรคอนาคตใหม่ โดยมีผู้คนมีชื่อเสียงในสังคมจนไปถึงนักศึกษา–ประชาชนจำนวนมากร่วมลงชื่อ จนยอดลงชื่อมากกว่าหนึ่งหมื่นรายชื่อ และนั่นเป็นข้อสังเกตว่ากระบวนการโซเชียลมีเดียได้ก่อขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรก โดยเฉพาะในคืนก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินนั้น แฮชแท็กในทวิตเตอร์เกี่ยวกับคดียุบพรรคอนาคตใหม่แรงแซงขึ้นเป็นอันดับต้นโดยไม่มีการปั่น แต่เป็นเสียงจากโลกออนไลน์ที่ดังขึ้น และในนาทีที่ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคนั้น กระแสเสียงจากโซเชียลฯนั้นยิ่งแรงขึ้นอีกเป็นหลายเท่า

ผมเข้าใจว่าหลายท่านที่ร่วมลงชื่อคงไม่ได้เห็นด้วยกับพรรคอนาคตใหม่ในทุกเรื่อง แต่ที่ร่วมลงชื่อก็เพราะเห็นถึงความสำคัญของการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้แก่ทุกความคิด ทุกอุดมการณ์ ได้แข่งขันกันภายใต้ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา การเอาชนะกันโดยการตัดคู่แข่งออกจากสนามการเมืองนั้นไม่ยั่งยืน รังแต่จะสร้างปมความขัดแย้งให้ร้าวลึกในสังคม โปรดรับคำขอบคุณจากผมและสมาชิกพรรคอนาคตใหม่อีกครั้ง ด้วยใจจริง”

หลังพรรคอนาคตใหม่โดนยุบ ก็เกิดแฟลชม็อบ “ไม่ถอยไม่ทน” ของพรรคอนาคตใหม่ สิ่งเหล่านี้สะท้อนพลังหนุนทั้งในโลกบนดิน (ออฟไลน์) กับโลกออนไลน์ นักวิชาการหลายคนคาดว่าเหตุการณ์นี้กำลังจะเริ่มต้นและอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกันกับอาหรับสปริง อย่างไรก็ตาม ห่วงการจัด “ม็อบชนม็อบ” ของฝ่ายอนุรักษ์นิยมฝ่ายขวาที่ชูวาทกรรม “ชังชาติ” จะนำไปสู่ความขัดแย้งหนักอีกครั้ง

เมื่อค่ำวานนี้ (14 ธ.ค. 2562) สื่อทั้งไทยและต่างประเทศรายงานว่า มีผู้ร่วมการชุมนุมแฟลซม็อบครั้งนี้กว่าพันคน ในขณะเดียวกันในโลกออนไลน์อย่างในทวิตเตอร์ก็มีกระแสติดแฮชแท็ค #ไม่ถอยไม่ทน ขึ้นอันดับหนึ่งของวันด้วยยอดรวมการทวีต/รีทวีตเกิน 1.2 ล้านครั้ง และ #กลัวที่ไหน มียอดการทวีต/รีทวีตมากกว่า 400,000 ครั้ง ยิ่งตอกย้ำว่าผู้คนบนโลกออนไลน์ที่สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่นั้นเริ่มมองเห็นตัวตนมากขึ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้ 

ขณะเดียวกัน ดร.สติธร ธนานิธิโชติ รักษาการ ผอ. สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้ากล่าวว่า

“ยุคนี้ไม่ใช่การแสดงพลังด้วยการนับหัวคนอย่างเดียว การแสดงพลังแบบเมื่อวานนี้ (14 ธค.) ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าจับต้องได้ และบางส่วนก็มาจากโลกโซเชียล แต่ก็ไม่จำเป็นว่า การชุมนุมทุกครั้งจะต้องออกมาจากสื่อโซเชียลทั้งหมดถึงเรือนหมื่นเรือนแสนเหมือนยุคเหลือง–แดง” 

