พีระมิดเฟรย์แท็ก – Freytag’s Pyramid
Home Literature พีระมิดเฟรย์แท็ก : คำอธิบาย ตัวอย่าง และวิธีการใช้โครงสร้าง โศกนาฏกรรม ในงานเขียน พร้อมเปรียบเทียบโครงสร้างดั้งเดิม : Freytag’s Pyramid

พีระมิดเฟรย์แท็ก : คำอธิบาย ตัวอย่าง และวิธีการใช้โครงสร้าง โศกนาฏกรรม ในงานเขียน พร้อมเปรียบเทียบโครงสร้างดั้งเดิม : Freytag’s Pyramid

by niwat59
1.4K views 8 mins read

เมื่อเริ่มต้นเขียน นวนิยาย หรือ บทภาพยนตร์  สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ วิธีวางพลอตนิยาย วิธีการทำงานของโครงสร้างในเรื่องที่เราจะเขียน แน่นอนสิ่งนั้นเป็นเรื่องยาก แม้ว่าจะย้อนกลับไปวิเคราะห์หนังสือและภาพยนตร์เรื่องโปรด แต่ยังยากที่จะจัดการโครงสร้างเรื่องราวที่จะเริ่มต้นเขียน อย่างไรก็ตาม พีระมิดเฟรย์แท็ก – Freytag’s Pyramid สามารถช่วยได้ นวนิยาย ภาพยนตร์ฮอลลีวู๊ด นักเขียนคนโปรดหลายคนสร้างเรื่องราวเหล่านั้นผ่านโครงสร้างพีระมิดเฟรย์แท็ก โดยเฉพาะเรื่องราว โศกนาฏกรรม นั้นเหมาะกับโครงสร้างนี้เพียงใดเรามาติดตามกัน

Table of Contents

พีระมิดเฟรย์แท็ก คืออะไร – What is Freytag’s Pyramid

พีระมิดเฟรย์แท็ก คืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร โครงสร้างนี้เป็นหนึ่งในโครงสร้างที่น่าทึ่งที่มีความเก่าแก่ที่สุดโครงสร้างหนึ่ง ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยกุสตาฟ เฟรย์แท็ก (Gustav Freytag) นักเขียนชาวเยอรมันที่มีชีวิตอยู่ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เฟรย์แท็กมีความสนใจในโศกนาฏกรรมกรีกคลาสสิกและละครของเชคสเปียร์เป็นอย่างมาก โดยได้คิดค้นพีระมิดของเขาด้วยการสังเกตรูปแบบโครงสร้างของเรื่องราวที่เขาชื่นชอบ โครงสร้างนี้แพร่หลายมาก นักเขียนมีชื่อเสียงหลายคนนำมาใช้ในนวนิยายของตนเอง โดยบางครั้งพวกเขาจะไม่รู้ว่าได้ใช้โครงสร้างนี้ที่เรียกว่า พีระมิดเฟรย์แท็ก

แม้ว่าเราอาจจะพบคำนิยามของพีระมิดเฟรย์แท็กที่ระบุว่ามี 7 องค์ประกอบ จากเวบไซต์การเขียนอื่นๆ แต่โครงสร้างดั้งเดิมของเฟรย์แท็ก มีเพียง 5 องค์ประกอบดังนี้: 

  1. บทนำ: Introduction
  2. การผูกปม: Rise, or Rising action
  3. จุดไคลแมกซ์: Climax
  4. หวนคืนหรือคลี่คลาย: Return, or Fall
  5. จุดจบ: Catastrophe or Denouement
Freytag’s Pyramid

Plot diagram ของพีระมิดเฟรย์แท็กฉบับดั้งเดิมจากหนังสือ Technique of the Drama เวอร์ชัน ปี ค.ศ. 1863 (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ page 115 of Freytag’s Technique)

วิธีทำความเข้าใจ พีระมิดเฟรย์แท็ก – Freytag’s Pyramid

บางครั้งหลายคนเรียกพีระมิดเฟรย์แท็กว่า Freytag’s Triangle

กุสตาฟ เฟรย์แท็กได้คิดค้น พีระมิดเฟรย์แท็ก – Freytag’s Pyramid ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1863 จากหนังสือ Freytag’s Technique of the Drama ของเขา และในช่วงกว่า 150 ปีที่ผ่านมา โครงสร้างนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในโครงสร้างละครเวทีที่สำคัญ และมีการเรียนการสอนมากที่สุดในโลก

หลายคนอาจมีความรู้สึกคลุมเครือเกี่ยวกับโครงสร้างนี้ แม้ว่าเราจะเคยเรียนเคยสอนสอนเรื่องนี้ในชั้นเรียนวรรณกรรมมาบ้าง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่มักจะเข้าใจผิด: เราจะพบโครงสร้างนี้ส่วนใหญ่ในโศกนาฏกรรมคลาสสิกและโศกนาฏกรรมของเชคสเปียร์ ซึ่งประกอบด้วยจุดหักมุม หรือการเปิดเผยเรื่องราวทั้งหมด ที่ทำให้ตัวละครเปลี่ยนไปทุกอย่าง ส่งผลให้เกิดหายนะกับตัวละครหลัก พีระมิดเฟรย์แท็กไม่ใช่โครงสร้างที่จะจับเข้าได้ทุกองค์ประกอบของเรื่องเล่าทุกเรื่อง ด้วยเหตุนี้ พีระมิดเฟรย์แท็กจึงใช้ไม่ได้ผลกับเรื่องเล่าที่ไม่ใช่โศกนาฏกรรม หรือตัวเอกที่เอาชนะอุปสรรคได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง พูดให้เข้าใจง่ายเรื่องที่เป็นสุขนาฏกรรมไม่เหมาะกับโครงสร้างพีระมิดเฟรย์แท็กนั่นเอง

เช่นเดียวกับ hero’s journey – การเดินทางของวีรบุรุษ, the three-act structure – โครงสร้างสามองก์ และที่ทันสมัยกว่าเช่น Dan Harmon’s story circle โครงสร้างห้าองก์ของเฟรย์แท็กเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ กลวิธีที่นักเขียนสามารถนำไปใช้เพื่อสร้างเรื่องราวที่สมบูรณ์และน่าสนใจ

หมายเหตุ: ก่อนที่เราจะดำดิ่งลงไปมากกว่านี้ แม้ว่าพีระมิดดั้งเดิมนี้จะมีพื้นฐานมาจากละครเวที แต่แนวคิดของเฟรย์แท็ก เชื่อมโยงกับการเล่าเรื่องในส่วนท้ายของเรื่องที่เกิดหายนะต่อตัวละคร ดังนั้นเราจึงสามารถนำโครงสร้างนี้ไปใช้กับนวนิยาย บันทึกความทรงจำ และเรื่องสั้นได้เหมือนกัน

พีระมิดเฟรย์แท็ก
พีระมิดเฟรย์แท็ก

5 องค์ประกอบของ พีระมิดเฟรย์แท็ก

มาดูรายละเอียดการทำงานของโครงสร้างพีระมิดเฟรย์แท็ก แต่ละองค์ประกอบกัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างนี้นำไปใช้กับเรื่องราวจริงๆ ได้อย่างไร

พีระมิดเฟรย์แท็ก องก์ 1: บทนำ: Introduction

โครงสร้างนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อปรับทิศทางให้กับผู้อ่าน โดยทำให้เรื่องราวสามารถดำเนินเรื่องไปข้างหน้า ด้วยคำถามคำตอบเช่น “ฉันอยู่ที่ไหน” ตามด้วย “เกิดอะไรขึ้น” ในฐานะของผู้อ่าน หรือผมชม เราจะถูกนำพาเข้าสู่สภาพแวดล้อมใหม่ ดังนั้นฉากแรกจำเป็นต้องกำหนดสถานการณ์ที่ตัวละครค้นพบตัวเขาเอง

นักเขียนบางคนแบ่งการขับเคลื่อนตัวละครออกเป็นสองการกระทำ “บรรยายรายละเอียด – exposition” และ “จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ – inciting incident” 

  • Exposition จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวละครและความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขา ฉากของเรื่อง และให้ข้อมูลเบื้องหลังที่จำเป็นเพื่อทำความเข้าใจเดิมพันของโครงเรื่อง ช่วงเวลา น้ำเสียง และสร้างพลังที่เร้าอารมณ์ ซึ่งนำไปสู่จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์
  • Inciting incident จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ เป็นจุดแรกที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐาน — เหตุการณ์ การค้นพบ หรือแนวคิดใหม่ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เฟรย์แทร็กเรียกจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ว่าเป็นพลังที่เร้าอารมณ์ ทำให้เกิด “ความซับซ้อน” เมื่อพลังแห่งเจตจำนงบางอย่างในของตัวเอกหรือความซับซ้อนภายนอกบังคับให้ตัวเอกขับเคลื่อนไปข้างหน้า

พีระมิดเฟรย์แท็ก องก์ 2: การผูกปม: Rise, or Rising action 

องค์ประกอบที่สองของพีระมิดเฟรย์แท็ก เป็นช่วงของการผูกปม เพื่อสร้างความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นและความซับซ้อนของโครงเรื่องที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ ได้รับการกระตุ้นให้เกิดแรงผลักดัน จนทำให้ชีวิตธรรมดาของตัวเอกเปลี่ยนไป ในองค์ประกอบที่ 2 นี้ ต้องเผยให้เห็นสิ่งที่เป็นเดิมพันสำหรับตัวละคร ในขณะเดียวกัน ก็ให้คำมั่นสัญญาลวงในเรื่องของความหวัง เช่นภาพที่จะแสดงให้เห็น แสงที่ปลายอุโมงค์ จุดหมาย ความตึงเครียด และความหวังปรากฏขึ้นแต่เต็มไปด้วยความสงสัย ความวิตกกังวล หรือการพัฒนาอุปนิสัย

การผูกปมจะทำให้เรื่องราวหลักเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เป็นการพัฒนาความขัดแย้งทั้งภายนอกและภายใน ตัวเอกได้รับการทดสอบจากเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย พล็อตย่อย ตัวรอง จะออกมาในองค์ประกอบนี้ เรื่องราวทั้งหมดจะได้รับการขมวดปมไปจนถึงจุดไคลแมกซ์ 

พีระมิดเฟรย์แท็ก องก์ 3: จุดไคลแมกซ์: Climax

โครงสร้างการทำงานของเฟรย์แท็ก จุดไคลแม็กซ์เกิดขึ้นตรงกลางเรื่อง จุดไคลแม็กซ์ถือเป็นจุดสะท้อน ไม่ใช่จุดพลิกผัน ไม่ใช่การเผชิญหน้าครั้งใหญ่ในตอนท้าย หรือจุดจบ — โฟรโดที่มอร์ดูม ซูเปอร์แมนเผชิญหน้ากับเล็กซ์ ลูเธอร์ — ถ้าเนื้อเรื่องเป็นไปด้วยดีสำหรับตัวเอก ตอนไคลแม็กซ์จะเริ่มแตกสลายน่าเศร้า หรือเรื่องราวในละครตลก ถ้าเรื่องดำเนินไปไม่ดีสำหรับตัวเอก สิ่งต่างๆ จะเริ่มดีขึ้น

จุดไคลแมกซ์เป็นเหมือนจุดที่ไม่มีวันหวนกลับ ไม่ต่างกับการไปถึงจุดสูงสุดของรถไฟเหาะ — ภาพลวงตาของการควบคุมจะหายไปเมื่อแรงโน้มถ่วงเข้าครอบงำ มันคือจุดเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งเพื่อนำไปสู่หายนะ

บางครั้ง จุดไคลแม็กซ์เป็นเหตุการณ์ที่น่าทึ่งมาก เช่น การรับรู้ถึงพี่น้องที่หายสาบสูญไปนาน (ซึ่งคุณสามารถเรียกได้ว่าเป็นโรคแอนเนอริซิส) ในบางครั้ง มันใช้กับรูปแบบของการตระหนักรู้ภายใน เช่นการรับรู้ถึงความขี้ขลาดของตนเองและผลที่ตามมาในการเผชิญหน้ากับความกลัว หลังจากนั้น โครงเรื่องยังคงดำเนินต่อไป แต่เป็นในแง่ของจุดสุดยอดและการเปิดเผยความจริง

ในโศกนาฏกรรม จุดไคลแมกซ์คือจุดที่โครงเรื่องเริ่มคลี่คลาย โดยทุกอย่างตอนนี้กลับแย่ลง วิธีที่เฟรย์แท็กพูดถึงเรื่องนี้ใน Freytag’s Technique of the Drama นั้นเรียบง่าย ไคลแม็กซ์ยังคงเป็นจุดที่เรื่องราวสะท้อนออกมา และหลังจากนั้นจะกลายเป็นเรื่องราวในกระจก ซึ่งเป็นการเล่นกลับ

แต่แทนที่จะมุ่งความสนใจไปที่ชะตากรรมของตัวเอก เฟรย์แท็กกลับนึกถึงจุดไคลแม็กซ์ว่าเป็นฉากหรือกลุ่มของฉากที่แสดงพลังเต็มที่ของตัวเอก ไม่ว่าจะดีหรือร้าย น่าสมเพชหรือภาคภูมิใจ หลังจากจุดไคลแม็กซ์ ความทะเยอทะยานใดๆ ที่ตัวเอกแสดงออกมานั้นกลับเป็นปฏิปักษ์ต่อตัวเอง และสิ่งใดก็ตามที่พวกเขาต้องทนทุกข์ทรมานจะได้รับการไถ่คืน กล่าวอีกนัยหนึ่ง พลังงาน คุณค่า และสาระสำคัญที่แสดงในครึ่งแรกของเรื่องจะกลับกันและย้อนกลับในครึ่งหลัง

ดังที่เฟรย์แท็ก กล่าวไว้ “จุดศูนย์กลางนี้ คือจุดสุดยอดของการแสดง จะเป็นจุดที่สำคัญที่สุดของโครงสร้าง การผูกปมจะทำให้เหตุการณ์ทั้งหมดหลุดจากสิ่งนี้”

พีระมิดเฟรย์แท็ก องก์ 4: หวนคืนหรือคลี่คลาย: Return, or Fall

เมื่อตัวเอกก้าวข้ามจุดที่ไม่มีทางหวนกลับ โครงเรื่องก็เดินหน้าไปอย่างรวดเร็วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นี่เป็นนวนิยายและละครโศกนาฏกรรม ผู้ชมจึงรู้สึกถึงการพังทลายที่ใกล้เข้ามาเสมอ ช่วงเวลาในระยะย้อนกลับ เราจะพบกับช่วงเวลาของความตึงเครียดเช่นเดียวกับในองค์ประกอบที่ 2 แต่ช่วงเวลานี้ ความตึงเครียดจะรุนแรงยิ่งขึ้น เนื่องจากทุกสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นได้ถูกจุดชนวนเอาไว้หมดแล้ว

เพื่ออธิบายให้เห็นภาพ เมื่อเนื้อเรื่องเดินทางมาถึงองก์ 4 ผู้อ่านหรือผู้ชมผ่านเรื่องราวที่สับสนและไร้ทางออกมาตลอดเรื่อง มันเหมือนกับเห็นรถบรรทุกสิบล้อสองคัน กำลังพุ่เข้าหากัน และคนดูรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น “บูม” 

นี่คือองก์ 4 ของพีระมิดเฟรย์แท็ก พูดอีกนัยหนึ่ง โครงสร้างนี้หลีกเลี่ยงโศกนาฏกรรมไปไม่พ้น และยิ่งชัดเจนเมื่อความเครียดนั้นเพิ่มน้ำหนักขึ้นอย่างเหลืออทน

เมื่อหนีไม่พ้นชะตากรรมดังที่เฟรย์แท็กกล่าวเอาไว้ว่า “เป็นที่เข้าใจกันดีว่าจุดจบของเรื่องราวจะต้องไม่สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ชม”

จากการคาดการณ์ตอนจบล่วงหน้านี้ จะต้องมีช่วงเวลาที่สร้างความสงสัย หรือมีการทิ้งปริศนาบางอย่างเล็กๆ น้อยๆ เพื่อบอกเป็นนัยถึงเหตุผลในการคลี่คลายเรื่อง และจำเป็นที่ต้องทำให้การทำลายล้างนั้นเป็นธรรมชาติมากที่สุด นี่คือโครงสร้างดั้งเดิมที่เก่าแก่ ดังนั้นทำให้ผู้ชมรู้สึกโล่งใจสักครู่ ก่อนจะเพิ่มความุนแรงเล็กน้อยลงไป 

พีระมิดเฟรย์แท็ก องก์ 5: จุดจบ: Catastrophe or Denouement

ในที่สุดหายนะเกิดขึ้นเมื่อตัวละครดำเนินไปสู่จุดต่ำสุด เช่นเดียวกับจุดไคลแม็กซ์ หายนะอาจมีหลายรูปแบบ: ตัวละครอาจตาย ถูกทำลายทางการเงิน หรือสูญเสียความเคารพจากทุกคน ทุกสิ่งที่ตัวละครกลัวจากบทที่ 1 เป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม มันเป็นบทสรุปที่เข้มข้นสำหรับการสร้างความตึงเครียด ในขณะที่ทุกอย่างสามารถพังทลายลงมาได้ตลอดเวลา

 แนวคิดดั้งเดิมของเฟรย์แท็กไม่ได้กล่าวถึงตอนจบ เขามุ่งเน้นไปที่โศกนาฏกรรมเป็นหลัก ไม่ใช่สุขนาฏกรรม และเขาเห็นว่าช่วงสุดท้ายของเรื่องเป็นช่วงเวลาแห่งหายนะ แต่บางครั้งผู้คนถือว่าสิ่งนี้เป็นองค์ประกอบที่เจ็ดของพีระมิดเฟรย์แท็ก 

ซึ่งถึงที่สุดแล้ว จุดจบของเรื่อง ตัวละครเอกได้ปลดเปลื้องด้วยทางเลือก การปฏิบัติ และความมีชีวิตชีวาของตัวเอง  ข้อโต้แย้งนี้นำมาซึ่งรายละเอียดเพื่อจัดการทั้งหมดของคำถามที่เหลือ และจัดระเบียบองค์ประกอบที่ยังหลวมของการเล่าเรื่อง นอกจากนี้ยังสามารถดำเนินเรื่องราวต่อไปหลังจากโศกนาฏกรรมและหายนะเกิดขึ้นไปแล้ว

พีระมิดเฟรย์แท็ก ใน Hamlet ละคร โศกนาฏกรรม
พีระมิดเฟรย์แท็ก ใน Hamlet

โครงสร้างเรื่องราว พีระมิดเฟรย์แท็ก ใน Hamlet

เพื่อให้เห็นการทำงานของโครงสร้างนี้ด้วยความชัดเจนขึ้น ในบทความนี้เราจะใช้เรื่อง แฮมเล็ต ของ วิลเลียม เชคสเปียร์ มาเป็นตัวอย่าง หากคุณไม่เคยอ่านหรือชมละครเรื่องนี้มาก่อน โปรดพิจารณาคำเตือนว่าอาจจะมีการสปอยล์เรื่องแฮมเล็ตในหัวข้อต่อไป หรือ อ่านเรื่องย่อแฮมเล็ต

บทนำ

แฮมเล็ตเปิดฉากขึ้นที่ระเบียงปืนใหญ่พระราชวังเอลสินอร์ ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น ด้วยบทสนทนาทหารยามถึงเหตุการณ์อันไม่ปกติ นั่นคือการปรากฏตัวของวิญญาณ โฮเรโชเป็นเพื่อนนักเรียนขององค์ชายแฮมเล็ต เจ้าชายแห่งเดนมาร์ก ขึ้นไปที่เชิงเทินของปราสาท เพื่อพบกับทหารยามที่กำลังสับสน ขวัญผวา พวกเขาบอกกับโฮเรโชว่าวิญญาณที่พวกเขาเห็น คล้ายกับกษัตริย์ผู้ล่วงลับไปแล้ว (องก์ 1หน้า 25) (พ่อของแฮมเล็ต ซึ่งชื่อเดียวกันกับองค์ชายแฮมเล็ต) ปรากฏขึ้นอีกครั้งและพวกเขาตัดสินใจที่จะบอกเรื่องนี้กับองค์ชาย

ฉากแรกที่วิญญาณปรากฏขึ้นมาให้เห็น สร้างขึ้นเพื่อเร้าอารมณ์ความรู้สึกในแบบละครโศกนาฏกรรม บทสนทนาระหว่างทหารยามกับโฮเรโช ช่วยบรรยายเบื้องหลังความเป็นมาของท้องเรื่อง ฉากอื่นๆ ในองก์แรกของแฮมเล็ตแสดงภาพรอบๆ ตัวละครว่าเกิดอะไรขึ้น และเดิมพัน หรือหมุดหมายของเรื่องแฮมเล็ตคืออะไร

การผูกปม

  1. จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์เริ่มขึ้นเมื่อแฮมเล็ตได้พบวิญญาณ และวิญญาณได้กล่าวกับแฮมเล็ตว่าตนคือวิญญาณกษัตริย์องค์ก่อนถูกลอบสังหารด้วยยาพิษ และคนที่เป็นฆาตกรคือคลอเดียส – อา (โดยสายเลือด) และพ่อบุญธรรม (โดยการแต่งงานกับแม่)  บทสนทนาระหว่างแฮมเล็ตกับวิญญาณทำให้เขาต้องการแก้แค้นให้กับพ่อที่ถูกฆ่า การแก้แค้นในสมัยนั้นถือเป็นธรรมเนียมที่ทายาทจะต้องทำ นั่นทำให้แฮมเล็ตไม่อาจปฏิเสธ แต่กระนั้นเขาต้องการพิสูจน์ความจริงก่อนแก้แค้น
  2. แฮมเล็ตต่อสู้ระหว่างความรู้สึกภายนอกและภายในอย่างหนักในเรื่องการแก้แค้น เขาจ้างคณะละครมาแสดงโดยจำลองเหตุการณ์จริงเพื่อพิสูจน์คลอเดียส ขณะเดียวกันเขาต้องการปกปิดตัวเองว่ากำลังพิสูจน์ความจริงเรื่องเหตุฆาตกรรทด้วยการแสร้งเสียสติ
  3. เมื่อมีโอกาสสังหารคลอเดียส แฮมเล็ตกลับไม่ทำ เพราะคลอเดียสกำลังภาวนา ถ้าฆ่าเขาตอนนี้วิญญาณของเขาจะขึ้นสวรรค์
  4. แฮมเล็ตหมกมุ่นอยู่กับความตาย

จุดไคลแมกซ์

แฮมเล็ตฆ่าโพโลเนียส แม้จะเป็นการฆ่าโดยบังเอิญ ไม่ได้ตั้งใจ แต่โพโลเนียสนั้นเป็นสัญลักษณ์ของการคอรัปชัน ซึ่งแฮมเล็ตเกลียดอยู่แล้ว การฆ่าโพโลเนียสตอกย้ำในเรื่องการแก้แค้น หลังจากที่เขาละโอกาสสังหารคลอเดียสในช่วงภาวนา

โพโลเนียสตาย กลายมาเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับแฮมเล็ต เขาต้องการผดุงความยุติธรรมเอาไว้ แต่กลับตกลงไปสู่วังวนของความดำมืดนั้นเสียเอง การสังหารโพโลเนียสทำให้แฮมเล็ตรู้สึกดี และกล้าที่จะล้างแค้นแทนพ่อ วิญญาณปรากฏขึ้นอีกครั้งเพื่อตอกย้ำให้แฮมเล็ตอย่ารอช้าที่จะแก้แค้น

วิธีวางพลอตนิยาย ใน hamlet
Hamlet

หวนคืนหรือคลี่คลาย

  • หลังจากที่แฮมเล็ตฆ่าโพโลเนียส เมื่อคลอเดียสรู้ข่าว เขาออกอุบายส่งแฮมเล็ตไปอังกฤษ โดยให้อดีตเพื่อนวัยเด็กของแฮมเล็ต – โรเซ็นแครนทส์และกิลเด็นสเติร์นถือสารน์ให้ฆ่าแฮมเล็ตเมื่อไปถึงที่นั่น แต่แฮมเล็ตรู้เรื่องนี้ก่อนจึงลงมือเปลี่ยนสารน์ จนทำให้ทั้งสองถูกฆ่าแทน
  • ลูกสองคนของโพโลเนียส – โอฟีเลียเสียสติเนื่องจากพ่อของเธอโดนคนรักฆ่า เธอจมน้ำเสียชีวิต, เลแอร์ทีสกลับจากฝรั่งเศสหวังจะทวงความแค้นว่าใครสังหารพ่อของเขากับคลอเดียส
  • แฮมเล็ตกลับถึงเดนมาร์ก ผ่านสุสานท้ายวัง เขากับโฮเรโชพบสัปเหร่อกำลังขุดสุสานเพื่อเตรียมงานศพของโอฟีเลีย 
  • หัวกะโหลกที่สัปเหร่อขุดขึ้นมาเป็นของยอริค อดีตตลกหลวง ทำให้แฮมเล็ตนึกถึงการมีชีวิต และความตาย
  • คลอเดียสวางแผนให้แฮมเล็ตกับเลแอร์ทีสดวลดาบกัน และทำทุกวิถีทางให้แฮมเล็ตตาย

หายนะ

  • แฮมเล็ตเข้าสู่ท้องพระโรงเพื่อดวลดาบกับเลแอร์ทีส
  • สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับแฮมเล็ตคือการแก้แค้นคลอเดียส
  • คลอเดียสก็เช่นกัน เขาต้องการฆ่าแฮมเล็ต เขาวางแผนให้การดวลดาบครั้งนี้อย่างไรเสียแฮมเล็ตจะต้องไม่รอดออกไปจากการดวล โดยการอาบยาพิษเอาไว้ที่ดาบของเลแอร์ทีส เท่านั้นไม่พอเขายังใส่ยาพิษลงในแก้วไวน์ เพื่อให้แฮมเล็ตฉลองเมื่อฟันโดนเลแอร์ทีส โดยเดิมพันมากขึ้นโดยใส่ไข่มุกลงไปในแก้วไวน์
  • การดวลดาบเริ่มขึ้น แฮมเล็ตโดนฟันด้วยดาบอาบยาพิษ ระหว่างดวลกันดุเดือดดาบเลแอร์ทีสสลับกับแฮมเล็ต เลแอร์ทีสโดนฟันด้วยดาบอาบยาพิษ เกอร์ทรูดดื่มไวน์ที่มียาพิษ และสุดท้ายแฮมเล็ตแทงดาบฆ่าคลอเดียส 
  • ทุกคนตายทั้งหมด

หายนะของเรื่องแฮมเล็ตคือ เลือดนองไปทั่วเวที ความตายของทุกคนสร้างความสยองขวัญให้กับผู้พบเห็น โฮเรโชกลายเป็นพยานประจักษ์สายตา เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวทั้งหมดให้แก่ฟอร์เทนบราส เจ้าชายแห่งนอร์เวย์ ความตายทำลายแฮมเล็ตและครอบครัวอย่างรุนแรง จุดจบของเรื่องการปรากฏตัวของทูตอังกฤษและฟอร์ทินบราส แสดงให้เห็นภาพหายนะขั้นวิบัติ  โดยส่งผลกระทบกระเทือนไปถึงการครองอำนาจ ทั้งหมดนี่คือรูปแบบละครโศกนาฏกรรม

The action of the serious drama must possess importance and magnitude.

ลงมือปฏิบัติ

เมื่อเราได้เรียนรู้การทำงานของพีระมิดเฟรย์แท็กแล้ว สำหรับผู้ที่ชอบลงมือปฏิบัติจริง ถึงเวลาแล้วที่เราจะเริ่มใช้งาน ทฤษฎีโครงสร้างนี้กับเรื่องเล่าที่เราจะเขียน อาจดูเหมือนคลุมเครือและไม่ช่วยเหลืออะไรมากนัก แต่มีสองวิธีที่พีระมิดเฟรย์แท็กสามารถให้ประโยชน์กับเราได้ทั้งในฐานะผู้อ่านและนักเขียน

ทำความเข้าใจ

ประการแรกคือข้อเท็จจริงที่ว่าพีระมิดเฟรย์แท็ก มีลักษณะโครงสร้างเชิงเส้นที่น่าทึ่ง เราไม่ได้คิดเกี่ยวกับการพักการแสดง สำหรับการแสดงละครเวที และจังหวะของเรื่องราวที่เกิดขึ้นเมื่อคุณอ่านนวนิยาย แต่เราอยู่ภายใต้มนต์สะกดของโครงสร้างนี้อยู่ดี การเล่าเรื่องที่ดำเนินตามกระแสของพีระมิดนี้ จะนำผู้อ่านให้เข้าใจถึงสิ่งที่ตัวละครต้องเสี่ยงภัย เราจะมองไม่เห็นคุณค่าของจุดไคลแมกซ์ หากไม่เข้าใจผลกระทบของมันต่อสภาพที่เป็นอยู่ เช่นเดียวกับที่เราไม่รู้จักแม้แต่ปมของเรื่องที่ผูกเพิ่มขึ้น หากไม่รู้ว่ามีอะไรใหม่ เราต้องเข้าใจประสบการณ์ของตัวละครเพื่อที่จะเข้าใจพวกเขา โครงสร้างพีระมิดนี้จับถูกคู่กับเรื่องราวในรูปแบบที่มนุษย์ทุกคนคุ้นเคย: มนุษย์ต้องการบางสิ่งบางอย่าง และพวกเขามักไม่ได้สิ่งนั้น

ใช้ทักษะสร้างโครงสร้างสำหรับการเขียนของเราเอง

วิธีที่สองที่พีระมิดเฟรย์แท็กสามารถช่วยให้เรามีสติมากขึ้น เมื่อเราเรียนรู้ถึงองค์ประกอบทั้ง 5 แล้ว เราจะสามารถสืบค้นการเปลี่ยนแปลงของการเคลื่อนไหว การเล่าเรื่อง ในขณะที่เราดำเนินเรื่องผ่านเรื่องราว นี่เป็นคุณสมบัติที่น่าทึ่งสำหรับนักเขียนทุกคน ยิ่งคุณแบ่งคำบรรยายออกเป็นองค์ประกอบเชิงโครงสร้างได้มากเท่าไร การวางแผนของคุณเองก็จะยิ่งรัดกุมมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อเราคุ้นเคยกับพีระมิดเฟรย์แท็กมากขึ้น เราจะเข้าใจจุดประสงค์ของแต่ละฉากที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่อยู่ในเรื่องราว (เช่น เพิ่มเดิมพัน หรือผลักดันตัวละครไปสู่หายนะ) นอกจากนี้ยังสามารถปรับจังหวะของเรื่องราวให้สัมพันธ์กับพีระมิด โดยเน้นที่ดำเนินเรื่องของตัวละครและนำเสนอเรื่องราวที่น่าพึงพอใจ

แต่ถ้าเรายังรู้สึกว่ายังสามารถพัฒนาโครงสร้างนี้ไปได้อีก เรามาดูว่าพีระมิดเฟรย์แท็กสามารถเข้ากับนวนิยาหรือละครร่วมสมัยได้อย่างไรบ้าง

พีระมิดเฟรย์แท็ก กับโครงสร้างละครสมัยใหม่

Freytag’s Pyramid สร้างขึ้นมาเกือบสองร้อยปีที่แล้ว ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์วิทยุ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ รวมถึงซีรีส์สตรีมมิงที่เปลี่ยนการเล่าเรื่องไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ทฤษฎีโครงสร้างนี้ ยังคงทันสมัย มีความก้าวหน้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ความแตกต่าง สี่ประการระหว่าง พีระมิดเฟรย์แท็ก ดั้งเดิมและทฤษฎีโครงสร้างเรื่องราวสมัยใหม่

1. พีระมิดเฟรย์แท็ก เหมาะสำหรับเรื่อง โศกนาฏกรรม ขณะที่ทฤษฎีสมัยใหม่มีความเป็นสากลมากขึ้น

เฟรย์แท็กทำงานได้ดีสำหรับเรื่องที่เป็น โศกนาฏกรรม เขาคิดว่ามันเป็นรูปแบบที่สำคัญสำหรับการเล่าเรื่อง นวนิยายและบทละครทั้งหมดที่เขาเขียนเป็นโศกนาฏกรรม และเรื่องราวเกือบทั้งหมดที่เขาศึกษาในเทคนิคของเฟรย์แท็กเป็นโศกนาฏกรรมเช่นกัน

สิ่งนี้ทำให้เขาสร้างกรอบโครงสร้างเรื่องราวที่เหมาะสมกับส่วนโค้งเฉพาะเรื่องโศกนาฏกรรม พีระมิดเฟรย์แท็กจึงไม่มีประโยชน์สำหรับสำหรับนักเขียนที่เขียนเรื่องสุขนิยม

แม้ว่าพีระมิดเฟรย์แท็กจะมีประโยชน์สำหรับนักเขียนเรื่องโศกนาฏกรรม โดยเฉพาะในด้านการเขียน แต่กรอบงานของเฟรย์แท็กมีความหลากหลายน้อยกว่า The Write Structure, Story Grid หรือแม้แต่ Save the Cat ซึ่งทั้งหมดนี้อธิบายเรื่องราวที่หลากหลายได้ดีกว่า

2. ทฤษฏีสมัยใหม่วางจุดไคลแม็กซ์ไว้ท้ายเรื่อง

องค์ประกอบหลักที่แตกต่างประการหนึ่งคือคำว่า “ไคลแม็กซ์” กรอบโครงสร้างของเฟรย์แท็ก ทำให้จุดไคลแม็กซ์อยู่ตรงกลางเรื่อง โดยทำหน้าที่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของเรื่อง

เพื่อความเข้าใจโครงสร้างดั้งเดิมของเรื่องราวสามองก์ (three-act story structure) —ดังที่พบใน Story Grid หรือ Save the Cat— สิ่งที่เฟรย์แทก็เรียกว่าจุดไคลแม็กซ์นั้นเรียกว่า “จุดกึ่งกลางเรื่อง”

ไคลแม็กซ์ในกรอบการทำงานเหล่านี้เกิดขึ้นในส่วนท้ายขององก์ที่สองหรือสาม และมักจะเป็นหนึ่งในฉากสุดท้ายของเรื่อง ที่อ้างอิงถึงหายนะ

3. องค์ประกอบพล็อต

เฟรย์แท็กคิดค้นรายละเอียดที่สำคัญครั้งแรกของโครงสร้างเรื่องราวในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นความสำเร็จที่น่าทึ่ง

เนื่องจากเขาเป็นคนที่ทรงอิทธิพลมาก จึงได้รับเครดิตในองค์ประกอบโครงเรื่องมากมายที่เขาไม่ได้คิดค้นและไม่เคยแม้แต่จะใช้ตั้งแต่แรก เช่น denouement (เฟรย์แท็กใช้คำว่า catastrophe) resolution (ใช้คำเดียวกัน) rising action (he used the term rising movement), (เขาใช้คำว่า term rising movement) และอื่นๆ

ตั้งแต่นั้นมาเงื่อนไขโครงสร้างเรื่องราวทั่วไปค่อยๆ ได้รับการปรับเปลี่ยนไปเป็นสิ่งที่เฟรย์แท็กไม่เคยคิดมาก่อน ที่แย่ไปกว่านั้น คำจำกัดความใหม่ๆ ยังคงเรียกว่า “พีระมิดเฟรย์แท็ก” แม้ว่าจะไม่ได้คล้ายกับทฤษฎีดั้งเดิมของเขาก็ตาม

แม้ว่าความแตกต่างเหล่านี้จะมีเพียงเล็กน้อย แต่บางส่วนเป็นนัยสำคัญ (เช่น ความแตกต่างระหว่าง “ไคลแม็กซ์” เวอร์ชันของเฟรย์แท็ก กับเวอร์ชันไคลแม็กซ์โครงสร้างยุคปัจจุบัน) 

4. เฟรย์แท็กใช้โครงสร้าง 5 องก์ ในขณะที่นักเขียนสมัยใหม่ใช้โครงสร้าง 3 องก์

ฮอเรซ (Horace) นักเขียนบทละครชาวโรมันในศตวรรษแรกก่อนคริสตกาล กล่าวว่า “ให้บทละครที่จะถูกถามถึงภายหลัง และถึงแม้จะเห็นแล้ว นำมาแสดงใหม่ ก็ไม่ควรสั้นหรือยาวไปกว่าองก์ที่ห้า”

ในระหว่างการรู้แจ้ง นักเขียนและนักปรัชญาอย่างเฟรย์แท็ก กำลังขุดลอกตำราโรมันเก่าเหล่านี้อย่างเพลิดเพลิน 5 องค์ประกอบของพีระมิดเฟรย์แท็กกลายเป็นมาตรฐานสำคัญโครงสร้างหนึ่ง

ปัญหาคือโครงสร้างห้าองก์ที่เฟรย์แท็กคิดค้นยังไม่ค่อยสมบูรณ์แบบ เมื่อนำมาใช้กับเรื่องเล่าสมัยใหม่ เพราะมีข้อจำกัดในการใช้งาน โดยพื้นฐานแล้วนวนิยายสามองก์เล็กๆ หรือ เรื่องเล่าสององก์ใหญ่ๆ จะสามารถปรับใช้ได้กว้างขวางกว่า

ขณะเดียวกัน ดูเหมือนว่า อริสโตเติล นักปรัชญาชาวกรีก สนับสนุนโครงสร้างสามองก์จากบทกวีนิพนธ์ของเขา โดยให้เคล็ดลับเกี่ยวกับโครงสร้างเรื่องราวที่บันทึกไว้เป็นครั้งแรก และกล่าวโดยย่อว่า “เรื่องเล่า” ควรมี “จุดเริ่มต้น ตรงกลาง และจุดสิ้นสุด” แม้ทั้งหมดจะไม่ใช่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งหรือซับซ้อน แต่ดีกว่าไม่มีเลยจริงหรือไม่

บทสรุป

ต้องยืนยันกันอีกหน พีระมิดเฟรย์แท็ก มีประโยชน์มากที่สุด หากนำมาใช้เขียนเรื่องโศกนาฏกรรม และถ้าต้องการกรอบการทำงานที่จะช่วยให้แนวคิดทำหน้าที่เป็นจุดสะท้อนผ่านเรื่องราว จากมุมมองสองส่วนแยกกันโดยมีฉากที่เป็นไคลแม็กซ์ตรงกลาง พีระมิดเฟรย์แท็กทำหน้าที่เป็นจุดสะท้อนนั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการกรอบทำงานที่ยืดหยุ่นกว่า ทันสมัยกว่า และมีความหลากหลายมากขึ้น อาจจะเลือกใช้โครงสร้างอื่นแทน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างสามองก์ หรือ Save The Cat 

Download Free !!! : Freytag’s Pyramid Worksheet

Freytag’s Pyramid Worksheet

อย่าปล่อยให้ความไม่เข้าใจเกาะกินนานเกินไป ทางเม่นวรรณกรรมได้จัดทำเวิร์กชีตเพื่อให้ผู้อ่านสะดวกในการลงรายละเอียดเหตุการณ์ต่างๆ ในโครงสร้างพีระมิดเฟรย์แท็ก โดยสามารถลงทะเบียน ก่อนดาวน์โหลดฟรี

Download Freytag’s Pyramid Worksheet

Download : Freytag Pyramid Worksheet
โปรดพิมพ์รายละเอียดตามเครื่องหมาย *

Leave a Comment

You may also like

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More