สิเหร่

About The Author

สิเหร่ เป็นนามปากกาของ จิระภัทร อังศุมาลี เกิดที่จังหวัดภูเก็ต นามปากกา ‘สิเหร่’ ได้มาจากชื่อเกาะเล็กๆ เกาะหนึ่งที่ติดกับเกาะภูเก็ต ญาติมีที่ดินอยู่ริมทะเลเป็นสวนยาง ตอนเด็กๆ เคยสร้างกระต๊อบอยู่บนเนินผา เหมือนนิยายเรื่องโลกียชนของ จอห์น สไตน์เบ็ค 

เขาคือนักเขียนรุ่นใหญ่คนหนึ่งของวงการ งานของเขาผ่านเข้ารอบซีไรต์หลายครั้ง เช่น นวนิยายเรื่อง ‘คราบ’ รวมเรื่องสั้น ‘วิปริต’ ขณะที่อีกตัวตนหนึ่งของเขา…ถ้าดนตรีแจ๊สเป็นศาสนา เขาก็คงเปรียบได้กับเจ้าลัทธิ งานเขียนบอกเล่าเรื่องราวของดนตรีแจ๊สของ ‘สิเหร่’ ถูกจัดเป็นงานคลาสสิกไปแล้ว… บางทีการแนะนำเขามากไปกว่านี้อาจเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย

จากบุปผาชน สู่ครูสอนศิลปะ

จิรภัทร อังศุมาลี เรียนจบชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย และจบ ปวช. จากโรงเรียนอาชีวศิลปศึกษา เมื่อปี ๒๕๑๔ จากนั้นกลับไปเป็นครูสอนศิลปะที่โรงเรียนประศาสน์วิทยาในภูเก็ต ๑ ปี ก่อนจะเข้ามาทำงานในหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยช่วงก่อนเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาฯ หลังจากนั้นได้ร่วมทำงานกับนิตยสารอีกหลายฉบับ ทั้งรายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายเดือน เขาเริ่มเขียนบทกวีมาตั้งแต่สมัยเรียนศิลปะ ตามด้วยเรื่องสั้น นวนิยาย และสารคดี นอกจากนี้นังเขียนบทความเกี่ยวกับดนตรี

‘สิเหร่’ เป็น ฮิปปี้กลุ่มแรกๆ ในเมืองภูเก็ต เขาไว้ผมยาว หนวดเครารุงรัง ชอบแต่งชุดดำ คนจีนในภูเก็ตช่วงนั้นเป็นสังคมอนุรักษ์นิยม ยึดถือธรรมเนียมเก่าอยู่มาก เวลาเดินเที่ยวในเมือง ก็จะถูกมองด้วยแววตาเหยียดหยาม คงเป็นเพราะผู้ชายคนแรกๆ ที่ไว้ผมยาวไม่โกนหนวดเครา แล้วคงท่าทางกวนตีนด้วย เรื่องก็เลยไปกดดันกับคุณแม่ที่รับราชการ คล้ายทำไมไม่ตักเตือนลูกชาย แม่ตอบว่า คุณก็ไปบอกมันเองสิให้ตัดผมโกนหนวด ฉันไม่เกี่ยว สิเหร่ก็เลยกวนตีนหนักขึ้น ไปงานศพสวมเสื้อใส่เสื้อยืดสีสด ไปงานแต่งใส่เสื้อผ้าดิบกางเกงดำไปเลย มันดี

สิเหร่

ผลงานเขียน

  • คำตอบนั้นล่องลอยอยู่ในสายลม (งานเขียนเล่มแรก 2520),
  • ตำนานเพลงบลูส์ (เขียนร่วมกับ พจน์ อนุวงศ์ 2522
  • ผีเพลง (2524 (ล่าสุดเม่นวรรณกรรม)
  • บทกวีในเสียงเพลง (2525)
  • บทเพลงของดอกไม้ (2526)
  • อื่อ..จา..จา..จรัล มโนเพ็ชร (2527)
  • บทเพลงกับผู้แรมทาง (2528)
  • เสียงกระซิบของความเงียบ (2528)
  • เสี้ยวแจ๊ซ (2537 )
  • แจ๊ซวิถี (ขบวนการ 1) POST BEBOP (2550)
  • แจ๊สวิถี (ขบวนการ 2) JAZZ – ROCK FUSION (2552)
  • แจ๊สวิถี (ขบวนการ 3) COOL JAZZ (2557)
  • Jazz Murakami (2559) ล่าสุดเม่นวรรณกรรม

 

Jazz murakami

แจ๊ซมูราคามิ

ฮารูกิ มูราคามิ เป็นนักฟังเพลง ผลงานของเขาเกือบทุกเล่ม–ตัวละคร บทบรรยาย บทสนทนา–มักสอดแทรกบทเพลงลงไปในเนื้อเรื่องเสมอ โดยเฉพาะดนตรีแจ๊ซที่เขาหลงใหล Jazz Murakami คือหนังสือรวบรวมบทเพลงแจ๊ซที่อยู่ในงานเขียนของมูราคามิ ไม่ว่าจะเป็นนิยาย หรือเรื่องสั้น มาวิเคราะห์ผ่านแก่นแกนอารมณ์ดนตรี โดย ‘สิเหร่’ ผู้เขียนเรื่องดนตรีสากล และดนตรีแจ๊ซหลายเล่ม นอกจากนั้นในหนังสือ Jazz Murakami ยังนำบางท่อนบางตอนของหนังสือในช่วงที่กล่าวถึงบทเพลงแจ๊ซมาพูดถึงแฟนหนังสือมูราคามิไม่ควรพลาด ผู้ที่กำลังเริ่มฟังเพลงแจ๊ซ หรือชื่นชอบเพลงแจ๊ซอยู่แล้วไม่ควรพลาด

ผีเพลง

“ผีเพลง” คือ สารคดีดนตรี ความเรียงเกี่ยวกับวงดนตรีในในยุคทศวรรษ 60-70 ที่นำเสนอเรื่องราวเชื่อมโยงระหว่างเพลง ซึ่งกลายเป็นอาวุธสำคัญของคนหนุ่มสาวที่ได้รับขนานนามว่า “บุปผาชน” หรือ Hippy พวกเขาเผชิญกับยุคสงครามเย็น เข้าสู่สงครามเวียดนาม คนหนุ่มสาวไร้ทางออก การต่อต้านสงครามกลายเป็นกระแสไปทั่วโลก และดนตรียุคนี้กลายเป็นยุคสำคัญที่ถือกำเนิดศิลปินมากมายเช่น บ๊อบ ดีแล่น, พีท ซีเกอร์, วู้ดดี้ กูธรี่, จอห์น เลนนอน และอีกมากมาย หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเหมือนหมุดหมายของนักฟังเพลงทุกคน ที่จะทำความเข้าใจต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และถือเป็นหนังสือเล่มสำคัญของไทยที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อ่านให้รักเสียงเพลง

Jazz murakami

He Said

“คุณหลอกคนที่เสพงานศิลปะของคุณไม่ได้”

ประวัติ จิระภัทร อังศุมาลี aka สิเหร่

God Bless the Child มันปวดร้าว มันไม่ค่อยมีทางออก เพลงนี้เป็นเพลงเก่า เพลงที่ร้องกันในโบสถ์ แล้วพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ คล้ายๆ กับว่าผู้ใหญ่ทุกคนควรจะปกป้องเด็กๆ นั่นคือหัวใจ เพราะเด็กๆ และเยาวชนคืออนาคตของชาติ คุณควรต้องให้โอกาสกับเด็กๆ ควรจะเปิดทางให้เด็กๆ ที่เป็นเยาวชนได้เดินไปในทางที่เขาเป็นอยู่

สิเหร่,

สัมภาษณ์โดย ประชาไทย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *