เกริ่นนำ

10 หนังสือน่าอ่านน่าสะสมในงานมหกรรมหนังสือ งานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ 2563 เดินทางมาถึงครึ่งทาง เป็นงานหนังสือใหญ่งานแรกหลังโควิด-19 เมื่อโคโรนาไวรัสเล่นงานคนทั้งโลกให้หยุดทุกกิจกรรมมาเป็นเวลาหลายเดือน รวมถึงประเทศไทย โดยทุกปีงานมหกรรมหนังสือจะมีคอนเซ็ปต์ของงานเป็นโทนให้ผู้อ่านที่ติดตามการอ่านได้เลือกซื้อหนังสือ และถือเป็นการโปรโมตที่จะช่วยส่งเสริมการขายหนังสือให้กับสำนักพิมพ์น้อยใหญ่

โดยคราวนี้คอนเซ็นปต์ของงานถือว่าจัดเต็มมากคือ “Noกองดอง จะ Yes หรือ NO มาโชว์กันในงาน” ซึ่งกลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันในหมู่นักอ่าน และสำนักพิมพ์ เป็นอย่างมาก เนื่องจากการมอง “กองดอง” (หมายถึงหนังสือที่ผู้อ่านซื้อมาแล้วไม่ได้อ่าน แต่ถูกกองเอาไว้บนชั้นหนังสือ) แตกต่างกันหลายแบบหลายฝ่าย หลากหลายจุดประสงค์

แอดมินสงสัยว่าทำไมคอนเซ็ปต์ครั้งนี้ถึงปังได้ขนาดนี้

1.สมาคมผู้จัดพิมพ์ ผู้เป็นแม่งานครั้งนี้มองกองดองว่า ควรส่งเสริมให้นักอ่านอ่านกองที่ดองอยู่ให้หมด แล้วมาซื้อในงาน ซึ่งเป็นการมองที่ลึกซึ้งม๊ากกกกก โดยไม่คำนึงถึงว่าหนังสือบางเล่มแค่มีไว้ก็มีความสุขแล้ว ไม่จำเป็นต้องอ่านก็ได้ หรือเก็บไว้อ่านในอนาคต แต่ทางสมาคมกลับพยายามผลักดันให้คนอ่านกองดองให้หมด ซึ่งคนละเรื่องกับการส่งเสริมการอ่าน หรือส่งเสริมการขายให้สำนักพิมพ์อย่างสิ้นเชิง กองดองของสมาคมกลับไปทำร้ายคนอ่านที่รักการสะสมหนังสือ รักการเลือกซื้อเพราะหน้าปก หรือซื้อเพราะนักเขียน (ซื้อไว้ก่อนนักเขียนคนนี้ชอบ) หรือตัวคอนเท้นต์นั้นๆ ตอบสนองด้านอื่น เช่นอนาคตน่าจะได้อ่าน จึงกลายเป็นว่าคอนเซ็ปต์ของงานแทนที่จะกลายเป็นตัวชูโรง กลับกลายเป็นประเด็นข้อถกเถียง โดยไม่ช่วยให้ภาพลักษณ์ของงานเป็นไปตามที่มุ่งหวัง

2.สำนักพิมพ์ ไม่ได้มองว่าคอนเซ็ปต์ “Noกองดอง จะ Yes หรือ NO มาโชว์กันในงาน” เป็นการส่งเสริมการขาย สำนักพิมพ์อาจจะไม่เกี่ยวเลยที่ผู้อ่านจะซื้อหนังสือไปทำอะไร จะไปอ่านเอง จะเอาไปเก็บบนชั้นหนังสือ จะเอาไปซ้อนขาโต๊ะ หรือบริจาคห้องสมุด แน่นอนว่าสำนักพิมพ์ทำหนังสือก็อยากให้คนได้อ่าน แต่คนอ่านอาจจะซื้อเพราะอย่างอื่นก็ไม่ใช่ปัญหา สำนักพิมพ์ผลิตหนังสือให้ได้คุณภาพตามที่เป็นมาตรฐานนั่นคือหน้าที่สำคัญ ดังนั้นถ้าคอนเซ็ปต์ “Noกองดอง จะ Yes หรือ NO มาโชว์กันในงาน” นั้นจะทำให้สำนักพิมพ์ขายได้ดีขึ้นไหม มองไปทางใดก็ไม่น่าจะมีทาง เพราะคอนเซ็ปต์ของสมาคมฯ นอกจากจะดูไม่ส่งเสริมการขายแล้ว บางคนยังมองว่า เดี๋ยวจะให้ดองหรือจะให้อ่านกันแน่ กลายเป็นอัลไซเมอร์ไปเสียซะอย่างนั้น

