Home Literature วิธีการเปิดเรื่อง 8 ขั้น จากฉากเปิดไปสู่นิยายที่สมบูรณ์ | How to Start a Novel

วิธีการเปิดเรื่อง 8 ขั้น จากฉากเปิดไปสู่นิยายที่สมบูรณ์ | How to Start a Novel

by Editor
3.3K views 6 mins read

สตีเฟน คิง มี วิธีการเปิดเรื่อง หรือ เริ่มต้นนิยาย ได้อย่างน่าทึ่งคนหนึ่ง จากอดีตถึงปัจจุบันเขาเขียนหนังสือมากกว่าหกสิบเล่ม บทเริ่มต้น นิยายของเขาทำได้ตื่นตะลึง และน่าติดตาม เขาทำแบบนั้นได้อย่างไร ทำไมเขาถึงใช้เวลาเป็นแรมปีเพื่อเขียนประโยคเปิดเรื่องเพียงอย่างเดียว อาจกล่าวได้ว่าสตีเฟน คิง เป็นนักเขียนที่เก่งที่สุดคนหนึ่ง ที่สามารถดึงดูดผู้อ่านได้อย่างอยู่หมัด บทเริ่มต้นของนิยายเป็นหนึ่งใน วิธีการเขียนนิยาย

คิงเคยกล่าวเอาไว้ว่า มีทฤษฎีและแนวคิดมากมายเกี่ยวกับการเปิดเรื่องที่ดี แต่แนวคิดนี้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและยากที่จะอธิบายเป็นรูปธรรม หรือพูดให้ถึงที่สุด การเปิดเรื่องที่ยอดเยี่ยมไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว

สตีเฟน คิง วิธีการเปิดเรื่อง
สตีเฟน คิง

เมื่อนักเขียนยื่นคำเชื้อเชิญที่น่าดึงดูดขนาดนี้ นักอ่านจะต้านทานความอยากรู้อยากเห็นได้อย่างไร นี่คือ 8 ขั้นตอน ที่เขียนถึงวิธีการเริ่มต้นนิยายด้วยขั้นตอนง่ายๆ และยืดหยุ่นต่อการปรับใช้ มาดูกันว่าคุณจะเริ่มต้นได้อย่างไร เพื่ีอให้คนอ่านอยากอ่านนิยายเรื่องนี้

Table of Contents

1.พิจารณาองค์รวมของนิยาย

การเปิดเรื่องที่ดี ไม่ใช่แค่เริ่มประโยคที่สวยงามเท่านั้น แต่ต้องเชื้อเชิญให้คนอ่านเข้าสู่โลกนิยาย โลกจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ โลกแห่งการเขียนที่ถูกปั้นแต่งขึ้น คุณต้องทำให้ผู้อ่านเข้าสู่โลกนั้นให้เร็วที่สุด นั่นหมายความว่า บรรทัดแรกของนิยายจะเป็นคีย์เวิร์ด หรือตัวกำหนดเรื่องทั้งหมดของหนังสือ เมื่ออ่านย่อหน้าแรกจบลง ผู้อ่านส่วนใหญ่จะคาดหวังว่าเนื้อหาของนิยายจะเป็นอย่างไรต่อไป พวกเขาจะตัดสินใจว่าจะอ่านต่อ เพื่อเจาะลึกเข้าไปสู่เนื้อเรื่อง หรือนำกลับไปวางที่ชั้นหนังสืออีกครั้ง

คำนึงถึงความกลมกลืนของนิยาย

ถ้าคุณเป็นนักเขียนประเภท “นักวางแผน” ชอบคิดหาทางออก อย่ากังวล ผมไม่ได้แนะนำให้คุณวางแผนเพื่อที่จะเขียนฉากกับโครงเรื่องในเวลาเดียวกัน นั่นเป็นเรื่องซับซ้อน สิ่งที่คุณต้องทำคือทำไปทีละอย่าง เพื่อให้เป็นธรรมชาติ สิ่งที่ต้องทำตั้งแต่ต้นคือ คำนึงถึงความกลมกลืน ไม่ว่าจะเขียนสไตล์ไหน นุ่มนวลชวนฝัน หรือคมกริบราวใบมีดโกน ความกลมกลืนคือหัวใจสำคัญ

ทำให้แน่ใจว่าน้ำเสียงที่คุณเล่าจะมีความกลมกลืนตลอดเรื่อง การเปิดเรื่องด้วยสถานที่ ตามด้วยมีดที่เฉือนจนเลือดสาดหน้าปก แทนที่จะทำให้คนอ่านรู้สึกกระตือรือร้นอยากพลิกหน้าต่อไป พวกเขาอาจจะหลิ่วตาด้วยความสับสนงงงวย จินตนาการของผู้อ่านไม่ก่อประโยชน์อะไรเลยสำหรับการเปิดเรื่องแบบนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงหวดที่รุนแรง คุณต้องเข้าใจว่านิยายต้องเดินไปอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะเดินไปสู่จุดหมายได้อย่างกลมกลืน ก่อนที่คุณจะเริ่มบรรทัดแรก ย่อหน้าแรก นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ความกลมกลืนระหว่างสไตล์กับเนื้อหา สองสิ่งนี้จะเป็นตัวบอกว่านิยายของคุณจะประสบความสำเร็จหรือไม่

2.วิธีการเปิดเรื่อง โดยสร้างอารมณ์ร่วม

เราจะสร้างอารมณ์ร่วมให้กับนิยาย และดำเนินเรื่องต่อไปตั้งแต่ต้นไปจนจบได้อย่างไร ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ผู้อ่านคาดหวัง ถ้าไม่สามารถชักจูงผู้อ่านเข้ามาในโลกนิยาย มันก็กลายเป็นเรื่องที่สูญเปล่า พวกเขาจะไม่เชื่อ พวกเขาจะตั้งคำถาม พวกเขาคิดว่ามันไม่เหมือนจริง (ทั้งๆ ที่คุณเขียนเรื่องจริงทุกประการ)

ถ้าคุณต้องการเขียนเรื่องระทึกขวัญของสายลับที่มีแรงขับดันสูง มีฉากบู๊ดุเดือด ไล่ยิง ฟันแทง กันทุกๆ บท คุณต้องปรับทิศทางให้กับผู้อ่าน โดยทำให้พวกเขาเข้าสู่ฉากบู๊สะบั้นหั่นแหลกในทันที คุณต้องไตร่ตรองให้รอบครอบสำหรับฉากแรก วีรบุรุษผู้ไม่เชื่อในศาสนาสะพายปืนเดินอาดๆ ไปตามถนน เข้าฟาดฟันศัตรูไม่เลือกหน้า ขณะเดียวกันความทรงจำของเขาคือแม่ผู้อารี ผู้อบคุ๊กกี้อยู่ที่บ้าน นี่คือการจับคู่ที่ไม่ดีเสียเท่าไหร่ ในทำนองเดียวกัน นวนิยายที่ขับเคลื่อนโครงเรื่องด้วยบทสนทนา นักจิตวิทยาหนุ่มผู้เต็มไปด้วยแรงกดดัน ไม่ควรจะเปิดเรื่องด้วยการขับรถไล่ล่ากันบนท้องถนน

เช่นเดียวกัน คุณไม่จำเป็นต้องชี้ชัดทุกๆ พล็อต เพื่อเขียนบทเปิดเรื่องให้สอดคล้องกับเนื้อหาทั้งเล่ม แต่คุณต้องทำตัวเป็นจิตรกร คุณมีจานสี มีผืนผ้าใบ คุณอาจจะไม่มีองค์ประกอบทั้งหมดอยู่ในหัว แต่คุณต้องรู้ว่าจะเลือกสีอะไรบนจานสึเพื่อทำให้ภาพที่คุณเขียนมีโทนสีที่กลมกลืนกัน

3.เลือกมุมมองการเล่าเรื่อง (Point of View)

มุมมมองการเล่าเรื่องจะเป็นตัวคุมอารมณ์และน้ำเสียงในนิยาย คุณต้องตัดสินใจเลือกมุมมองการเล่า ตั้งแต่วางแผนที่จะเขียนนิยาย เพราะนี่คือส่วนสำคัญที่สุดของหนังสือ ไม่ว่าคุณจะเลือกเสียงเล่าแบบบุคคลที่หนึ่ง ที่เต็มไปด้วยสีสันและแรงขับเคลื่อนเหมือนใน บันทึกนกไขลาน ของ ฮารุกิ มูราคามิ หรือมุมมมองบุคคลที่สามแบบพระเจ้า อย่างเช่น The girl with the Dragon Tatto หรือ Pride and Prejudice นั่นคือคุณได้ตัดสินใจแล้วว่าจะเล่าเรื่องด้วยท่วงทำนองแบบไหน

แน่นอนว่าไม่ได้มีเพียงสองตัวเลือกข้างต้น มีตัวเลือกมากมายสำหรับมุมมองการเล่า คุณสามารถอ่านรายละเอียดการเลือกมุมมองการเล่าเรื่อง ที่เหมาะสมสำหรับนวนิยายที่กำลังวางโครงสร้าง

เลือกมุมมองการเล่าเรื่องที่เหมาะสม

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเนื้อเรื่อง มุมมองการเล่าเรื่อง จะตอบสนองเรื่องราวของคุณอย่างแท้จริง ถ้าคุณอยากรู้ว่าเรื่องที่คุณต้องการเล่าจะเป็นแบบใด อะไรจะทำให้คุณแน่ใจว่า มุมมองการเล่าจะช่วยส่งเสริมคุณค่าของนิยายที่เขียน ถ้าคุณเขียนนิยายวรรณกรรม โดยใช้มุมมองบุคคลที่หนึ่ง คุณสามารถทำให้คนอ่านเชื่อในสิ่งที่คุณเขียนได้ง่าย และตัวตนของคุณกับตัวเรื่องจะมีความสัมพันธ์กัน แต่ถ้าคุณเขียนนิยายแนวลึกลับ สืบสวนสอบสวน การใช้มุมมองบุคคลที่สามแบบจำกัดมุมมอง จะช่วยให้คุณสร้างเงื่อนไขของโครงเรื่อง รวมถึงปริศนาต่างๆ ให้กับผู้อ่านได้ดีกว่ามุมมองอื่น คุณสามารถอ่านการตั้งค่านิยายตั้งแต่ต้นได้ที่ ขั้นตอนการเขียนนิยาย ซึ่งจะทำให้คุณเริ่มต้นได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

4.วิธีการเปิดเรื่อง เปิดเรื่องเหมือนมือสังหาร

ตอนนี้คุณมาถึงจุดที่ยากที่สุดจุดหนึ่งแล้ว นั่นคือ การเริ่มต้นนิยาย เมื่อต้องเขียนบรรทัดแรกในการเปิดเรื่อง หรือย่อหน้าแรกของนวนิยาย บางทีคุณอาจจะรอประโยคเดียวทั้งสัปดาห์ หรือแย่กว่านั้นเป็นเดือนๆ เพื่อไม่ให้เรื่องนี้ดูซีเรียสเกินไป ผมขอสารภาพว่ายังมีเรื่องสนุกรออยู่ (บ้าง) สิ่งเดียวที่คุณต้องทำให้ดีที่สุดคือ ลงมือเขียนให้ได้!!!

เรามีคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเริ่มต้นเรื่องจากนักเขียน และบรรณาธิการที่ยิ่งใหญ่ แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ไม่มีวิธีใดถูกต้องทั้งหมดสำหรับการเปิดเรื่องให้น่าทึ่ง คุณสามารถทำให้ผู้อ่านตื่นตะลึงได้ ผมมีตัวอย่างเช่น

หรือคุณจะเริ่มเรื่องด้วยความเรียบง่ายแบบ

สิ่งที่สำคัญคือ ไม่ว่าคุณจะเขียนอย่างไร คุณต้องรู้ว่าสิ่งที่เขียนนั้นมาถูกทางตั้งแต่เริ่มต้น ถ้าคุณต้องการเรียนรู้วิธีการเปิดเรื่องในแบบอื่น รออัปเดตของเราในอนาคต เพื่อที่จะไม่พลาดว่าเรามีบทความใหม่ๆ คือสมัครสมาชิกข่าวเพื่อรับอัปเดตบทความของเรา

5. วิธีการเปิดเรื่อง แนะนำตัวละครตั้งแต่ตอนต้น

เมื่อย่อหน้าแรกเริ่มด้วยตัวละครที่เป็นมนุษย์ ถึงคราวที่คุณจะต้องแนะนำตัวละครบางตัว แสงไฟสาดส่อง พวกเขาดินกำลังเขึ้นไปบนเวที ปล่อยให้ตัวละครขับเคลื่อนไปข้างหน้า

ส่องไปยังเบื้องหลังตัวละคร

การแนะนำตัวละครตอนต้นเรื่อง ช่วยหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่สำคัญต่อการเขียนนิยายได้มาก บางครั้งผู้เขียนบรรยายข้อมูลมากเกินไป คุณอาจจะเคยอ่านเจอเรื่องแบบนี้มาก่อน เช่นการเปิดเรื่องของหนังสือท่องเที่ยว ผู้เขียนจะบรรยายภาพภูมิทัศน์ไปอย่างช้าๆ โดยไม่มีภาพของมนุษย์สักคนในท้องเรื่อง คุณลองสลับกันดูว่า ถ้าคุณกำลังสร้างโลกนิยายแฟนตาซีขึ้นมาอาณาจักรหนึ่ง คุณใส่รายละเอียดเกี่ยวกับอาณาจักรนั้นลงไป ไม่ว่าบทบรรยายจะสวยงามแค่ไหน หรือมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยน่าสนใจมากมายเพียงไร การเปิดเรื่องแบบนี้จิตใจผู้อ่านอาจจะล่องลอยไปก่อนก็ได้

เพื่อหลีกเลี่ยงการเปิดเรื่องที่ติดขัดกับรายละเอียดที่ต้องบรรยายมากมาย ให้แนะนำตัวละครหลักสองสามตัวในทันที พวกเขาจะกลายเป็นตัวล่อตัวชน โดยสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน เรื่องราวชีวิตของพวกเขา ทั้งความน่าเห็นอกเห็นใจ ความลับที่ไม่เปิดเผย รวมถึงชีวิตประจำวันของพวกเขา เป็นการดึงอารมณ์ร่วม วิธีการแบบนี้ก็เหมือนการบรรยายฉากท้องฟ้าสีทองส่องอำไพ หรือคุณได้เจอเหรียญวิเศษที่สามารถย้อนเวลาได้

คำเตือน:

อย่าเริ่มต้นโดยบรรยายลักษณะตัวละคร 

ฉากเปิดโดยการบรรยายลักษณะตัวละครแบบตรงไปตรงมา ไม่ช่วยให้เรื่องของคุณดูดีขึ้น ในทางกลับกัน มันเป็นการปิดกั้นรายละเอียดของตัวละครที่คุณจะเขียนถึงในคราวต่อไป เพื่อผลประโยชน์ของผู้อ่าน เมื่อคุณบรรยายตัวละครในช่วงต้น คุณควรดึงดูดความสนใจผู้อ่านโดยการสะท้อนบุคลิกของพวกเขา แทนที่จะบรรยายภาพของพวกเขาแบบตรงๆ ถ้าคุณจะเขียนถึงตัวละครว่าดวงตาสีฟ้า ผมสีบลอนด์ คุณอาจจะบรรยายถึงความอ่อนโยน โอบอ้อมอารี รักสนุก หรือมีอารมณ์ไปกับสิ่งอ่อนไหว รวมถึงอากัปกิริยาที่โดดเด่น เช่นเดินตัวตรง หน้าเชิด ฯลฯ

อย่าแนะนำตัวละครเยอะเกินไปในคราวเดียว

การเปิดเรื่องในนิยายที่ไม่มีตัวละครใดๆ เลย เป็นวิธีหนึ่งที่ไม่ดี อีกวิธีคือ แนะนำตัวละครเยอะเกินไปในคราวเดียวตั้งแต่ต้นเรื่อง แม้ว่าคุณจะเขียนนิยายมหากาพย์ที่มีตัวละครนับร้อยๆ ตัว วิธีที่ผมแนะนำคือ คุณต้องเลือกตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง หรือสักสองสามตัว อย่าปล่อยให้พวกเขาเข้าฉากมากเกินไปในทันที เพราะความสนใจของผู้อ่านจะถูกแบ่งออกไปหลายทิศทาง นั่นทำให้เป็นเรื่องยากที่จะดึงให้คนอ่านอ่านต่อ เอาเฉพาะชื่อที่ต้องจำทำให้ยากจะติดตาม

เริ่มต้นนิยาย 1984 วิธีการเขียนนิยาย

6.วางเดิมพันให้กับตัวละคร

เมื่อคุณเลือกเริ่มต้นนิยายด้วยตัวละคร ภาพวาดที่ผู้อ่านจินตนาการถึง พวกเขาจำเป็นต้องมีความเสี่ยง ตัวละครเหล่านั้นจะต้องรู้สึกเจ็บปวด ถ้าทำบางอย่างผิดพลาด หรือได้รับผลกรรมไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง อาจจะไม่ถึงแก่ความตาย หรือบาดเจ็บ อาจจะเป็นเรื่องที่รบกวนจิตใจ ทำให้เศร้า หรือทุกข์ คนอ่านจะเอาใจช่วยไม่ให้พวกเขาทำพลาด แม้กระนั้นทุกอย่างก็ผิดพลาดอยู่เสมอ โดยสรุป ไม่มีใครอยากอ่านนิยายที่ไม่มีความขัดแย้ง

แน่นอนว่า ความขัดแย้งเป็นหัวใจหลักของโครงเรื่อง ไม่จำเป็นว่าจุดจบจะเลือกได้เพียงทางหรือสองทาง จักคงชีวิตหรือมรณา ไม่ใช่ว่าหนังสือทุกเล่มจะต้องจบด้วยควันปืน และการนองเลือด แม้คุณจะเขียนนิยายที่เงียบที่สุดในโลก บรรยากาศตึงเครียดของนิยายจะปรากฏขึ้นตั้งแต่ต้นด้วยเสียงอันกึกก้อง

ทำให้คนอ่านเห็นว่าตัวละครต้องการอะไร

ท้ายที่สุดแล้ว การวางเดิมพันของตัวละครจะเผยออกมา พวกเขาต้องการอะไร ความต้องการนั้นอาจจะมีน้ำหนัก อาจจะใหญ่โต หรืออาจเป็นแค่เรื่องส่วนตัว หรือความต้องการส่วนบุคคล อะไรก็ได้ตั้งแต่การปฏิวัติ ล้มล้างการปกครอง ต่อสู้เพื่อให้รอดพ้นจากการถูกกดขี่ของทรราช หรือเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ไปเรียนเมืองนอก เปิดร้านอาหาร ทั้งหมดนั้นต้องทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าการเดิมพันนั้นสำคัญ และต้องมีความสำคัญกับตัวละครเป็นอย่างมาก

เพื่อให้เรื่องราวน่าติดตาม ตัวละครของคุณจะต้องไม่บรรลุเป้าหมายง่ายเกินไป นิยายของคุณจะสนุกขึ้นถ้าอุปสรรคเหล่านั้นมีเป็นขั้นๆ คล้ายๆ การเล่นเกมเพื่อผ่านด่านต่างๆ การไล่ตามเป้าหมาย ไม่จำเป็นต้องเสี่ยงภัยจนถึงขั้นเสียชีวิต แต่อาจจะเป็นความไม่สบายใจ หรือแค่ต้องการหลุดพ้นจากปัญหา ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ

7.Inciting Incident

เมื่อคุณสร้างความเสี่ยงให้กับตัวละครในเรื่องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณต้องนำความตึงเครียดเหล่านั้นมาสร้างสถานการณ์ เพื่อกระตุ้นเร้าให้เกิดความน่าสนใจ และสถานการณ์นั้นผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำหรับตัวละครหลักที่คุณสร้าง

อะไรคือ Inciting Incident

Inciting Incident คือสถานการณ์ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือ จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ ไม่ใช่ Turning Point มันคือเหตุการณ์ที่ถูกปลุกปั่นขึ้นเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับตัวละครหลัก สำหรับเปลี่ยนชีวิตธรรมดาให้มีจุดหมายหรือเป้าหมาย โดยทั่วไปมักจะเกิดขึ้นภายในฉากแรกของเรื่อง สถานการณ์นี้มีความสำคัญสำหรับตัวละคร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชีวิตทั้งชีวิตของพวกเขา นอกจากนี้ยังดึงดูดผู้อ่านให้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่กับเรื่องราวที่เกิดขึ้น Inciting Incident เป็นเครื่องมือสำหรับดึงคนอ่าน ให้อยากติดตามเรื่องราวที่จะดำเนินต่อไปจากต้นไปจนจบ

มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Inciting Incident อยู่เสมอ เรามาดูว่ามีอะไรบ้างที่เข้าใจไม่ตรงกัน

  • ตำนาน #1 Inciting Incident มักเป็นสิ่งแรกที่จะเกิดขึ้น

คุณรู้ว่าอะไรคือ Inciting Incident (จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์) เพราะมันเป็นสถานการณ์แรกที่คุณจะมองเห็นในต้นเรื่อง และกระตุ้นให้ตัวละครเกิดแรงผลักดัน แต่บางครั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิยายเปิดขึ้นด้วยบทสนทนาหรือฉากที่นำไปสู่เรื่อง แต่นั่นไม่ได้เปลี่ยนบทบาทของตัวละครในเรื่องนี้! ดังนั้น Inciting Incident จะเกิดขึ้นหลังจากนั้น

  • ตำนาน #2 บางครั้ง Inciting Incident เป็นเหมือน “การวางเหยื่อล่อ” ทุกประการ

การวางเหยื่อล่อคนอ่าน เป็นเทคนิคที่น่าทึ่งสำหรับฉากเปิดเรื่อง และดึงดูดความสนใจของผู้อ่านเป็นอันดับแรก Inciting Incident ทำหน้าที่ยั่วยุ–กระตุ้นตัวละคร นั่นทำให้โครงเรื่องมีความหนักแน่นขึ้น ทำให้ความสนใจแข็งแกร่งกว่าเดิม บางครั้งก็ทับซ้อนกันกับการวางเหยื่อล่อ แต่ Inciting Incident มักต้องการคำอธิบายมากกว่าการวางเหยื่อล่อ ดังนั้นอย่าคิดว่าทั้งสองวิธีมีความหมายเหมือนกัน

  • ตำนาน #3 inciting incident ทำให้เกิดคำถามมากกว่าค้นหาคำตอบ

ตามความเป็นจริงแล้ว Inciting Incident มักเกี่ยวข้องกับความชัดเจนเพื่อค้นพบประเด็นใหม่ หรือการตระหนักรู้สำหรับตัวละครหลัก มันสร้างคำถามบางอย่าง แต่จุดประสงค์หลักของมันคือเพื่อให้ตัวละครมีเส้นทางที่โดดเด่นในการดำเนินเรื่องไปข้างหน้าแทนที่จะทำให้สับสน

inciting incident
Inciting Incident (จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์)

ความคลุมเครือเหล่านี้บางครั้งอาจสร้างความสับสนได้ โชคดีที่เรามีตัวอย่างมากมายพร้อมที่จะแสดงให้เห็นว่าเรากำลังพูดถึงอะไร ต่อไปนี้คือตัวอย่าง Inciting Incident : สถานการณ์ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ถูกปลุกปั่น–กระตุ้นเร้า

แฮรรี พอตเตอร์
The Hunger Games
Gone Girl
Gone Girl

วิธีการเปิดเรื่อง : วาง Inciting Incident ไว้ที่ใดของเรื่อง

เมื่อคุณได้เห็นตัวอย่าง Inciting Incident แล้ว ถึงคราวที่คุณต้องรู้ว่าจะใส่สถานการณ์นั้นลงไปตอนไหน หรือช่วงใดของนิยาย สถานการณ์นี้ส่วนใหญ่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวละครหลัก ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นในนิยาย ช่วงต้นคุณอาจจะบรรยายตัวละคร เบื้องหลังชีวิต–ชีวิตประจำวันของพวกเขา ถ้าคุณต้องการดึงดูดผู้อ่าน คุณวางมันไว้ในช่วงต้นเรื่อง อย่าให้เกินหน้าที่สี่สิบ ก่อนการเล่าโครงสร้างเหตุการณ์ทั้งหมดของเรื่อง

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าใช้น้ำเสียงได้ถูกต้อง

เช่นเดียวกับทุกองค์ประกอบของนิยายที่คุณต้องใส่ใจ Inciting Incident ต้องจับคู่ให้ตรงกันกับพลังงานที่เข้าคู่กันด้วย หรือมีส่วนร่วมกับการพัฒนาโครงเรื่อง เช่น ถ้าคุณเขียนเรื่องเรียบๆ เรื่อยๆ ของครูโรงเรียนประถม Inciting Incident ของครูคืออะไร ลาออกเพื่อไปเป็นนักเขียน? อาจลงละเอียดชีวิตที่ต้องการเปลี่ยนแปลงไปในทางใดทางหนึ่ง มากกว่าใส่ฉากขับรถไล่ล่ากันบนถนน

สมมติว่าคุณกำลังเขียนเรื่องนักฟุตบอลเยาวชนมากทักษะแอบไปคัดตัวกับสโมสรยักษ์ใหญ่ เพื่อไล่ตามความฝัน โดยขัดต่อความต้องการของพ่อที่อยากให้ไปเล่นกับสโมสรเล็กๆ ในบ้านเกิด เพื่อไต่เต้าอย่างเป็นระดับขั้น จะได้ไม่กดดัน คุณสามารถสร้าง Inciting Incident ได้ง่ายๆ คือ มีจดหมายตอบรับจากสโมสรแห่งนั้นส่งมาถึงที่หน้าประตูบ้าน แน่นอนสถานการณ์เล็กๆ นี้เทียบไม่ได้กับที่แฮรี่รู้ว่าตัวเองเป็นพ่อมด แต่มันไม่ทำให้เรื่องราวนี้ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง

เรียนรู้ Inciting Incident หรือ จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ ฉบับเต็ม

8.ทบทวนการเปิดเรื่องอีกครั้ง

เมื่อคุณเขียนจุดเริ่มต้นของนิยาย–Inciting Incident และทั้งหมด– ด้วยความจริง คุณไม่ควรติดอยู่กับเรื่องที่เพิ่งเขียนจบลงไป คุณต้องกลับไปทบทวนนิยายที่เขียนอีกครั้ง และพัฒนาให้ดีขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าฉากเริ่มต้นมีความสมเหตุสมผล อยู่ในบริบทเดียวกันตลอดทั้งเล่ม 

สิ่งที่คุณต้องตรวจสอบ

  • น้ำเสียงตอนเปิดเรื่องดีพอหรือยัง

นิยายที่คุณเขียนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา แม้แต่ประเภทที่คุณวางเอาไว้ตอนต้น กระบวนการเขียนมีความลื่นไหลเปลี่ยนแปลงเสมอ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการเปิดเรื่องได้รับการแก้ไขจากเดิม ถ้าคุณเริ่มต้นเรื่องด้วยโรแมนซ์ แต่พอกลางเรื่องเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ฉากเปิดเรื่องของคุณควรจะเป็นฉากเสียดสี คุณต้องตรวจสอบสิ่งนี้ตลอดเวลา

  • ข้อมูลพื้นฐานถูกต้องแล้วหรือยัง

เช่นเดียวกับประเภทนิยายที่คุณเขียน เมื่อตัวเรื่องได้พัฒนาไปข้างหน้า ฉากของเรื่องเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน โลกที่สร้างขึ้นในตอนแรกอาจจะมืดมน แต่ตอนจบมันเปลี่ยนไปหรือไม่ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้เปลี่ยนแปลงจุดนี้จนเขียนไม่ตรงกัน ทั้งหมดนี้รวมถึงตอนเปิดเรื่องของคุณด้วย รายละเอียดต่างๆ ที่ใส่ลงไปสมเหตุสมผลเพียงใด เมื่อพิจารณาจากโลกนิยายที่คุณสร้างขึ้นมา

  • บุคลิกของตัวละครสอดคล้องกันหรือไม่

เมื่อตัวละครเติบโตขึ้น และเปลี่ยนไปตามเนื้อเรื่อง มันควรจะมีความเชื่อมโยงที่ต่อเนื่องกัน การที่ตัวละครแต่ละตัวรู้จักกัน ตรวจสอบทุกตัวที่ปรากฏในฉากเปิดเรื่อง พวกเขาแสดงลักษณะที่สอดคล้องกับพฤติกรรม และตัวละครที่เหลือก็จะต้องดำเนินไปในแนวทางเดียวกันด้วย

จำเอาไว้ว่า การแก้จุดเริ่มต้นของนิยาย เป็นกระบวนการต่อเนื่อง กุญแจสำคัญคือ เมื่อคุณลงมือทำแล้ว สามารถแก้ไขไปได้เรื่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าใช่ การแก้ไขบางครั้งใช้เวลานาน หรือบางครั้งอาจจะมากกว่าเวลาที่คุณเขียน แม้ว่าคุณจะเริ่มฉากแรกได้สำเร็จ แต่นิยายยังต้องเขียนต่อไปให้จบ

แน่นอน เรามีประเด็นอื่นๆ เกี่ยวกับการเขียนมากมาย และผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์ทั้งจากนักเขียนรุ่นใหม่ หรือนักเขียนที่มีประสบการณ์แล้ว นอกจากนั้นผมยังได้สร้างเทมเพลต หรือรูปแบบต้นฉบับให้กับผู้อ่าน เพื่อจะนำไปสร้างต้นฉบับที่ได้มาตรฐานสำหรับส่งให้สำนักพิมพ์พิจารณา โดยสามารถดาวโหลดได้ฟรีเพียงลงทะเบียน Email ด้านล่าง จากนั้นก็ Confirm อีเมลจากอีเมลของคุณ ดูให้แน่ใจว่าบางครั้งจดหมายคอนเฟิร์มอาจจะไปลงในตะกร้า Spam ของคุณ เมื่อคุณคอนเฟิร์มแล้ว อีเมลดาวโหลดเทมเพลตจะส่งให้คุณทันที ด้วยขั้นตอนง่ายๆ เท่านี้ ขอให้เขียนอย่างมีความสุข

Manuscript Template

ฟรีดาวน์โหลด

อย่าปล่อยให้ต้นฉบับที่ยุ่งเหยิงทำลายเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ เริ่มต้นส่งต้นฉบับที่มีรูปแบบถูกต้อง คุณสามารถดาวน์โหลดเทมเพลตสำหรับสร้างต้นฉบับทั้งนวนิยาย และเรื่องสั้น เพื่อนำไปใช้กับต้นฉบับของคุณ เทมเพลตนี้จะช่วยให้ต้นฉบับของคุณดูเป็นมืออาชีพมากขึ้นเมื่อส่งต้นฉบับไปให้สำนักพิมพ์พิจารณา อย่ามองข้ามเรื่องเล็กน้อยนี้ และทำให้ต้นฉบับของคุณอยู่ในสายตาของบรรณาธิการอย่างถูกต้อง

ขั้นตอนง่ายๆ เพียงลงทะเบียนเพื่อที่เราจะส่งเทมเพลตให้คุณทางอีเมล์ เมื่อคลิก Download Now แล้ว ขอให้เช็คที่อีเมล์ที่คุณลงทะเบียน หากไม่พบใน Inbox คุณอาจจะลิงค้นหาใน Spam Box จากนั้นดาวน์โหลดจากลิงค์ หรือคลิกที่ PDF ที่แนบมา

Leave a Comment

You may also like

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More