10 หนังสือน่าอ่านน่าสะสมในงานมหกรรมหนังสือ งานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ 2563 เดินทางมาถึงครึ่งทาง เป็นงานหนังสือใหญ่งานแรกหลังโควิด-19 เมื่อโคโรนาไวรัสเล่นงานคนทั้งโลกให้หยุดทุกกิจกรรมมาเป็นเวลาหลายเดือน รวมถึงประเทศไทย โดยทุกปีงานมหกรรมหนังสือจะมีคอนเซ็ปต์ของงานเป็นโทนให้ผู้อ่านที่ติดตามการอ่านได้เลือกซื้อหนังสือ และถือเป็นการโปรโมตที่จะช่วยส่งเสริมการขายหนังสือให้กับสำนักพิมพ์น้อยใหญ่
โดยคราวนี้คอนเซ็นปต์ของงานถือว่าจัดเต็มมากคือ “Noกองดอง จะ Yes หรือ NO มาโชว์กันในงาน” ซึ่งกลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันในหมู่นักอ่าน และสำนักพิมพ์ เป็นอย่างมาก เนื่องจากการมอง “กองดอง” (หมายถึงหนังสือที่ผู้อ่านซื้อมาแล้วไม่ได้อ่าน แต่ถูกกองเอาไว้บนชั้นหนังสือ) แตกต่างกันหลายแบบหลายฝ่าย หลากหลายจุดประสงค์
1.สมาคมผู้จัดพิมพ์ ผู้เป็นแม่งานครั้งนี้มองกองดองว่า ควรส่งเสริมให้นักอ่านอ่านกองที่ดองอยู่ให้หมด แล้วมาซื้อในงาน ซึ่งเป็นการมองที่ลึกซึ้งม๊ากกกกก โดยไม่คำนึงถึงว่าหนังสือบางเล่มแค่มีไว้ก็มีความสุขแล้ว ไม่จำเป็นต้องอ่านก็ได้ หรือเก็บไว้อ่านในอนาคต แต่ทางสมาคมกลับพยายามผลักดันให้คนอ่านกองดองให้หมด ซึ่งคนละเรื่องกับการส่งเสริมการอ่าน หรือส่งเสริมการขายให้สำนักพิมพ์อย่างสิ้นเชิง กองดองของสมาคมกลับไปทำร้ายคนอ่านที่รักการสะสมหนังสือ รักการเลือกซื้อเพราะหน้าปก หรือซื้อเพราะนักเขียน (ซื้อไว้ก่อนนักเขียนคนนี้ชอบ) หรือตัวคอนเท้นต์นั้นๆ ตอบสนองด้านอื่น เช่นอนาคตน่าจะได้อ่าน จึงกลายเป็นว่าคอนเซ็ปต์ของงานแทนที่จะกลายเป็นตัวชูโรง กลับกลายเป็นประเด็นข้อถกเถียง โดยไม่ช่วยให้ภาพลักษณ์ของงานเป็นไปตามที่มุ่งหวัง
2.สำนักพิมพ์ ไม่ได้มองว่าคอนเซ็ปต์ “Noกองดอง จะ Yes หรือ NO มาโชว์กันในงาน” เป็นการส่งเสริมการขาย สำนักพิมพ์อาจจะไม่เกี่ยวเลยที่ผู้อ่านจะซื้อหนังสือไปทำอะไร จะไปอ่านเอง จะเอาไปเก็บบนชั้นหนังสือ จะเอาไปซ้อนขาโต๊ะ หรือบริจาคห้องสมุด แน่นอนว่าสำนักพิมพ์ทำหนังสือก็อยากให้คนได้อ่าน แต่คนอ่านอาจจะซื้อเพราะอย่างอื่นก็ไม่ใช่ปัญหา สำนักพิมพ์ผลิตหนังสือให้ได้คุณภาพตามที่เป็นมาตรฐานนั่นคือหน้าที่สำคัญ ดังนั้นถ้าคอนเซ็ปต์ “Noกองดอง จะ Yes หรือ NO มาโชว์กันในงาน” นั้นจะทำให้สำนักพิมพ์ขายได้ดีขึ้นไหม มองไปทางใดก็ไม่น่าจะมีทาง เพราะคอนเซ็ปต์ของสมาคมฯ นอกจากจะดูไม่ส่งเสริมการขายแล้ว บางคนยังมองว่า เดี๋ยวจะให้ดองหรือจะให้อ่านกันแน่ กลายเป็นอัลไซเมอร์ไปเสียซะอย่างนั้น
3.นักอ่าน นักอ่านขาประจำที่เดินงานหนังสือ ส่วนใหญ่จะจับจ่ายเลือกซื้อหนังสือที่ชอบ พวกเขาจะมีหนังสืออยู่สองแบบใหญ่ๆ ในใจ คือ หนังสือที่อยากได้มาก (อาจจะไม่ต้องอ่านก็ได้) กับ หนังสือที่อยากอ่านมาก (ซื้อมาแล้วไม่อ่านก็ได้) แค่นั้นเอง ดังนั้นการจะให้กลุ่มนักอ่านไปอ่านกองกองหรือไม่อ่านก็ไม่ใช่หน้าที่ที่จะต้องสอดส่อง ทำตัวเป็นรัฐบาลเผด็จการแบบประยุทธไปได้โธ๋
มาเข้าเรื่องของเรากันดีกว่า สำหรับงานมหกรรมหนังสือในปี 63 แอดมินขอแนะนำหนังสือน่าอ่านน่าสะสมที่ผู้อ่านไม่ควรพลาด บางเล่มพิมพ์ใหม่ในงานนี้ บางเล่มพิมพ์ขึ้นในช่วงไวรัสโคโรนาระบาด นักอ่านอาจจะพลาดที่จะเห็นหนังสือ เพราะร้านหนังสือก็ปิด ต้องไปตามหากันในเพจบ้าง บางทีก็ไม่รู้ชื่อสำนักพิมพ์บ้าง ดังนั้นนี่คือสิบเล่มปังๆ ที่จะต้องมีให้ได้ในงานนี้ บางเล่มพิมพ์น้อย พลาดแล้วอาจจะพลาดไปตลอดชีวิตก็ได้ถ้าไม่มีเอาไว้อาจเสียใจภายหลัง
ส่วนใครจะดองใครจะอ่านเป็นเรื่องของความเป็นส่วนตัว การมีความสุขในการซื้อหนังสือคือความสุขที่ยิ่งใหญ่
หนังสือเล่มล่าสุดของกวีร็อกสตาร์ ที่จะทำให้ผู้อ่านโบยบินไปบนตัวอักษรและซึมแทรกเข้าไปสู่หัวใจกับกวีของเขา | สั่งซื้อหนังสือ |
สำรวจว่าเหตุใดผู้หญิงจึงถูกทำให้เงียบงันในที่สาธารณะ ย้อน สืบค้น รากเหง้าวัฒนธรรมที่อยู่เบื้องหลังแนวคิด “ความเกลียดชังเพศหญิง”
บังเกิดเคราะห์กรรมบางอย่างในปีโรคระบาด การโดนจองจำเพราะคิดต่าง ภัยธรรมชาติ การประท้วง และยังอาศัยในประเทศที่มีปัญหาทางด้านการปกครอง
บันทึกของนักเขียนหนุ่มในการเดินทางออกนอกประเทศครั้งแรกในชีวิต บันทึกประสบการณ์ที่กวนตีน สอดแทรกความคิด และทำให้จุกเป็นระยะ
ท่ามกลางข้อมูลมากมายมหาศาล หนังสือเล่มนี้ประมวลข้อมูลอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ซับซ้อนหลายมิติ จึงช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจผู้เล่นกลุ่มต่างๆ ในการเมืองไทยยุคทศวรรษ 2490 ได้ทะลุปรุโปร่ง
ผลงานของสองนักวิชาการเขียนถึงในช่วงเวลา 2475 เพื่อสร้างมิติให้รอบด้านมากขึ้น คนหนึ่งให้ความสำคัญต่อบริบททางสังคม อีกคนเน้นศึกษาการเมืองสมัยใหม่
ผู้เขียนกล่าวว่าผมเขียนด้วยความโกรธ เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐประหาร การสูญเสียความทรงจำ การยอมจำนน การลุกขึ้นสู้ เรื่องราวเจ็บปวด และยังขมขื่นต่อไป
คุณเคยคิดไหมว่าสักวันจะโดนจับยัดเข้าคุก ประกันตัวไม่ได้ หลักทรัพย์ไม่พอ ศาลหมดเวลาทำการ เหมือนสมัยก่อนตอนเด็กที่คุณโดนขู่ว่าถ้าดื้อจะถูกตำรวจจับ แต่คราวนี้โดนจริงๆ
เฌอปราง อารีย์กุล กัปตันวง BNK48 ศิลปินไอดอลระดับประเทศ ผู้มีความมั่นใจตัวเองสูง แข็งแกร่ง มีความเป็นผู้นำ นี่คือหนังสือเล่มแรกที่เปิดเผยชีวิตเรื่องราวของเธอ
10. The Bluest Eye โดย Toni Morrison แปลโดย จุฑามาศ แอนเนียน สำนักพิมพ์ไลบรารี่เฮาส์
นิยายเล่มแรกของนักเขียนหญิงผิวสีรางวัลโนเบล ที่ตั้งคำถามสำคัญต่อความงามเชิงก่ยภาพ นิยายสะท้อนอัตลักษณ์แห่งเผ่าพันธุ์ ความชิงชัง และหลอมรวมเลือดเนื้อของตนให้เป็นไปตามมาตรฐานของคนอื่น | สั่งซื้อหนังสือ |