บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง
Home Literature บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง : Writing third person limited POV: Tips and examples

บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง : Writing third person limited POV: Tips and examples

by Editor
1.3K views 7 mins read

ในโพสต์ที่แล้ว เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับ มุมมอง บุคคลที่ 3 ไปบ้างอย่างกว้างๆ สำหรับโพสต์นี้ เรามาลงลึกถึง บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง (Third person limited point of view) ว่าทำงานอย่างไร มีวิธีการเขียนแบบไหน พร้อมตัวอย่าง บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง เป็นการเล่าเรื่อง จากมุมมองที่ใกล้ชิดของตัวละครตัวหนึ่ง เรายังคงใช้สรรพนาม เขา เธอ และพวกเขา เช่นเดียวกับบุคคลที่สามแบบอื่นๆ มุมมองนี้สร้างความฉับไว และความใกล้ชิดการเล่าเรื่องได้เช่นเดียวกับการใช้มุมมองบุคคลที่ 1 โดยผู้บรรยาย “ไม่ติดอยู่ข้างใน” หรือกระแสสำนึกของตัวผู้บรรยาย

ขณะเดียวกัน มุมมอง บุคคลที่ 3 แบบ มุมมมองพระเจ้า (The third person omniscient) omniscient หมายถึง “ผู้รู้ในทุกสิ่ง”  เป็นวิธีการเล่าเรื่องที่ผู้บรรยายรู้ว่าตัวละครทุกตัวคิดอะไรอยู่ ในทางกลับกัน มุมมองบุคคลที่สาม แบบจำกัดมุมมอง เป็นวิธีการเล่าเรื่องที่ผู้บรรยายรู้เพียงความคิด ความรู้สึก รับรู้ มองเห็น มีความหวัง และจดจำได้ ฯลฯ สำหรับตัวละครตัวเดียวเท่านั้น ในขณะที่ตัวละครอื่นๆ สามารถนำเสนอเฉพาะการสังเกตการณ์พฤติกรรมภายนอก ส่วนเรื่องความคิด ความรู้สึกภายในของตัวละครอื่นเป็นเพียงการคาดเดา บุคคลที่สามแบบจำกัดฯ ทำให้นักเขียนมีอิสระมากกว่า มุมมองบุคคลที่ 1 แต่รู้น้อยกว่า บุคคลที่ 3 มุมมองพระเจ้า (ดูภาพประกอบ 1 และ 2)

Table of Contents

Third person limited Point of View – POV บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง คืออะไร

Third Person Point of view: Limited or Omniscient
ภาพประกอบ 1 : เปรียบเทียบบุคคลที่ 3 จำกัดมุมมอง กับ มุมมองพระเจ้า

จากนิยามบุคคลที่สามจำกัดมุมมอง ทำให้เราเห็นว่า เป็นการบรรยายที่ผนวกข้อดีระหว่างบุคคลที่หนึ่ง กับมุมมองพระเจ้าเข้าด้วยกัน และทำให้มุมมองแบบจำกัดก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และดีกับทั้งสองมุมมองข้างต้น มุมมองนี้ไร้ขีดจำกัดในด้านการบรรยายตัวละคร สถานการณ์ ฉาก และอื่นๆ จึงมักถูกเลือกใช้ในนวนิยามร่วมสมัย มากกว่ามุมมองพระเจ้า ด้วยเอกลักษณ์ และคุณสมบัตินี้ทำให้เป็นที่นิยมกับผู้เขียน และผู้อ่าน

Point of view
ภาพประกอบ 2 : เปรียบเทียบมุมมองต่างๆ

เหตุใดบุคคลที่สามจึงถูกจำกัดมุมมองที่ได้รับความนิยม และทรงพลัง กรุณาตอบด้วยการเขียนบรรยาย

เหตุใดจึงเลือก มุมมอง บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง

มีสาเหตุหลายปัจจัยที่คุณอาจตัดสินใจว่า บุคคลที่สาม จำกัดมุมมมอง อาจเหมาะกับนิยายเรื่องต่อไปของคุณ นี่เป็นเพียงปัจจัยบางประการที่เป็นไปได้ :

วิธีใช้ บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง

ใช้น้ำเสียงในการบรรยาย บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง เพื่อแสดงความรู้สึก

POV จำกัดมุมมอง ทำงานได้ดีในการแสดงให้เห็นว่า การกระทำของผู้อื่นส่งผลต่อทัศนคติอย่างไร เนื่องจากคุณเปิดเผยได้เฉพาะสิ่งที่ตัวละครรู้หรือคาดเดาเท่านั้น การกระทำของตัวละครอื่นๆ จึงเก็บความลึกลับไว้ได้ทั้งหมด

ในบุคคลที่สามแบบจำกัดฯ แรงจูงใจส่วนตัวของตัวละครอื่นจะเป็นเพียง การคาดเดาเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึก การบรรยายมาจากการสังเกต อธิบาย และตีความจากตัวละคร ข้อดีของวิธีการนี้คือ ผู้อ่านจะรู้ไปพร้อมๆ กับตัวละครว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง ซึ่งบางครั้งอาจไม่ใช่ข้อเท็จจริงทั้งหมด

ตัวอย่าง นิยายเรื่อง Harry Potter and the Chamber of Secrets ของ J.K. Rowling ใช้ผู้บรรยาย บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง เจ.เค. แสดงให้เห็นว่าการทารุณกรรมโดยป้าและลุงของแฮร์รี่ ทำให้เขามีความคาดหวังต่ำว่าจะมีความสุข

บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง Harry Potter and the Chamber of Secrets

พวกเดอร์สลีย์จำไม่ได้ด้วยซ้ำไปว่าวันนี้เป็นวันเกิดปีที่สิบสองของแฮรร์รี่ แน่นอน เขาไม่ได้หวังอะไรมากนัก พวกเดอร์สลีย์ไม่เคยให้ของขวัญเขาเป็นชิ้นเป็นอัน อย่าว่าแค่เค้กวันเกิดสักขิ้นเดียวเลย–แต่การไม่สนใจโดยสิ้นเชิงนี่สิ…

Harry Potter and the Chamber of Secrets: J.K. Rowling
Tweet

แฮร์รี่ไม่ได้บอกความรู้สึกของเขากับเราโดยตรง น้ำเสียงในการบรรยายบุคคลที่สามแบบจำกัดนั้นบอกได้ เห็นได้ชัดว่ามันเป็นสีสันจากประสบการณ์ของแฮร์รี่โดยตรง คำว่า ‘แน่นอน’ และ ‘แต่การไม่สนใจโดยสิ้นเชิงนี่สิ’ เกือบจะเป็นเสียงของแฮร์รี่ และความคิดของเขาเองที่เป็นตัวเอียง

บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง ซ่อนความลึกลับ

เมื่อเทียบกับ POV อื่นๆ นวนิยายแนวลึกลับ ระทึกขวัญ และสยองขวัญ มักจะใช้การบรรยายบุคคลที่สามจำกัดมุมมอง  เพราะมันเป็นวิธีที่เป็นธรรมชาติ ในการบอกเล่าเรื่องราวที่ลึกลับดำมืดมากมาย เช่น การเปิดเผย เก็บงำ ซ่อนปริศนา และพล็อตเรื่องหักมุม

โดยธรรมชาติแล้ว ผู้บรรยายในมุมมองพระเจ้าล่วงรู้ทุกสิ่งในเนื้อเรื่องปริศนาฆาตกรรม แต่ต้องละเว้นระยะห่าง และบรรยายรายละเอียดอย่างระมัดระวัง เพื่อรักษาความลึกลับให้คงอยู่ต่อไป ในแง่นี้ ผู้บรรยายมุมมองพระเจ้าอาจดูไม่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม การบรรยายแบบจำกัดมุมมองเผยให้เห็นเฉพาะสิ่งที่ตัวละครในมุมมองนั้นรู้ ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านค้นพบความลึกลับเฉพาะเมื่อเรื่องเกิดขึ้นเท่านั้น หากสถานการณ์ตัวละครใดถูกหักมุมให้เกิดความประหลาดใจ ผู้อ่านจะรู้ไปพร้อมกัน

นิยายซีรีส์ Game of Thrones ในตอน A Storm of Swords ของ George R.R. Martin ในบทที่แฟนหนังสือรู้จักกันดีในชื่อ “The Red Wedding” ตัวละครในมุมมองของ แคทลิน สตาร์ก ถูกจับเหวี่ยงออกไปเมื่อเธอและครอบครัวถูกหักหลังโดยพันธมิตรของพวกเขา ด้วยมุมมองเฉพาะนี้ ผู้อ่านเต็มไปด้วยความตกใจ สับสน โดยมีความหวังเพียงชั่วขณะหนึ่ง ก่อนจมไปสู่ความสิ้นหวัง

Game of Thrones A Storm of Swords George R.R. Martin

“เมตตาด้วย!” แคทลินกรีดร้อง แต่เสียงแตร เสียงกลอง และเสียงเหล็กปะทะกันกลบเสียงอ้อนวอนของนางไปสิ้น เซอร์ไรแมนฝังหัวขวานลงไปในท้องของเดซีย์ เมื่อถึงตอนนั้น พวกผู้ชายก็หลั่งไหลเข้ามาทางประตูบานอื่นๆ ด้วย พวกเขาคือชายในชุดเกราะโซ่ถัก สวมผ้าคลุมขนเฟอร์รุงรัง พร้อมด้วยดาบในมือ ชาวเหนือ! นางเข้าใจว่าพวกนั้นมาช่วยเหลืออยู่เสี้ยวอึดใจหนึ่ง จนกระทั่งหนึ่งในนั้นฟันศีรษะจอนตัวจ้อยขาดด้วยขวานเต็มแรงสองครั้ง ความหวังของนางดับวูบดั่งเทียนไขกลางพายุ

A Storm of Swords: George R.R. Martin
Tweet

ถ้าเทียบกับการเล่าเรื่องด้วยบุคคลที่หนึ่ง ผู้อ่านจะรู้ว่า ผู้บรรยายจะสามารถเอาตัวรอดจากเรื่องร้ายๆ นี้ได้ แต่ถ้าเล่าเรื่องด้วย มุมมองบุคคลที่สามจำกัดมุมมอง ในกรณีของแคทลิน สตาร์ก มันสามารถเอื้ออำนวยต่อความไม่แน่นอนของตัวเรื่องได้ เวลาของเธอในฐานะมุมมองของตัวละครอาจกำลังสิ้นสุด แต่ผู้อ่านจะไม่รู้จนกว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น หรือเดินทางมาถึง

แสดงสมมติฐานที่ผิดพลาดของตัวละคร

Pride and Prejudice ของ Jane Austin เป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยมสำหรับวิธีดำเนินเรื่องด้วยบุคคลที่สาม จำกัดมุมมอง เพื่อแสดงสมมุติฐาน การคาดเดา ซึ่งนำพวกเขาไปสู่ความประหลาดใจ

ผู้อ่านพบดาร์ซีครั้งแรกในงานเต้นรำ ดาร์ซีปฏิเสธความคิดที่จะเต้นรำตามที่บิงลี่ย์เพื่อนของเขาชวน ขณะที่อลิซาเบ็ธได้ยินบทสนทนาของคนทั้งสอง

Pride and Prejudice Jane Austin

“เธอเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในชีวิตเท่าที่ผมเคยพบ! แต่มีสาวคนหนึ่งนั่งอยู่ข้างหลังคุณซึ่งสวยมาก และผมกล้าพูดได้เลยว่าน่าสนใจมาก ผมขอแนะนำคุณได้ไหม” “คุณหมายถึงอะไร” และหันกลับมามองที่เอลิซาเบธครู่หนึ่งจนสบตาเธอ เขาถอยห่างออกมาแล้วพูดอย่างเย็นชาว่า “เธอก็ไม่เลว แต่ไม่งามพอที่จะยั่วยวนใจ ตอนนี้ผมไม่มีอารมณ์ขันที่จะตามหญิงสาวที่ถูกผู้ชายคนอื่นเมินเฉย คุณควรกลับไปหาคู่ของคุณและสนุกกับรอยยิ้มของเธอ เพราะคุณกำลังเสียเวลาอยู่กับผม” บิงลี่ย์ทำตามคำแนะนำ ดาร์ซีเดินออกไป และอลิซาเบธไม่ถือสาคำพูดของเขา Pride and Prejudice: Jane Austin

ข้อสังเกตเกี่ยวกับภาษาของเจน ออสเตน ที่แสดงอารมณ์ในคำอธิบายบุคคลที่สามของ ดาร์ซี–เขา ‘ยุติ’ ความคิดที่จะเต้นรำกับอลิซาเบ็ธ ‘อย่างเย็นชา’ การถอนตัวของเขาสื่อถึงความเฉยเมย แต่นี่คือ POV ของอลิซาเบ็ธทั้งหมด ซึ่งเกิดขึ้นจากการฉีกหน้าที่เธอได้รับรู้โดยตรงจากการพูดคุยของชายทั้งสอง

แม้ว่าดาร์ซีจะ ‘ถอน’ สายตาของเขาออกไปจากอลิซาเบ็ธได้ไม่ยาก แต่เขาก็แสดงอาการประหม่า อลิซาเบ็ธตีความท่าทางด้วยคำพูดที่ดูเฉยเมย สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าบุคคลที่สามจำกัดมุมมอง มีประสิทธิภาพเพียงใด ในการแสดงวิธีที่ตัวละครประเมินซึ่งกันและกันโดยใช้ข้อมูลที่จำกัดเท่าที่พวกเขามี

เรื่องราวต่อมาในนวนิยายจึงจะเผยให้เห็นถึงความเป็นมิตร และความอบอุ่นของดาร์ซี ซึ่งเป็นตัวละครที่เราสามารถรับรู้ถึงกิริยาที่ห่างเหินของเขา ซึ่งแสดงให้ว่าเขาเป็นตัวละครที่จริงจัง น่าหลงใหล แต่ก็เป็นคนที่น่าอึดอัด

เพื่อแสดงประสบการณ์ที่แตกต่าง โดยใช้ บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง

ในบุคคลที่สาม จำกัดมุมมอง แม้ผู้บรรยายจะมีข้อจำกัดในการใช้มุมมองในแต่ละฉาก โดยเผยให้ผู้อ่านรับรู้ได้เฉพาะสิ่งที่ตัวละครตัวเดียวคิด เห็น ได้ยิน และสันนิษฐาน แต่มีอีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้คุณสามารถบอกเล่าเรื่องราวตัวละครอื่นจากมุมมองอื่น นั่นก็คือการสลับการบรรยายระหว่างตัวละคร

ข้อดีของวิธีการนี้ก็คือ คุณสามารถเผยถึงความเคิด และสมมติฐานของตัวละครในแต่ละตัว ในขณะที่ตัวละครเหล่านั้นยังคงมีปฏิกิริยากับข้อขัดแย้งอื่นๆ อย่างเป็นธรรมชาติ

ตัวอย่าง: การเปรียบเทียบ บุคคลที่สามจำกัดมุมมมอง ในเรื่อง Love in the Time of Cholera

กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซใช้ศักยภาพของบุคคลที่สามจำกัดมุมมอง สร้างนวนิยายที่ยอดเยี่ยม ระหว่างความรักอันยิ่งใหญ่ ใน Love in the Time of Cholera (ค.ศ. 1985) เรื่องราวความรักที่ไม่สมหวังของอดีตคู่รัก ได้หวนกลับมาพบกันอีกครั้งในชีวิต

ในช่วงต้นของนวนิยาย โฟลเรนติโน อารีซา สารภาพรักอันน่าหลงใหลกับ เฟร์มีนา ดาซา แต่ช่วงเวลานั้นไม่ค่อยเหมาะควรนัก 

Third person limited Point of View

“เฟอร์มีนา” เขาพูด “ฉันเฝ้ารอโอกาสนี้มากกว่าครึ่งศตวรรษ เพื่อที่จะกล่าวคำสาบานของฉันต่อเธออีกครั้งว่า ฉันจะมั่นคงต่อเธอและรักเธอตลอดชั่วนิรันดร์” ถ้าไม่ใช่เพราะมีเหตุผลให้เชื่อว่าในห้วงเวลานั้นโฟลเรนติโน อารีซา ได้รับการดลใจโดยอำนาจของพระจิต เฟมีนา ดาซา คงคิดว่าชายที่เผชิญหน้ากับเธออยู่เป็นพวกสติวิปลาส ทีแรกเธอนึกจะด่าเขาที่มาทำให้บ้านนี้เสื่อมเสีย ในขณะที่ศพสามีเธอยังอุ่นๆ อยู่ในสุสาน

ในบทข้างต้นเราเห็นท่วงท่าของฟลอเรนติโน อารีซา เต็มไปด้วยความรุ่มร้อน แต่ด้วยสายตาที่วิพากษ์วิจารณ์ของเฟอร์มีนา เธอไม่เชื่อในคำพูดของเขาแม้แต่น้อย

ในบทต่อมาเราเริ่มเห็นบทบาทของฟลอเรนติโนมากขึ้น จากฉากแรกที่เขาจำจำเฟอร์มีนาในครั้งแรก

ขณะที่เดินผ่านห้องเย็บผ้านั่นเอง เขาก็มองผ่านหน้าต่างเข้าไปและเห็นหญิงสาวกลางคนกับเด็กสาวนั่งอยู่ชิดติดกันบนเก้าอี้สองตัว กำลังอ่านหนังสือซึ่งหญิงกลางคนเปิดกางอยู่บนตัก…เด็กสาวเงยหน้าขึ้นมามองว่าใครเดินผ่านไปข้างหน้าต่าง การมองออกมาด้วยความบังเอิญ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของความรักอันท่วมท้นรุนแรง ซึ่งยังไม่สิ้นสุดแม้อีกครึ่งศตวรรษต่อมา

ตลอดนวนิยายทั้งเรื่อง มาร์เกซได้เปลี่ยนมุมมองเฟอร์มีนาที่โรแมนติกน้อยกว่าโฟลเรนติโนและมีความดื้อรั้นปนอยู่ ขณะเดียวกันมุมมองของโฟลเรนติโนก็เต็มไปด้วยความโรแมนติกครอบงำ

เมื่อคนทั้งสองต้องพบหรือเผชิญหน้ากัน พวกเขามีวิธีตีความผ่านมุมมองของตัวเองที่แตกต่างกัน และความผูกมัดที่กลายมาเป็นความเชื่อมโยงสร้างจุดแข็งของตัวละครสองตัวนี้ จากความแตกต่างระหว่างนิสัยใจคอ จุดเด่น จุดแข็งของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป ซึ่งสร้างความน่าเชื่อถือต่อการเล่าผ่าน บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง 

กฎทองแห่งความสม่ำเสมอ

กฎที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการใช้มุมมองคือความสอดคล้องกัน ทันทีที่ผู้เขียนเปลี่ยนจากมุมมองหนึ่งไปสู่อีกมุมมองหนึ่ง ผู้อ่านจะต้องเข้าใจมันในทันที ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ผู้เขียนจะสูญเสียอำนาจในฐานะนักเล่าเรื่อง และความสนใจของผู้อ่านจะลดลงไปด้วย

เมื่อผู้เขียนเล่าเรื่องโดยใช้การบรรยายด้วยบุคคลที่สามจำกัดมุมมอง จู่ๆ ผู้บรรยายก็บอกว่าคนรักของพระเอกแอบเลิกรักเขาแล้ว ผู้เขียนจะสูญเสียผู้อ่านทันที นั่นเป็นไปไม่ได้เพราะผู้บรรยายบุคคลที่สามของเรื่องนี้จะรู้ความลับ หรือเจาะเข้าไปในจิตใจตัวละครอื่นไม่ได้ เว้นแต่ว่า หนึ่ง คนที่เก็บความลับ หรือตัวละครที่รู้จักตัวละครนั้นนำเรื่องมาบอก สอง พวกเขาได้ยินใครบางคนเปิดเผยความลับ สาม พวกเขาแอบอ่านสมุดบันทึก

ข้อผิดพลาดทั่วไปที่พบได้ใน บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง

นักเขียนเริงระบำบนเครื่องพิมพ์ดีด ‘สำเนียง’ ตัวละครที่อ่อนแอ

การจำกัดสำเนียง (Voice) ของตัวละครในบุคคลที่สามยากกว่ามุมมองบุคคลแรก “สำเนียง” คือสิ่งที่บรรณาธิการวรรณกรรมมองหาจากตัวนักเขียนหน้าใหม่

สำเนียง หรือ เสียง เป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง เป็นนามธรรม มันคือบุคลิกของผู้เขียนที่ใช้สำเนียงในการเล่าเรื่อง ทำไมบรรณาธิการวรรณกรรมถึงชื่นชอบ และค้นหา “สำเนียง” จากนักเขียนหน้าใหม่ แน่นอน แม้ว่างานเขียนจะสามารถสะท้อนด้วยความสามารถในตัวนักเขียน พวกเขาเล่าเรื่องที่ตื่นตาน่าทึ่งได้ แต่สำเนียงเล่าคือความไพเราะ และชัดเจน 

การแสดงอารมณ์ของตัวละครที่ไม่ใช่ POV

หากคุณกำลังเล่าเรื่องจาก POV ของตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง เขาหรือเธอไม่มีทางรู้ได้ว่าตัวละครอื่นรู้สึกอย่างไร คุณสามารถแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่าตัวละครอื่นรู้สึกอย่างไรผ่านการกระทำของพวกเขา นี่คือตัวอย่างจากนวนิยายเรื่อง  Disgrace ของ J.M. Coetzee

บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง  Disgrace: J.M. Coetzee

เธอไม่ขัดขืน เท่าที่เธอแสดงออกคือเบี่ยงตัวหลบ หลบริมฝีปาก และหลบตา เธอปล่อยให้เขาวางร่างลงบนเตียงและปลดเปลื้องเสื้อผ้าออก เธอยังช่วยเขาด้วยซ้ำ โดยยกแขนขึ้นและตามด้วยสะโพก ทันทีที่ร่างกายเปลือยเปล่า ร่างของเธอไหวสั่นสะท้อนน้อยๆ ด้วยความหนาวเย็น เธอซุกตัวเข้าไปใต้ผ้าคลุมเตียงหนานุ่ม เหมือนตัวตุ่นซุกร่างเข้าโพรงที่อาศัย จากนั้นก็หันหลังให้เขา

Disgrace: J.M. Coetzee
Tweet

บทนี้เป็นมุมมองของเดวิด ลูรี ที่มีต่อเมลานี เราสามารถรู้ได้ว่าเมลานีรู้สึกอย่างไร ผ่านการกระทำของเดวิดที่มีต่อเธอ ซึ่งสอดคล้องกับการใช้บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง หาก เจ.เอ็ม. คูตซี ไม่ใช่นักเขียนที่มีทักษะในการเขียนที่ดี POV บุคคลที่สามนี้อาจจะโดนก่อกวนตามแบบตัวอย่างที่ผิดพลาดด้านล่าง

เธอไม่ขัดขืน แต่รู้สึกถึงแรงต้านน้อยๆ ในใจอยากปฏิเสธ แต่ร่างกายอ่อนปวกเปียกไร้การต้านทาน เธอปล่อยให้เขาวางร่างลงบนเตียงและปลดเปลื้องเสื้อผ้าออก เธออยากบอกให้เขาหยุด แต่เธอกลับยกแขนช่วยเขาด้วยซ้ำ  ทันทีที่ร่างกายเปลือยเปล่า เธอรู้สึกถึงความเย็นสะท้าน เธอซุกตัวเข้าไปใต้ผ้าคลุมเตียงหนานุ่ม เหมือนตัวตุ่นซุกร่างเข้าโพรงที่อาศัย จากนั้นก็หันหลังให้เขา 

การระบุแรงจูงใจให้กับตัวละครที่ไม่ใช่ บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง

ตัวละคร บุคคลที่สามจำกัดมุมมองของคุณรู้แค่แรงจูงใจของตัวเองเท่านั้น หากคุณเขียนประมาณว่า “แอนนามองเห็นบอยด์ เขาหันไปหาเธอเพื่อพูดอะไรบางอย่าง”  นั่นอาจเป็นข้อผิดพลาด เนื่องจากแอนนาไม่รู้ว่าทำไมบอยด์จึงหันไปหาเธอ เธอรู้เพียงว่ามีการเคลื่อนไหวบางอย่างดึงดูดสายตา (สมมติว่าแอนนาเป็นตัวละครบุคคลที่สามจำกัดมุมมอง) หากต้องการเขียนให้ถูกต้อง คุณจะต้องเขียนดังตัวอย่าง “แอนนาสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวเล็กๆ ที่หางตาของเธอ เธอหันกลับมาและตกใจเมื่อเห็นบอยด์จ้องมองมาที่เธอ”

การแสดงความคิดของตัวละครที่ไม่ใช่ บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง

คุณไม่สามารถมองเห็นความคิดใดๆ จากตัวละครอื่นได้ ยกเว้นว่าคุณกำลังเขียนนิยายแฟนตาซีที่ตัวเอกสามารถล่วงรู้ถึงความคิดของคนอื่นได้ แต่ถ้าพระเอกของคุณ ภาณุพงศ์ พูดกับดอนว่า “ไปฝากเงินที่ธนาคารกันเถอะ” แล้วคุณเขียนว่า “ดอนคิดถึงเรื่องนั้นสักครู่” นั่นเป็นข้อผิดพลาดในมุมมอง เพราะภาณุพงศ์รู้ความคิดของทุกคนไม่ได้

คุณสามารถมี POV ได้มากกว่าหนึ่งตัวละคร แต่ระวัง ยิ่งมี POV มากเท่าไหร่ เรื่องราวก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น และเขียนได้ยากขึ้นเป็นเงาตามตัว ลองให้ George R.R. Martin เป็นอุทาหรณ์ ในซีรีส์ Game of Thrones: A Song of Ice and Fire จำนวนมุมมองตัวละครของเขามีถึง 9 ตัว ด้วยกัน 

สิ่งที่เราได้รับจากมุมมองตัวละคร ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละบทเท่านั้น สิ่งที่น่าสนใจตัวละครบางตัวไม่เคยมีมุมมองของตัวเองเลยเช่น รอบบ์ สตาร์ก และ ไทวิน แลนนิสเตอร์ บางครั้งตัวละครมีบท POV แต่ออกมาบทเดียวก็หายไปเลย (โดยปกติคือบทนำหรือบทส่งท้าย) วิลล์ เป็นตัวละครใน POV บทแรก แนะนำให้เรารู้จักกับคนอื่นๆ และหายไปเลย (จริงๆ แล้วเขาอาจจะตายไปแล้วก็ได้)

เมื่อซีรีส์ดำเนินต่อไป มี POV เพิ่มขึ้นมาอีก นี่เป็นเครื่องเตือนใจถึงความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นตามมา มีตัวละครมากมายและบท POV จำนวนมาก ยิ่งทำให้เรื่องจบยากขึ้นเท่านั้น ทฤษฏีคือ ยิ่งคุณมี POV น้อยเท่าไร ยิ่งดีเท่านั้น

เช่นเดียวกัน ยิ่งคุณมีมุมมองมาก ตัวละครของคุณยิ่งมีบุคลิกความแตกต่างมากขึ้นเป็นเงาตามตัว อีกนัยหนึ่งคือคุณจำเป็นต้องทำงานหนักขึ้นอีกหลายเท่า เพื่อให้ตัวละครมีนิสัยใจคอที่ไม่เหมือนกัน

มุมมองตัวร้ายทางวรรณกรรม

คำถามคือ ตัวร้ายของคุณควรจะมีมุมมองการเล่าเรื่องหรือไม่ 

อาจจะ…ไม่

โดยเฉพาะถ้าคนร้ายของคุณเป็นเพียงคนชั่วร้ายในหนังสือการ์ตูน วิธีการของพวกเขาง่ายๆ คือ ยึดครองโลก!!!

เราอาจจะมีเหตุผลดีๆ สองสามข้อที่คนร้ายควรมีมุมมองการเล่าเรื่องกับเขาบ้าง

มุมมมองการเล่าเรื่องของตัวร้ายนั้นเขียนได้ยากมาก: ในการเขียนตัวร้าย คุณต้องเข้าไปสิงอยู่ในหัวอันบิดเบี้ยวของเขา เช่น เหยียดเชื้อชาติ อำนาจนิยม เกลียดผู้หญิง เผด็จการ และเห็นแก่ตัว คุณอยากจะใช้เวลากับคนเหล่านี้นานๆ ไหม? เวลาอ่านหนังสือ ผู้อ่านจะไม่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเลยหรือ

คนร้ายมิติเดียวไม่น่าสนใจ: เป็นเรื่องยากที่จะไม่หวนกลับไปใช้ถ้อยคำที่น่าเบื่อ เมื่อเขียนถึงคนร้ายของคุณ “ฉันจะยึดครองโลก!” (อีกแล้ว)

คุณสามารถสร้างความกลัวได้มากขึ้น โดยไม่เคยรู้จักคนร้ายมาก่อน: เมื่อเรารู้จัก POV ของคนร้ายแล้ว พวกเขาจะเป็นมนุษย์มากขึ้น ชั่วร้ายน้อยลง เราอาจจะเริ่มเห็นอกเห็นใจพวกเขาด้วยซ้ำ เพราะพวกเขาผ่านความเจ็บปวดมามากมายจนกลายเป็นปีศาจในสายตาคนอื่น แล้วหนังสือที่สนับสนุนวีรบุรุษของคุณที่ต้องการเอาชนะปรปักษ์ จะทำงานไม่ได้เลยถ้าเป็นแบบนั้น มันจะง่ายกว่าถ้าเราไม่รู้จักเขาเลยสักนิดเดียว

ถ้าคุณจำได้ นิยายเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์แทบไม่เคยให้เราเข้าไปใน POV ของโวลเดอมอร์เลย ส่วนใหญ่แล้ว เราประสบกับโวลเดอมอร์เพราะความเชื่อมโยงทางจิตใจที่แปลกประหลาดระหว่างแฮร์รี่กับเขา มีบทหนึ่งเล่าจากมุมมองของโวลเดอมอร์ แต่ยังไม่จบจนกว่าจะถึงตอน The Deathly Hallows

ใน Games of Thrones ตัวละครที่แย่ที่สุดสองคนคือ แรมซี โบลตัน และ จอฟฟรีย์ แลนนิสเตอร์ ทั้งสองไม่เคยได้รับบท POV เช่นกัน อาจมีคนโต้แย้งว่า เซอร์ซี ได้รับ POV หลายฉาก และคนส่วนใหญ่เกลียดเธอ แต่เธอมีคุณสมบัติบางอย่างที่น่าสนใจ เธอรักลูกๆ และเธอมีโหนกแก้มที่ดี (ตามคำพูดของทีเรียน) นอกจากนี้ เธอยังไม่ได้รับบท POV จนกว่าจะถึง A Feast For Crows หลังจากที่ ไทวิน และ จอฟฟรีย์ เสียชีวิต ซึ่งทั้งคู่ร้ายไม่แพ้กัน ดังนั้น เซอร์ซีเองไม่ได้ชั่วร้ายมากอย่างที่เธอเป็นนักหรอก (ว่าไหม)

มีข้อยกเว้นหรือไม่? แน่นอนว่ามี มีข้อยกเว้นสำหรับทุกสิ่งที่ถูกสาป หากคุณกำลังจะมี POV ของคนร้ายในหนังสือที่กำลังเขียน มันมักจะน่าสนใจมากกว่าหากทำให้พวกเขาเป็นพวกคลุมเครือ เป็นพวกสีเทาทางด้านศีลธรรม นั่นดูสมจริงมากกว่า ขาวจัดดำจัด

คดีฆาตกรรมในสำนักพิมพ์: ความลึกลับ บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง

ภาพประกอบเรื่องราวของ บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง

แบบฟอร์มทดสอบการเลือกมุมมองเล่าเรื่อง

ถ้าคุณกำลังเขียนนวนิยาย และยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกมุมมองการเขียนใด เรามีบททดสอบให้คุณได้ทดลองทำก่อนตัดสินใจ บททดสอบนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าคุณชอบมุมมองใดเป็นพิเศษ และจะสามารถวางแผนในการเขียนได้ดีขึ้น

มุมมองไหนที่เหมาะกับนวนิยายที่คุณกำลังเขียน

Leave a Comment

You may also like

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More