3.นักอ่าน นักอ่านขาประจำที่เดินงานหนังสือ ส่วนใหญ่จะจับจ่ายเลือกซื้อหนังสือที่ชอบ พวกเขาจะมีหนังสืออยู่สองแบบใหญ่ๆ ในใจ คือ หนังสือที่อยากได้มาก (อาจจะไม่ต้องอ่านก็ได้) กับ หนังสือที่อยากอ่านมาก (ซื้อมาแล้วไม่อ่านก็ได้) แค่นั้นเอง ดังนั้นการจะให้กลุ่มนักอ่านไปอ่านกองกองหรือไม่อ่านก็ไม่ใช่หน้าที่ที่จะต้องสอดส่อง ทำตัวเป็นรัฐบาลเผด็จการแบบประยุทธไปได้โธ๋

มาเข้าเรื่องของเรากันดีกว่า สำหรับงานมหกรรมหนังสือในปี 63 แอดมินขอแนะนำหนังสือน่าอ่านน่าสะสมที่ผู้อ่านไม่ควรพลาด บางเล่มพิมพ์ใหม่ในงานนี้ บางเล่มพิมพ์ขึ้นในช่วงไวรัสโคโรนาระบาด นักอ่านอาจจะพลาดที่จะเห็นหนังสือ เพราะร้านหนังสือก็ปิด ต้องไปตามหากันในเพจบ้าง บางทีก็ไม่รู้ชื่อสำนักพิมพ์บ้าง ดังนั้นนี่คือสิบเล่มปังๆ ที่จะต้องมีให้ได้ในงานนี้ บางเล่มพิมพ์น้อย พลาดแล้วอาจจะพลาดไปตลอดชีวิตก็ได้ถ้าไม่มีเอาไว้อาจเสียใจภายหลัง

ส่วนใครจะดองใครจะอ่านเป็นเรื่องของความเป็นส่วนตัว การมีความสุขในการซื้อหนังสือคือความสุขที่ยิ่งใหญ่

10 หนังสือน่าอ่านน่าสะสมในงานมหกรรมหนังสือ 63

  1. นิทราชั่วนิรันดร์ ความทรงจำไม่อาจลบ โดย ตุล ไวฑูรเกียรติ สำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม
  2. ผู้หญิง | อำนาจ : Women Power โดย Mary Beard แปลโดย นราวัลย์ ปฐมวัฒน สำนักพิมพ์บุ๊กสเคป
  3. สถาน ณ กาลไม่ปกติ โดย นักเขียนหลายคน สำนักพิมพ์ อะเดย์
  4. Home away from home เกาหลีใต้ที่เห็นและไปอยู่ โดย ปิยฤทธิ์ ปัญจธรรมวิทย์ สำนักพิมพ์แซลมอนบุ๊กส์
  5. ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี โดยณัฐพล ใจจริง สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
  6. ปฏิวัติ 2475 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ มูลนิธิโคงการตำรา
  7. เสมอมา–ตลอดไป โดย จักรพันธุ์ ขวัญมงคล สำนักพิมพ์แซลมอนบุ๊กส์
  8. มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ โดย ภรทิพย์ มั่นคง สำนักพิมพ์อ่าน
  9. เฌอปราง “Soft Power” โดย นิ้วกลม สำนักพิมพ์มติชน
  10. The Bluest Eye โดย Toni Morrison แปลโดย จุฑามาศ แอนเนียน สำนักพิมพ์ไลบรารี่เฮาส์

10 หนังสือน่าอ่านน่าสะสมในงานมหกรรมหนังสือ

  1. นิทราชั่วนิรันดร์ ความทรงจำไม่อาจลบ โดย ตุล ไวฑูรเกียรติ สำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม

หนังสือเล่มล่าสุดของกวีร็อกสตาร์ ที่จะทำให้ผู้อ่านโบยบินไปบนตัวอักษรและซึมแทรกเข้าไปสู่หัวใจกับกวีของเขา | สั่งซื้อหนังสือ |

10 หนังสือน่าอ่านน่าสะสมในงานมหกรรมหนังสือ

  1. ผู้หญิง | อำนาจ : Women Power โดย Mary Beard แปลโดย นราวัลย์ ปฐมวัฒน สำนักพิมพ์บุ๊กสเคป

สำรวจว่าเหตุใดผู้หญิงจึงถูกทำให้เงียบงันในที่สาธารณะ ย้อน สืบค้น รากเหง้าวัฒนธรรมที่อยู่เบื้องหลังแนวคิด “ความเกลียดชังเพศหญิง”

10 หนังสือน่าอ่านน่าสะสมในงานมหกรรมหนังสือ

  1. สถาน ณ กาลไม่ปกติ โดย นักเขียนหลายคน สำนักพิมพ์ อะเดย์

บังเกิดเคราะห์กรรมบางอย่างในปีโรคระบาด การโดนจองจำเพราะคิดต่าง ภัยธรรมชาติ การประท้วง และยังอาศัยในประเทศที่มีปัญหาทางด้านการปกครอง

10 หนังสือน่าอ่านน่าสะสมในงานมหกรรมหนังสือ

 

  1. Home away from home เกาหลีใต้ที่เห็นและไปอยู่ โดย ปิยฤทธิ์ ปัญจธรรมวิทย์ สำนักพิมพ์แซลมอนบุ๊กส์

บันทึกของนักเขียนหนุ่มในการเดินทางออกนอกประเทศครั้งแรกในชีวิต บันทึกประสบการณ์ที่กวนตีน สอดแทรกความคิด และทำให้จุกเป็นระยะ

10 หนังสือน่าอ่านน่าสะสมในงานมหกรรมหนังสือ

  1. ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี โดยณัฐพล ใจจริง สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

ท่ามกลางข้อมูลมากมายมหาศาล หนังสือเล่มนี้ประมวลข้อมูลอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ซับซ้อนหลายมิติ จึงช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจผู้เล่นกลุ่มต่างๆ ในการเมืองไทยยุคทศวรรษ 2490 ได้ทะลุปรุโปร่ง

10 หนังสือน่าอ่านน่าสะสมในงานมหกรรมหนังสือ

  1. ปฏิวัติ 2475 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ มูลนิธิโคงการตำรา

ผลงานของสองนักวิชาการเขียนถึงในช่วงเวลา 2475 เพื่อสร้างมิติให้รอบด้านมากขึ้น คนหนึ่งให้ความสำคัญต่อบริบททางสังคม อีกคนเน้นศึกษาการเมืองสมัยใหม่

10 หนังสือน่าอ่านน่าสะสมในงานมหกรรมหนังสือ

  1. เสมอมา–ตลอดไป โดย จักรพันธุ์ ขวัญมงคล สำนักพิมพ์แซลมอนบุ๊กส์

ผู้เขียนกล่าวว่าผมเขียนด้วยความโกรธ เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐประหาร การสูญเสียความทรงจำ การยอมจำนน การลุกขึ้นสู้ เรื่องราวเจ็บปวด และยังขมขื่นต่อไป

10 หนังสือน่าอ่านน่าสะสมในงานมหกรรมหนังสือ

  1. มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ โดย ภรทิพย์ มั่นคง สำนักพิมพ์อ่าน

คุณเคยคิดไหมว่าสักวันจะโดนจับยัดเข้าคุก ประกันตัวไม่ได้ หลักทรัพย์ไม่พอ ศาลหมดเวลาทำการ เหมือนสมัยก่อนตอนเด็กที่คุณโดนขู่ว่าถ้าดื้อจะถูกตำรวจจับ แต่คราวนี้โดนจริงๆ

10 หนังสือน่าอ่านน่าสะสมในงานมหกรรมหนังสือ

  1. เฌอปราง “Soft Power” โดย นิ้วกลม สำนักพิมพ์มติชน

เฌอปราง อารีย์กุล กัปตันวง BNK48 ศิลปินไอดอลระดับประเทศ ผู้มีความมั่นใจตัวเองสูง แข็งแกร่ง มีความเป็นผู้นำ นี่คือหนังสือเล่มแรกที่เปิดเผยชีวิตเรื่องราวของเธอ

10 หนังสือน่าอ่านน่าสะสมในงานมหกรรมหนังสือ

10. The Bluest Eye โดย Toni Morrison แปลโดย จุฑามาศ แอนเนียน สำนักพิมพ์ไลบรารี่เฮาส์

นิยายเล่มแรกของนักเขียนหญิงผิวสีรางวัลโนเบล ที่ตั้งคำถามสำคัญต่อความงามเชิงก่ยภาพ นิยายสะท้อนอัตลักษณ์แห่งเผ่าพันธุ์ ความชิงชัง และหลอมรวมเลือดเนื้อของตนให้เป็นไปตามมาตรฐานของคนอื่น | สั่งซื้อหนังสือ |

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *