Save The Cat Spreadsheet
Home Download Download: Save The Cat Spreadsheet Extra : ดาวน์โหลดโปรแกรมคำนวน Excel Free!!!

Download: Save The Cat Spreadsheet Extra : ดาวน์โหลดโปรแกรมคำนวน Excel Free!!!

by niwat59
314 views 2 mins read

คู่มือการใช้ Save The Cat Spreadsheet

หลายคนที่อ่าน Save the Cat จบลงไปแล้วอยากลองใช้โครงสร้างนี้ของ Blake Snyder บีตชีทของเขาเหมาะกับการเขียนนิยายขนาดสั้น หรือ นวนิยาย โครงสร้างนี้ช่วยจัดระเบียบของโครงสร้าง อีกทั้งยังช่วยแบ่งจังหวะต่างๆ ในแต่ละช่วงอย่างละเอียด สำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรมได้จัดทำไฟล์จากโปรแกรม Excel: Save The Cat Spreadsheet สำหรับคำนวนจำนวนหน้ากับจังหวะของเรื่อง เพื่อที่ผู้เขียนจะได้สะดวกในการวางโครงสร้าง

อ่าน Save The Cat Beat Sheet เพิ่มเติม

Save The Cat Spreadsheet
ตัวอย่างโปรแกรม Excel: Save The Cat Spreadsheet

บีทชีตบอกอะไรเราได้บ้าง

Save The Cat Spreadsheet

ในฐานะนักเขียน “กฎ” ทุก “กฎ” มีไว้เพื่อแหก แม้ว่าเครื่องมือที่เรามีอยู่จะพอช่วยให้เราวางแผนในการเขียนได้ดีขึ้น สะดวกขึ้น หรือง่ายขึ้น รวมไปถึงช่วยให้เราทดสอบ หรือมีจุดอ้างอิงในช่วงที่แก้ไขต้นฉบับ แต่การที่ยึดมันมากเกินไป ก็อาจจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี แต่อย่างไรก็ตาม คำแนะนำจาก Save the Cat Spreadsheet มีข้อดีสำหรับนักเขียนเพื่อทดสอบจังหวะต่างๆ ว่ามันสามารถใช้เหตุการณ์เหล่านั้นเล่าเรื่องในนวนิยายได้ดีเพียงไร

หมายเลขหน้าที่เรียงตามเหตุการณ์ จากเรื่องราวในจังหวะต่างๆ เช่น The Catalyst, Midpoint และ Dark Night of the Soul ไปจนถึง Break into Two ทั้งหมดเดินเข้าสู่หน้าที่ที่ควรจะเป็นในสเปรดชีท จุดหักมุมใหญ่ๆ มากมายเต็มไปหมด เราสามารถเช็คและเซ็ตมันได้ หรือดูว่าทั้งหมดมาถูกทางแล้วหรือยังจาก Save the Cat Spreadsheet

ที่สำคัญกว่านั้น เปอร์เซ็นต์บางอย่างในจังหวะเหล่านั้น เนื้อหาบางส่วนอาจยาวเกินไปจนทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อ หรือมีช่วงกลางที่หย่อนคล้อย หรือปัญหาโครงสร้างอื่นๆ อีกหลายร้อยปัญหา Save the Cat Spreadsheet จะช่วยทำให้มองเห็นปัญหาได้ดีขึ้น

Save the Cat Spreadsheet สามารถช่วยเราแก้ไขได้อย่างไร

Save The Cat Spreadsheet

คุณอาจจะมีคำถามว่า หมายเลขหน้าในจังหวะต่างๆ มีความสำคัญขนาดไหน มันสำคัญจริงๆ หรือว่า เป็นแค่เครื่องนำทาง เราจะเริ่ม Break into Two ในหน้า 60 หรือ 75? หน้าใดกันแน่

คำตอบคือ ใช่หรือไม่ใช่ แน่นอนว่ายิ่งเรื่องราวยาวขึ้นเท่าไร เราก็ยิ่งมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเท่านั้น จังหวะสำหรับ Catalyst ที่เกิดขึ้นสองสามหน้าในช่วงต้น หรือช่วงปลายของนวนิยาย จำนวนคำกว่า 85K จะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อ่านมากนัก นั่นหมายความว่า จังหวะต่างๆ และจำนวนหน้าที่ปรากฏอยู่ในสเปรดชีทขึ้นอยู่กับความสมดุลย์ของเรื่องราวมากกว่ายึดโครงสร้าง ทว่าโครงสร้างจะช่วยในฐานะตัวอ้างอิง

อย่างไรก็ตาม หากเราเห็นว่าการตั้งค่าใช้เวลานานเกิน 10 หน้าขึ้นไป (หรือยาวเกินกว่า 3 หน้าในเรื่องที่สั้นกว่า) นั่นอาจบ่งบอกถึงปัญหาการเว้นจังหวะ บางทีการตั้งค่าของเราบางส่วนควรจะรัดกุม หรือบางทีเราอาจมี backstory มากเกินไป

กล่าวอีกนัยหนึ่ง หมายเลขหน้าเหล่านี้ควรถือเป็นแนวทาง ไม่ใช่กฎ แต่เมื่อเราวางแผนแก้ไข ภาพรวมอาจเผยให้เห็นปัญหาเรื่องจังหวะหรือจุดที่เราอาจต้องจัดเรียงฉากใหม่ และเรามีเครื่องมือที่ช่วยตบให้มันเข้าที่เข้าทาง

วิธีอื่นๆ ในการใช้ Save The Cat Spreadsheet

หลังจากตรวจสอบความถูกต้องของเปอร์เซ็นต์ใน Save the Cat Spreadsheet คุณลองกลับไปสำรวจนวนิยายที่กำลังเริ่มเขียน  มีบางฉากจาก 2-3 หน้า อาจจะอยู่ใน 1% ของเรื่องราว 300 หน้า

บางเหตุการณ์ —ซึ่งไม่ได้ตั้งใจให้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ— แต่ดันอยู่ในหน้าจุดเปลี่ยน อาจจะต้องแก้ให้ละเอียดขึ้น จำเป็นต้องปรับหน้าเพื่อให้ได้จุดเปลี่ยนสำคัญอยู่ในที่ “ควร” อยู่หรือไม่? นี่คือสิ่งที่ต้องตัดสินใจ

นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ Save the Cat Spreadsheet เพื่อเจาะลึกความคิดเห็นจากผู้ทดลองอ่านกลุ่มแรก หากเราได้คำวิจารณ์ว่าช่วงหนึ่งของเรื่องดูช้าเกินไป การวิเคราะห์จังหวะในส่วนนั้นของเรื่องอาจช่วยได้

หรือถ้าเราต้องการเพิ่มหรือลดจำนวนคำล่ะ? เราสามารถป้อนจำนวนคำที่เหมาะสมในสเปรดชีทและแก้ไขเพื่อให้ตรงกับหมายเลขหน้า

ทั้งหมดเราอาจจะสัมผัสวิธีการใช้ได้เพียงแค่เศษเสี้ยวของการใช้งาน Save the Cat Spreadsheet ดังนั้นถ้าผู้อ่านมีความคิดเห็นเพิ่มเติมสามารถโพสต์ความเห็นหรือเสนอแนะได้ตลอดเวลา

ไม่ว่าคุณจะเริ่มต้นการใช้งาน Save the Cat Spreadsheet อย่างไร? วางแผนล่วงหน้าหรือเพียงแค่เจาะลงไปในต้นฉบับบางจุด? คุณเคยใช้บีทชีทมาก่อนหรือไม่? คุณใช้บีทชีทอย่างไร? ใช้ระหว่างขั้นตอนการร่าง การแก้ไข หรือทั้งสองอย่าง เคล็ดลับบีทชีทเหล่านั้นสามารถแบ่งปันกันได้ เพื่อที่จะพัฒนาแนวทางการวางโครงสร้างให้ดียิ่งขึ้น


About the illustrator
About the illustrator

ภาพประกอบบทความนี้ออกแบบและสร้างสรรค์โดย รุจาภา พรหมวิเศษ นักศึกษาปี 3 – มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม สาขาวิชา: ภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล – เอก : การผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล

2 comments

waritsara.nm 12/06/2022 - 00:40

thanks

Reply
Niwat Puttaprasart 12/06/2022 - 11:05

ด้วยความยินดี

Reply

Leave a Comment

You may also like

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More