อย่างไรก็ตาม การแสดงออกผ่านโลกออนไลน์สามารถทำไปพร้อมๆ กับการแสดงออกผ่านการปรากฏตัวได้เช่นกัน

“ยกตัวอย่าง มีคนออกไปปรากฏตัวจำนวนหนึ่ง และก็เกิดพลังในการคอมเมนต์ แชร์ เป็นกระแสอยู่ในสื่อโซเชียล เช่นมีเหตุการณ์ชุมนุม แล้วมีคนทวิต/รีทวีต เป็นล้านสองล้านครั้ง มันเป็นพลังบวกซึ่งกันและกัน คนเยอะเท่าไหร่ไม่รู้ แต่คนทั้งสองโลกนี้ไปด้วยกัน”

ดร.สติธรอธิบายเพิ่มเติม โดยยกตัวอย่างเหมือนกับช่วงของการเลือกตั้งที่สามารถปลุกกระแสขึ้นจนทำให้มีคนจำนวนกว่า 6 ล้านคนออกมาสนับสนุนพรรคอนาคตใหม่

เมื่อถามว่า มีส่วนคล้ายกับรูปแบบการประท้วงในฮ่องกงหรือไม่ ผอ. สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า บอกว่า อาจจะมีความคล้ายบ้าง แต่ว่าหากว่าเกิดขึ้นในประเทศไทย อาจจะไปได้ไกลกว่าฮ่องกง เพราะว่าในไทยอาจจะมีพลังมากกว่าในฮ่องกงโมเดลด้วยซ้ำ เพราะว่าฮ่องกงมีข้อจำกัดคือต้องต่อสู้กับรัฐบาลจีน มีผลประโยชน์ทางธุรกิจ

political crisis cycle

วงจรวิกฤตทางการเมือง ของประเทศไทย political crisis cycle

สำหรับในเมืองไทยจากประสบการณ์การทำการเมืองภาคพลเมือง ประสบการทำงานเมืองบนท้องถนนค่อนข้างมาไกล บวกกับการใช้สื่อสมัยใหม่ ก็มีโอกาสได้ไปถึงอาหรับสปริง หากว่าผู้มีอำนาจประเมินสถานการณ์ไม่ดี⁠1

กระนั้นกลุ่มสนับสนุนฝ่ายอนุรักษ์นิยมฝ่ายขวามองว่าเสียงจากโลกออนไลน์นั้นยังไม่อาจนับได้ว่าเป็นเสียงที่เป็นเสียงของประชาชนจริงๆ พวกเขามองว่ากลุ่มคนที่รีทวีตในโลกออนไลน์ ส่วนใหญ่เป็นพวก “เกรียนคีย์บอร์ด” หรือ “นักรบคีย์บอร์ด” ที่ไร้ตัวตนจับต้องไม่ได้ และประเมินว่าเสียงในโลกออนไลน์นั้นไม่มีทางที่จะปรากฏขึ้นบนโลกจริงบนดินได้ เนื่องจากนิสัยส่วนตัวของคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตมักมีความเป็นส่วนตัวสูง ไม่ชอบเข้าสังคม และค่อนข้างเก็บตัวอยู่ในห้อง

ขณะเดียวกัน เพตรา เดซาโตวา นักวิจัยด้านการเมืองไทย จากสถาบันเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน แสดงความคิดเห็นว่า คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ จะไม่ช่วยแก้ปัญหาการแบ่งฝักฝ่ายทางการเมืองระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยประกาศไว้เมื่อคราวยึดอำนาจปี 2557 ว่าจะเข้ามาสร้างความปรองดอง แต่การยุบพรรคอนาคตใหม่จะยิ่งเพิ่มความขัดแย้งให้รุนแรงขึ้นในอนาคต

“ตลอด 5 ปี ของการปกครองด้วยกองทัพ และตามมาด้วยการเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยคำถาม ประเทศไทยจะยังคงแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันต่อไป หรือมากกว่าสถานการณ์ในช่วงก่อนการรัฐประหารปี 2557”

ด้านอาจารย์ ยาสุฮิโตะ อาซามิ ผู้เชี่ยวชาญการเมืองไทย ภาควิชาการเมืองโลก มหาวิทยาลัยโฮเซ ประเทศญี่ปุ่น ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่าคำตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ เพิ่มความกังวลของนักลงทุนญี่ปุ่นซึ่งเป็นชาติที่ลงทุนมากที่สุดในไทยต่อสถานการณ์การเมืองไทยในอนาคต นั่นอาจก่อให้เกิด วงจรวิกฤตทางการเมือง รอบใหม่

“คนญี่ปุ่นให้ความสนใจกับคำวินิจฉัยวันนี้ของศาลรัฐธรรมนูญมาก หลังจากศาลแถลงคำวินิจฉัยไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง สื่อญี่ปุ่นก็ลงข่าวทันที” 

เขาเสริมว่า การยุบพรรคอนาคตใหม่เพิ่มความกังวลของนักลงทุนญี่ปุ่นต่อเสถียรภาพทางการเมืองไทยมากขึ้นแน่นอน ไม่ใช่เฉพาะระยะสั้นเท่านั้นแต่ระยะกลาง ระยะยาวด้วย

“นักลงทุนญี่ปุ่นก็รู้อยู่ว่าการยุบพรรคอนาคตใหม่จะทำให้คนไทยคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยไม่พอใจและผิดหวังกับรัฐบาลปัจจุบันมากขึ้น และความเชื่อถือของสถาบันตุลาการในสายตาของคนรุ่นใหม่ก็คงลดลง”

อ.อาซามิ เห็นว่าคนรุ่นใหม่จะหมดความหวังกับการต่อสู้ในระบอบรัฐสภาและคิดจะสู้นอกรัฐสภา ถ้าไม่มีทางเลือก สิ่งนี้อาจจำเป็น แต่มักจะมีต้นทุนทางสังคมสูง หากผู้มีอำนาจไม่เอาจริงเอาจังในการหาทางปรองดอง ความไม่พอใจของคนรุ่นใหม่อาจจะทำลายเสถียรภาพไม่เพียงเฉพาะทางการเมือง แต่ยังทำลายเสถียรภาพในด้านอื่นๆ ในสังคมด้วย

“หากผู้มีอำนาจทำให้ผู้ต่อต้านไม่สามารถหาทางต่อสู้นอกสภาด้วยทุกวิธี อาจจะทำให้คนรุ่นใหม่หมดความหวังโดยสิ้นเชิง ทำให้พวกเขาไม่กล้าคิดไม่กล้าพูด เมื่อเป็นเช่นนั้นรัฐบาลอาจจะอยู่รอด แต่สังคมที่ไม่มีคนรุ่นใหม่ที่กล้าคิดกล้าพูดยากที่จะมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจด้วย”

political crisis cycle

จะเห็นได้ว่าผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการหลายต่อหลายสำนักได้มองภาพการยุบพรรคอนาคตใหม่เอาไว้ในเวลานั้นได้อย่างกระจ่างแจ้งไม่ใช่น้อย การยุบพรรคอนาคตใหม่เป็นความพยายามจากชนชั้นนำของไทย ที่ไม่ต้องการให้ประเทศพัฒนาไปข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทธศาสสตร์ชาติ 20 ปี ได้กลายมาเป็นประเด็นสำคัญที่ตอกย้ำให้คนรุ่นใหม่ในสังคมมองเห็นอนาคตของตัวเองว่าจะเป็นอย่างไร ยิ่งย้อนค้นดูแล้วก็พบว่าหลายคนได้เตือนรัฐบาลพลเอกประยุทธให้ทบทวนนโยบายต่างๆ ที่มีผลกระทบกับประชาชนจำนวนมาก เช่นงบประมาณทางด้านสาธารณสุข ประกันสุขภาพถ้วนหน้า งบประมาณของกองทัพเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เช่นเดียวของงบประมาณของสถาบันที่สูงขึ้น

นโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มักจะใช้การแจกเงิน เพื่ออุดหนุนให้กับผู้มีรายได้น้อย แต่เงินส่วนใหญ่ก็มักจะไปเข้ากระเป๋านายทุนรัฐบาลที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน หนี้ในครัวเรือนสูงขึ้น ภาวะเงินฝืดทำให้การเติบโตทางเศรฐกิจถดถอยอย่างหนัก ยิ่งประสบกับวิกฤตการณ์ด้านโรคติดต่อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ยิ่งก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวย คนชั้นกลางระดับล่างกับคนชั้นกลางระดับบนถ่างออกจากกัน ในทางคู่ขนานรัฐบาลประยุทธยังทำลายศัตรูทางการเมืองด้วยวิธีการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งใช้กฎหมาย และสร้างวาทะกรรม “ชังชาติ” ให้กับคนที่คิดเห็นต่าง เมื่อประชาชนไร้อนาคต ไม่มีงาน ไม่มีเงิน ไม่มีความหวัง และการพัฒนาที่ถดถอยเหล่านี้ ได้ทำให้อนาคตของพวกเขาไร้ซึ่งความหวังใดๆ กับรัฐบาลประยุทธ และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ดีกว่า

สรุปโดยสังเขปสิ่งที่นักวิชาการและนักวิเคราะห์มองเห็นตรงกันก็คือ การถือกำเนิดของกระบวนการนักเรียน นักศึกษา และประชาชนมีโอกาสเติบโตขึ้นได้จากเหตุการณ์ยุบพรรคอนาคตใหม่ ความหวังจะให้รัฐสภาเป็นที่พึ่งในการแก้ปัญหา ก็จบสิ้นลงโดยมองไม่เห็นทาง หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งแรกก็ยิ่งตอกย้ำว่าเสียงข้างมากจากฝ่ายรัฐบาลยังจับกันแน่น บวกกับพลังจากวุฒิสภา 250 เสียงจากการแต่งตั้งของ คสช.และประยุทธ เป็นฐานอันแข็งแกร่งเกินกว่าที่จะพังทลายลงมาได้ การแก้ปัญหาความแตกแยกก่อนรัฐประหารปี 57 หรือคำสัญญาว่า “ขอเวลาอีกไม่นาน” รวมถึงแคมเปญของพรรคพลังประชารัฐที่ว่า เลือกความสงบจบที่ลุงตู่” ดูจะเป็นเพียงคำสัญญาลวงที่ไม่มีความหมาย

รัฐบาลยังคงใช้กฎหมาย และรัฐสภาโจมตีคนที่มีความเห็นต่างอย่างต่อเนื่อง วงจรวิกฤตทางการเมือง เกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบ แล้วถ้าขบวนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนจะเติบโตขึ้นอีกหลายเท่า โดยมีชนวนเวลาเรื่องการบริหารประเทศที่ล้มเหลวในทุกด้าน ยิ่งทำให้ความไม่พอใจของประชาชนขยายวงกว้างมากขึ้น การทนอยู่ของประยุทธ จึงไม่ใช่แค่ระเบิดเวลา แต่มันคือชนวนที่จะก่อให้เกิดรอยแผลบาดลึกทางประวัติศาสตร์ก็เป็นได้ ถ้าเราไม่ต้องการให้ประเทศวนกลับไปซ้ำดังเดิม คนที่เป็นนายกชื่อประยุทธ จันทร์โอา ต้องลาออกเพียงสถานเดียว

สถานะทางกฎหมายปัจจุบัน

กกต. ยื่นฟ้องอาญา ธนาธร และผู้บริหารพรรคอนาคตใหม่ ในกรณีศาลรัฐธรรมนูญประกาศยุบพรรคในคดีออกเงินกู้ 191.2 ล้าน พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ และตัดสิทธิ์ทางการเมืองผู้บริหารพรรค

1 สัมภาษณ์จาก บีบีซีไทย

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *