เรื่องย่อ
แฮมเล็ต หนังสือ แนวโศกนาฏกรรมแก้แค้น ในคืนที่หนาวเหน็บวิญญาณกษัตริย์องค์ก่อน พ่อของแฮมเล็ต – Hamlet ปรากฏตัว และขอให้ช่วยล้างแค้น คลอเดียสซึ่งเป็นน้องของพ่อคือผู้ลงมือ แฮมเล็ตต้องการสืบให้แน่ชัด เขาจ้างคณะละครมาแสดงเลียนแบบฉากฆาตกรรม เมื่อรู้แน่ชัดเขาจึงต้องการล้างแค้นให้พ่อ เกอร์ทรูดแม่ของแฮมเล็ตแต่งงานกับคลอเดียสในทันที เหมือนตัวเขาถูกแยกออกมาจากครอบครัว ขณะที่โอฟีเลียคนรักของเขา ก็ได้รับคำสั่งจากโพโลเนียสผู้พ่อ และเลแอร์ทีสพี่ชายให้อยู่ห่างจากแฮมเล็ต เรื่องราวโศกนาฏกรรมดำเนินไปจนถึงตอนท้ายเรื่องซึ่งเต็มไปด้วยความขัดแย้ง การแก้แค้น และจบลงด้วยเลือดที่นองท้องพระโรง
รายละเอียดหนังสือ Hamlet
- ชื่อเล่ม: แฮมเล็ต (Hamlet)
- ผู้แต่ง: วิลเลียม เชคสเปียร์ (William Shakespeare)
- แปลโดย: ศวา เวฬุวิวัฒนา
- บรรณาธิการ: นิวัต พุทธประสาท
- ออกแบบปก: มานิตา ส่งเสริม
- รูปเล่ม: Porcupine Design
- จำนวนหน้า: 352 หน้า
- ราคาปก: 310 บาท
- ISBN: 978-616-7831-32-9
บทความเกี่ยวกับ แฮมเล็ต
- เรื่องย่อและบทสรุปเรื่องแฮมเล็ต
- บทสรุปย่อเพื่อเข้าใจง่ายเกี่ยวกับบทละครเรื่องแฮมเล็ต
- บทวิเคราะห์ โอฟีเลีย และเกอร์ทรูด เหยื่อในแฮมเล็ต
- ประวัติเชคสเปียร์
Pawarut Jongsirirag –
เเฮมเล็ต เขียนมาตั้งเเต่ช่วงศตวรรษที่ 16-17 มีการพูดถึงเจาะลึกถึงเรื่องนี้เยอะจนไม่รู้จะเยอะยังไงเเล้ว ผมเลยขอพูดถึงเรื่องนี้สั้นๆในเเง่ของบทละครเวทีเรื่องหนึ่งก็เเล้วกันนะครับ
หากพูดถึงเสน่ห์ของเเฮมเล็ต ผมว่ามีอยู่สองอย่าง คือ การพรรณาเเละตัวตนของเเฮมเล็ต
การพรรณาของในเรื่องเเฮมเลต มีคนบอกว่ามันเป็นรากของนิยายเเนวกระเเสสสำนึกที่เราจะได้อ่านความคิดในหัวของตัวละครเเบบตัวอักษรเต็มพรืดๆๆๆ ซึ่งผมก็เห็นด้วยนะครับ เราจะเห็นความคิด อารมณ์ความรู้สึกของเเฮมเล็ตที่ทำให้เขาเป็นอย่างที่เป็น ซึ่งในการพรรณาความคิดเเละคำพูดต่างๆของตัวละครจะใช้การเปรียบเปรย เปรียบเทียบเยอะมากๆ มากจนเเอบคิดว่าพี่คุยกันตรงๆเลย ง่ายกว่ามั้ย คือพี่พูดวกวนเวียนที่เเม้เเต่ตัวละครในเรื่องยังงง คนอ่านก็งง ขนาดที่ถ้าไม่มีเชิงอรรถอธิบาย บางประโยคคือไม่รู้เลย่าพี่พูดอะไรคับเนี่ย คืออยากเห็นเเบบพี่พูดกันตรงๆเลย เเบบ มึงฆ่าพ่อกู จบเเล้ว (ฮา) เเต่ถ้าเป็นเเบบนั้นเเฮมเล็ตคงไม่ได้มีอายุยืนยานมาจนถึงทุกวันนี้เเน่ ซึ่งเเง่หนึ่งพออ่านไปซักพักก็พบว่าการพรรณเเบบนี้มันก็ดูมีความสวยงามเเบบอังกฤษที่นึกภาพตามการใส่ชุดฟูๆฟ่องๆ ดูเยอะเเเยะเเต่ก็ยังสวยงามอยู่นะ ประมาณนั้นเลยครับ
อย่างที่สองคือความซับซ้อนของตัวเเฮมเล็ตเอง ตัวละครนี้ไม่รู้ทำไมผมนึกถึง จักรพรรดิ์เนโร นะครับ อารมณ์ศิลปิน ความอึดอัดคับค้องของหน้าที่ของตนเอง ตัวเองยังหายใจเเต่กลับไม่ใช่ปอดของตนเองที่ขยับ สิ่งที่ขยับคือปอดของสังคม วัฒนธรรมที่ควบคุมทุกความคิดเเละการกระทำที่นำไปสู่เส้นทางของหายนะในตอนจบ เป็นตัวละครที่มีความซับซ้อนจองอารมณ์สูงมาก ในมุมหนึ่งเขาคือคนฉลาดที่คิดเเละวางเเผนทุกสิ่งอย่าง เเต่อีกด้านหลับเป็นผู้ที่ไม่อาจพิพิจพิจารณาอะไรได้เลย ถ้าคนอย่างเเฮมเล็ตมาเกิดในยุคนี้ ถ้าไม่ถูกใครตบดาวดิ้นลงพื้น ก็น่าจะไปจบที่โรงพยาบาลบ้าซักที่ ดังคำที่ว่าอัจฉริยะกับคน้าคั่นกันด้วยเส้นบางๆนั่นเเหละครับ
สองสิ่งนี้คือสิ่งที่ผมชอบเเละคิดว่าเป็นเสน่ห์ของบทละครชิ้นนี้ จริงๆเเล้วยังมีเรื่องของฉากเบื้องหลัง พื้นเพของสังคมเเละวัฒนธรรมในท้องเรื่องที่น่าพูดคุยเหมือนกันนะครับ เเต่พูดมากไปก็คงไม่สนุก อยากให้ลองไปอ่านกันดู ภาษาเเละการเเปลคือดีมากๆ คือ เชื่อเลยว่ามันคือบทละครในศตวรรษที่ 16-17
เเล้วมาดูกันว่า ทำไมประโยคอย่าง “to be or not to be that is the question – จักคงชีวิต หรือ มรณา นั่นคือปุจฉา” ถึงอมตะผ่านกาลเวลาในจนทุกวันนี้ครับ
Erk –
ครั้งที่สองกับการอ่านของ Shakespeare เล่มก่อนนั้นได้อ่าน Twelfth Night ซึ่งเป็นแนวเฮฮาชุลมุนจบแบบแฮปปี้ มาเล่มนี้มันแบบว่า โอ้โห ดาร์คอยู่นะ เป็นการจบเรื่องที่วินาศกันไปหมดเลย
การแปลโอเคเลยค่ะ ได้อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมนอกรอบ ยิ่งให้มุมมองที่กว้างขึ้นในแต่ละตัวละคร (แฮมเล็ตคนลูกเขาปากคอเราะรายไม่เบาเลย) ไม่รู้มีหวังหรือเปล่า แต่รองานแปลเล่มต่อไปของเชกสเปียร์อยู่นะคะ ดีใจที่ได้อ่านงานสุดคลาสสิคแบบนี้อีก
✦ ประโยคที่ชอบ ✦ 💀🤴👑🥀🪦
“จงอย่าเป็นผู้ยืมหรือผู้ให้
ด้วยสินกู้นั้นมักสูญทั้งทรัพย์ทั้งสหาย
และการหยิบยืมย่อมบิ่นคมทางการเงิน
เหนืออื่นใด จงซื่อสัตย์ต่อตน
อันผลที่จักตามมานั้น เฉกเช่นกลางคืนตามติดด้วยกลางวัน
คือเจ้าจักไม่มีวันอสัตย์ต่อผู้ใด”
“ด้วยไม่มีสิ่งใดดีหรือเลวโดยตัวของมัน ความคิดต่างหาก ที่ให้ค่าแก่มัน”
“อย่าได้ประพฤติตนเหมือนพวกนักบวชใจบาปบางคน
ที่เอาแต่พร่ำเทศนาถึงหนทางสู่สวรรค์อันลาดชันและมากด้วยขวากหนาม
คนหลุดกรอบไร้ความยั้งคิด หลงตัวทะนงตน
ย่ำบนทางสายกุหลาบของชีวิตอันเหลาะแหละ
ไม่เคยสนใจคำสอนของตัว”
“ในยุคสมัยอันอ้วนเผละจนแลสะอิดสะเอียนเช่นนี้
คนดีต้องขออนุญาตคนชั่ว
ต้องค้อมหัวขอร้องก่อนทำความดีใด”
“ถ้อยคำร้ายกาจมักเปลืองเปล่าในหูของคนเขลา”
Shaba –
เป็นไปได้ไหมที่อ่านแฮมเล็ตไปได้แค่ 4 ฉาก ‘แฮมเล็ต’ กลายเป็นหนึ่งในตัวละครชายที่ชื่นชอบไปแล้ว?
ใช่!
ทำไม
เขามักจะสวมชุดสีดำ พูดคนเดียวว่าแท้จริงแล้วชีวิตทุกอย่างยากแค่ไหน และทำให้ทุกเรื่อง.ให้กลายเป็นดราม่ามากขึ้น แล้วตัวฉันล่ะ!?
และนี่ถือเป็นโศกนาฏกรรม (ซึ่งในบางแง่ก็เป็นเช่นนั้น) แต่ฉันพบว่ามันตลกมาก (อาจเป็นเพราะฉันมีจิตวิญญาณด้านมืด) และฉันจะอ่านซ้ำอีกครั้งในช่วงเวลาที่มีความสงบสุข
ฉันรักละครเรื่องนี้มาก และฉันก็มีความสุขมากที่สามารถพูดได้ว่าอ่านเชกสเปียร์แล้ว! 🙌😂