Home Literature Hamlet Analysis – แฮมเล็ต แปลไทย – วิเคราะห์  Tone และ Genre ของ Hamlet

Hamlet Analysis – แฮมเล็ต แปลไทย – วิเคราะห์  Tone และ Genre ของ Hamlet

by Niwat Puttaprasart
678 views 4 mins read

เชคสเปียร์ เป็นผู้บุกเบิกที่ก้าวล้ำในยุคของเขาและเขียนบทละครที่แตกต่างจากสิ่งที่โลกเคยเห็นมาก่อนโดยสิ้นเชิง เขาสำรวจจิตวิญญาณของมนุษย์และสร้างสรรค์สิ่งที่ท้าทาย นอกจากนี้ เขายังทดสอบขีดจำกัดทางภาษา โดยคิดค้นคำและวลีใหม่ๆ ขึ้นมา (ไม่ว่าเราจะต้องการตัวอย่างหรือไม่เช่น “eaten out of house and home” หรือ “one fell swoop”) ในวาระที่สำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม นำเสนอ แฮมเล็ต แปลไทย – Hamlet แปล – บทความนี้นำเสนอบทสรุป บทวิเคราะห์ โดยเน้นไปที่ Tone และ Genre โดยเฉพาะในความเป็น บทละคร โศกนาฏกรรม และ โศกนาฏกรรมการแก้แค้น ที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวอีกด้านหนึ่งของ แฮมเล็ต


เรื่องราวเกี่ยวกับ Hamlet 

แฮมเล็ตมีหลายสิ่งที่ได้รับการกล่าวขานมากที่สุด และตัวละครแฮมเล็ตน่าจะเป็นตัวละครที่โด่งดังที่สุดของเชคสเปียร์ รวมถึงวลีที่ฮิตมากที่สุดวลีหนึ่งในโลกวรรณกรรม To be or not to be, that is the question: จักคงชีวิตหรือมรณา, นั่นคือปุจฉา (3.1.146)

บทละครเรื่องนี้เป็นเรื่องราวขององค์ชายแฮมเล็ต ที่ไม่เหมือนองค์ชายองค์ใดในโลก ประการแรกเขาไม่ใช่นักปาร์ตี้ ไม่มีฮาเล็ม และออกไปในทางปัญญาชนมากกว่าพระบรมวงศานุวงศ์ทุกคนในวงวารของเขา 

แฮมเล็ตเริ่มเรื่องเมื่อวิญญาณที่คล้ายกษัตริย์องค์ก่อนออกมาปรากฏให้ทหารยามเห็นที่กำแพงวัง โฮเรโชเพื่อนสนิทของแฮมเล็ตถูกตามตัวให้ไปสังเกตการณ์ และเขานำเรื่องนี้ไปบอกแฮมเล็ต จนเขาต้องไปพบวิญญาณด้วยตนเอง

เมื่อแฮมเล็ตได้พบวิญญาณ เขาตกใจเมื่อวิญญาณต้องการให้เขาแก้แค้น เพราะถูกฆาตกรรมจากคลอเดียสน้องชายของตัวเองด้วยยาพิษ ถ้าเราเป็นแฮมเล็ตจะทำอย่างไรกับเหตุการณ์แบบนี้

สำหรับแฮมเล็ตเขาคิดวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน หลังเจอวิญญาณที่ขอร้องให้เขาช่วยแก้แค้น เพื่อกลบเกลื่อนการค้นหาความจริงเรื่องฆาตกรรม เขาจึงแกล้งเป็นบ้า หรือเป็นบ้าไปจริงๆ จนคนรอบข้างคิดว่าเขาเสียสติไปแล้ว เขาจ้างคณะละครมาเล่นเลียนแบบฉากฆาตกรรม เขาถูกโอฟีเลียทิ้งเพราะพี่ชาย (เลแอร์ทีส) และพ่อของเธอ (โพโลเนียส) กีดกัน แฮมเล็ตกล่าวหาว่าแม่ทรยศกับครอบครัว 

ระหว่างที่แฮมเล็ตกำลังถกเถียงอยู่กับแม่ เสียงดังลั่นเหมือนจะทำร้ายกัน โพโลเนียสที่แอบซ่อนเพื่อฟังบทสนทนาทำให้ม่านกระเพื่อม แฮมเล็ตคิดว่าเป็นหนู เขาแทงเข้าไปในม่านและสังหารโพโลเนียสจนตาย 

หลังจากสังหารโพโลเนียส คลอเดียสส่งแฮมเล็ตไปอังกฤษ ภารกิจนี้เขาต้องตาย แฮมเล็ตวางแผนซับซ้อนเพื่อเอาตัวรอดจากแผนการฆ่า ถ้าแฮมเล็ตรอด แน่นอนเป้าหมายของเขาคือสังหารคลอเดียส อาและพ่อบุญธรรม ซึ่งเขาต้องทำให้สำเร็จ


ละครในอดีต

เสียงก้องสะท้อนในประวัติศาสตร์อื่นๆ เมื่อ Kenneth Branagh (นักแสดงและผู้กำกับชาวอังกฤษ) ถ่ายทำ Hamlet ในปี ค.ศ. 1996 เขาได้คัดเลือกนักแสดงรุ่นใหญ่อย่าง Charlton Heston แสดงเป็นนักแสดงละครบทบาทราชัน การเลือกนักแสดงรุ่นเก่าไม่ใช่ทางเลือกที่ตกยุค แต่เป็นการยกย่องสไตล์การแสดง และเฮสตันเป็นพระเอกของคนรุ่นก่อน 

เชคสเปียร์ดูเหมือนจะทำบางอย่างที่คล้ายกันในการเขียนบทละคร เขาดึงเอาแนวโศกนาฏกรรมการแก้แค้นที่ได้รับความนิยม โดยนำละครเรื่องดังอย่าง The Spanish Tragedy (ค.ศ. 1590) ของโธมัส ไคด์ (Thomas Kyd) มาเป็นรากฐานในการดัดแปลง ดูเหมือนว่าเชคสเปียร์จะเล่นกับวิญญาณและความคิดภายในบทละคร

ตัวเอกของโศกนาฏกรรมสเปนชื่อโฮเรชิโอ และมีตัวละครหญิงคนหนึ่งที่เสียสติเต็มไปด้วยความเศร้าโศกและฆ่าตัวตาย บทละครของไคด์ กำหนดพันธะทางอารมณ์และอุดมการณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูก ซึ่งใกล้เคียงกับความบ้าคลั่ง การไว้ทุกข์ และการแก้แค้นของแฮมเล็ต

เชคสเปียร์ดึงเอาส่วนที่น่าสนใจมาทำกับละครของเขา แฮมเล็ตเป็นการแสดงความเคารพต่องานของไคด์ เช่นเดียวกับองค์ชายแฮมเล็ต เราอาจกล่าวได้ว่าแฮมเล็ตเป็นบทละครที่ได้รับการหลอกหลอนจากบรรพบุรุษที่ประสบความสำเร็จมากกว่าตัวละครใดในยุค แฮมเล็ตมีความโดดเด่นเป็นตัวของเตัวเอง สำหรับเราภาพสัญลักษณ์ของแฮมเล็ต คือหัวกะโหลก หรือโควตที่ดังที่สุด “จักคงชีวิตหรือมรณา'” (3.1.146) 

สำหรับคนในยุคเอลิซาเบธ บทละครที่น่าจดจำที่สุดคือของไคด์ โวหารของผู้แก้แค้น Hieronimo “โอจักษุไม่มีจักษุ แต่น้ำพุเต็มไปด้วยน้ำตา” 

วิญญาณที่แท้จริงของแฮมเล็ตคือละครในอดีต


ใครแสดงเป็น แฮมเล็ต 

แฮมเล็ตเป็นตัวละครที่ซับซ้อนมากที่สุดตัวหนึ่งในโลกวรรณกรรม นักแสดงที่รับบทแฮมเล็ตล้วนแล้วต้องได้รับการคัดสรรค์มาไม่ต่างจากการคัดตัวนักกีฬาทีมชาติเพื่อไปแข่งโอลิมปิก 

  • ริชาร์ด เบอร์บาร์จ (Richard Burbage) (นักแสดงดั้งเดิมจากยุคเชคสเปียร์) 
  • Sarah Bernhardt (นักแสดงผู้หญิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง)
  • Sir Laurence Olivier (แฮมเล็ตในจอเงินที่เราคุ้นเคยที่สุด)
  • Ralph Fiennes (ที่รู้จักกันดีในบท Voldemort)
  • Sir Ian McKellen (ที่รู้จักกันดีในบทของกัลดาร์ฟ)
  • Kenneth Branagh
  • Mel Gibson
  • Ethan Hawke
  • Jude Law

เชคสเปียร์ไม่ได้คิดเรื่องแฮมเล็ตขึ้นมาเองทั้งหมด คนในศตวรรษที่ 16 ไม่ได้มีแนวคิดเกี่ยวกับ “ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แบบเดียวกับคนในยุคปัจจุบัน เขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องอื่นๆ หลายเรื่อง เรื่องราวของแฮมเล็ตย้อนหลังไปอย่างน้อย ถึงศตวรรษที่ 9 เนื้อหาเกี่ยวกับ  “Amleth” (ฟังดูคุ้นๆ ไหม) เรื่องราวเกี่ยวกับชายหนุ่มที่แกล้งบ้าเพื่อล้างแค้นให้กับการฆาตกรรมของพ่อ หนังสือรวมนิทานเรื่องนี้รวมอยู่ใน Saxo the Grammarian ในศตวรรษที่ 12 และต่อมา François de Belleforest แปลเรื่องราวจากภาษาละตินเป็นภาษาฝรั่งเศสใน Histoires Tragiques (ค.ศ. 1570) เชคสเปียร์คงได้อ่านจากฉบับนี้ 

มีผู้เจริญรอยตามเชคสเปียร์จำนวนไม่น้อย พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจจากแฮมเล็ตมากมาย นั่นรวมไปถึงผู้กำกับภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น อาคิระ คุโรซาวะ ใน Bad Sleep Well หนังของดิสนีย์เรื่อง The Lion King รวมถึงบทภาพยนตร์ดัดแปลงในยุคมิเลเนียมเรื่อง Hamlet ที่นำแสดงนำโดยอีธาน ฮอร์ก และอีกหลายเรื่องทั้งในโลกภาพยนตร์ โทรทัศน์ รวมถึงยูทูป


แฮมเล็ตเกี่ยวกับอะไรและทำไมต้องสนใจ

โดยข้อเท็จจริงแฮมเล็ตกำลังเผชิญหน้าเหมือนกับวิกฤตวัยรุ่นทุกคน แน่นอนเขาไม่ได้ย้อมผมสีทอง ไม่ติดรูปนักร้องเพลงป๊อปเต็มผนัง แต่เขาเริ่มใส่ชุดดำและพูดกับตัวเองบ่อยๆ ซึ่งเทียบเท่ากับการทำวิดีโอไดอารี่ในศตวรรษที่ 16 เขาชอบผู้หญิงที่อาจนอกใจ เขาไม่ชอบผู้ชายที่แม่แต่งงานใหม่ และเขารู้สึกกดดันอย่างมากที่จะต้องทำตามความคาดหวังของพ่อ

กล่าวอีกนัยหนึ่ง แฮมเล็ตก็เหมือนกับเรา แน่นอนว่าเขามีปัญหาใหญ่กว่า (เพราะเขาพบวิญญาณผี) แต่ชีวิตภายในลึกลับของเขา ไม่ต่างจากรถไฟเหาะแห่งอารมณ์ การดิ้นรนเพื่อค้นหาว่าจะทำอย่างไรกับชีวิต ความรู้สึกที่ขัดแย้งกับพ่อแม่ – นี่คือสิ่งที่นวนิยายทุกยุคทุกสมัย (และหนังจำนวนมาก) นำมาสร้าง นำมานำเสนอ ต่อผู้อ่านและผู้ชม

หากต้องการให้พูดถึงแฮมเล็ตในแนววิชาการ Hamlet เป็นจุดเริ่มต้นของวรรณกรรมแนวใหม่ที่มุ่งเน้นไปที่การต่อสู้และความขัดแย้งภายในบุคคลคนเดียว มากกว่าความขัดแย้งภายนอกระหว่างบุคคล หรือพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นไปอีก ควรจะกล่าวว่าบทละครเรื่องแฮมเล็ตอาจเป็นบทละครที่นำเสนอภาพคนสมัยใหม่คนแรกของวรรณคดีตะวันตก—หรือวัยรุ่นยุคใหม่นั่นเอง แต่นั่นคือ 400 ปีก่อน

เรื่องราวที่เกิดขึ้นในแฮมเล็ตของเชคสเปียร์มักได้รับการเปรียบเทียบถึงยุคปัจจุบัน ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางจิตวิทยาต่อการพรรณนาถึงความแปลกแยกขององค์ชายแฮมเล็ต นักวิจารณ์หลายคน อย่างโคเลอริดจ์, มาร์กซ์ รวมถึงซิกมันน์ ฟรอยด์ ต่างมองว่าบทละครเป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจโลกของพวกเขาเอง 


Hamlet Analysis

hamlet

ผู้สืบตระกูล

เงื่อนไขส่วนตัวของแฮมเล็ตสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลทางการเมืองในยุคนั้น ด้วยเหตุผลบางอย่างที่บทละครไม่เคยอธิบายได้ครบถ้วน ทำไมทายาทชายที่เป็นลูกชายคนโตจึงไม่ได้สืบทอดบัลลังก์ต่อจากพ่อของเขา 

บทละครจำเป็นต้องบอกเล่าเรื่องราวเชิงสัญลักษณ์ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 มีประเด็นที่ไม่อาจพูดได้เช่นเดียวกับการเซ็นเชอร์ในเมืองไทย คำถามนั่นคือว่าใครจะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากควีนเอลิซาเบธ (Queen Elizabeth) ที่ยังไม่อภิเสกสมรส 

การพูดคุยถึงการสืบทอดตำแหน่งราชาโดยตรงถือเป็นอาชญากรรม แต่โรงละครสามารถสะท้อนภาพคู่ขนานไปด้วยกันได้ และด้วยวิธีนี้ บทละครของเชคสเปียร์เรื่องแฮมเล็ต จึงเหมือนวิชาประวัติศาสตร์อังกฤษ ที่พยายามมองหาประเด็นที่คล้ายกันมาเทียบเคียง

การอุบัติซ้ำของการแก้แค้น และความทรงจำ

ส่วนหนึ่งที่แฮมเล็ตต้องติดอยู่ในสภาวะหยุดนิ่ง เป็นเรื่องภาวะทางจิตวิทยา เขากำลังเศร้าโศกต่อการจากไปของพ่อ และระลึกถึงอดีตที่ล่วงลับ วิญญาณของกษัตริย์แฮมเล็ตเป็นภาพจำลองอันทรงพลังในการเล่าเรื่องย้อนอดีต การติดอยู่ในแดนชำระ (สถานที่วิญญาณต้องไปสถิตหลังความตายสำหรับชาวคาทอลิก บาปทางโลกจะต้องได้รับการชดใช้) ในขณะที่ “ความผิดบาปอันเคยกระทำในช่วงชีวิตของข้า” การกระทำในอดีตของวิญญาณ “จักมอดไหม้และถูกชำระ” (1.5.70) 

ข้อเรียกร้องของวิญญาณที่มีต่อลูกชาย เกิดขึ้นในนามของอดีต “หากเจ้ายังเคยรักบิดา ผู้เป็นที่รักของเจ้า…จงล้างแค้นฆาตกรรมอันต่ำช้าและขัดธรรมชาติของข้า” (1.5.71)

การอุบัติซ้ำกลับมาแก้แค้นนั้นก้องขึ้นมาอีกครั้งด้วยคำสั่งที่สองของวิญญาณ ก่อนที่จะจากลา “จงจดจำข้า” (1.5.75) 

การแก้แค้นเหมือนกับการหวนสู่ความทรงจำ ทั้งสองอย่างเป็นการอุบัติซ้ำ และเป็นการยกระดับเรื่องที่เกิดขึ้น ไม่ต่างจากการเล่นซ้ำภาพและการกลับไปเล่าช่วงเวลาจากอดีตของตัวเอง เช่น ตอนที่ทหารยามมองเห็นวิญญาณ หรือตอนที่เลแอร์ทีสหุนหันเข้าไปที่ท้องพระโรงของราชสำนัก ความทรงจำเกี่ยวกับการลอบปลงพระชนม์หวนขึ้นมา

– ฉากสังหารราชา – ได้อุบัติขึ้นอีกครั้ง เมื่อนักแสดงละครเด็กที่เข้ามาเล่นละครซ้อนละครในเรื่อง “‘กับดักหนู’… เป็นเชิงอุปมา ละครเรื่องนี้เป็นเหตุการณ์จำลองของฆาตกรที่ฆ่าคนในเวียนนา” (3.2.173)

ฟอร์ทินบราสลูกชายของราชาฟอร์ทินบราส แฮมเล็ตลูกชายของราชาแฮมเล็ต ทั้งสองเป็นเสียงสะท้อนแนวคิดทางการในเรื่องแฮมเล็ต ทั้งสองต้องดิ้นรนกับมรดกทางอารมณ์จากบรรพบุรุษที่มีต่ออำนาจของพวกเขา 

บทละครแฮมเล็ตคล้ายกับหนังสืบสวนสอบสวน เนื่องจากแฮมเล็ตต้องมีการไขปริศนา เมื่อมีการ – สิ้นพระชนม์ของกษัตริย์ – และเกิดความขัดแย้งในอดีต หนังประเภทนักสืบจะต้องดำเนินการสืบสวนย้อนหลัง ความทรงจำดังก้องอยู่ในละครที่หมกมุ่นอยู่กับอดีต ซึ่งแฮมเล็ตต้องการค้นหาความจิง

เมื่อฟอร์ทินบราสก้าวไปข้างหน้าในตอนท้ายเพื่อขึ้นครองบัลลังก์ที่ว่างเปล่าของเดนมาร์ก เขาทำเช่นนั้นในนามของประวัติศาสตร์ “ข้าถือสิทธิ์ตามขนบบางประการในอาณาจักรแห่งนี้, ซึ่งบัดนี้, โอกาสได้เชื้อเชิญข้าให้อ้างสิทธิ์ของตน” (5.2.311)

การแสดงละครเป็นเครื่องมือทางนิติเวช

ในฐานะนักสืบ เครื่องมือทางนิติวิทยาศาสตร์ของแฮมเล็ตคือการแสดงละคร “ละครเรื่องนี้แล จักเป็นสิ่งที่ ข้าใช้ตรวจสอบความผิดชอบของราชัน” (2.2.139) 

รสนิยมของแฮมเล็ตชอบบทละครย้อนยุคอย่างไม่ต้องสงสัย รูปแบบบทละครที่เขาเลือกมาเล่นคือ “ฆาตกรแห่งกอนซาโก” ละครเรื่องนี้คล้ายกับละครย้อนยุค ล้าสมัยไปเกือบ 50 ปีก่อนโดยแยกเรื่องราวออกเป็นการแสดงล้อเลียนตามด้วยการร่ายฉันทลักษณ์ 

บทละครกอร์โบดุก (Gorboduc) ซึ่งแสดงให้ควีนอลิซาเบธชมในช่วงปีแรกๆ ในรัชกาลของเธอ เป็นตัวอย่างที่คล้ายกัน สำหรับผู้ชมละครในปี ค.ศ. 1601 เรื่องนี้อาจดูล้าสมัยเหมือนรายการโทรทัศน์ยุคขาวดำของเราในยุคนี้ และละครช่วยกระตุ้นให้ผู้เล่นจำคำพูดเกี่ยวกับหายนะแห่งกรุงทรอยได้ 

แฮมเล็ตมองย้อนกลับไปสู่ตำนานเริ่มต้นของ Virgil จาก Aeneid มหากาพย์คลาสสิกที่เล่าเรื่องราวการก่อตั้งกรุงโรมของ Aeneas นอกจากนี้ยังมีช่องว่างในการแลกเปลี่ยนเรื่องตลกเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับอดีตที่ใกล้กว่านั้นด้วย 

ความทรงจำของโพโลเนียสที่เคยแสดงละครเรื่อง Julius Caesar “ข้าเล่นเป็นจูเลียส ซีซาร์ ข้าต้องถูกฆ่าในอาคารสภา บรูตัสสังหารข้า” (3.2.162) ละครเรื่องนี้ช่วยเตือนความทรงจำถึงละครเรื่องอื่นของเชคสเปียร์ที่บริษัทคิงส์เมนเคยจัดแสดงเมื่อสองสามปีก่อน ที่มีนักแสดงกลุ่มเดียวกันเล่น 

บทบาท ชื่อเรื่อง แนวความคิดเรื่องโรมโบราณยังคงปรากฏให้เห็นในละคร โฮเรโชต้องการดื่มถ้วยยาพิษในฉากสุดท้ายเนื่องจาก “ข้ากลับคล้ายชาวโรมโบราณมากกว่าเดนมาร์ก” (5.2.307) 

อดีตและภาระความผูกพัน รวมถึงข้อตกลงมีอยู่ทุกหนทุกแห่งในแฮมเล็ต

การปฏิรูป

แง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์ในอดีตที่ไม่สงบนั้นอาจเป็นเพราะนิกายโรมันคาทอลิกของอังกฤษปฏิเสธในการปฏิรูป การเคลื่อนไหวทางศาสนาและวัฒนธรรมของศตวรรษที่ 16 ทำให้คริสตจักรคริสเตียนแตกแยก นักวิจารณ์หลายคนตั้งข้อสังเกตว่าแฮมเล็ตเลาะเลียบความแตกแยกทางเทววิทยาของวัฒนธรรมสมัยใหม่ในยุคแรกโดยพรรณนาถึงแฮมเล็ตที่ได้รับการศึกษาที่วิตเทนเบิร์ก 

มหาวิทยาลัยที่วิตเทนเบิร์กมีความเกี่ยวข้องอย่างแยกกันไม่ออกกับมาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther) นักปฏิรูปนิกายโปรเตสแตนต์ แดนชำระมีอยู่จริงหรือไม่ก็ตามวิญญาณเป็นประเด็นของการโต้เถียงทางเทววิทยาในขณะนั้น 

บทละครเรื่องแฮมเล็ตเป็นการแสดงทั้งความเชื่อในแดนชำระอาจกลับมา และความเข้าใจภายหลังการปฏิรูปเรื่องความตายว่าเป็น “หากไม่ใช่ว่าหวาดกลัวโลกหลังความตาย ดินแดนที่ยังไม่ถูกพบ, ไม่มีนักเดินทางคนไหน เคยได้กลับจากเขตคามแห่งนั้น” (3.1.147) 

วิญญาณในแฮมเล็ตเป็นกลอุบายในละคร โดยส่งเสียงลากโซ่กระทบกันจากใต้ดิน “จงสาบาน” (1.5.81) เสียงดังจากใต้เวที  นี่เป็นประจักษ์พยานต่อสายตาที่เจ็บปวด การมรณกรรมของเชคสเปียร์ เราสามารถเห็นน้ำเสียงที่ย้อนรำลึกถึงละครได้ในแง่ความเข้าใจ หลังการปฏิรูปของอดีตคาทอลิกที่แปลกแยก

กะโหลกศีรษะ

ไม่น่าแปลกใจที่บทละครทั้งหมดได้รับการกลั่นกรองให้กลายเป็นภาพเดียว ภาพแฮมเล็ตเผชิญหน้ากับกะโหลกศีรษะ 

แน่นอนว่าเมื่อเราเห็นภาพกะโหลกศีรษะ เรามักเชื่อมโยงสัญลักษณ์เข้ากับความตาย – กะโหลกเป็นวัตถุที่เก็บไว้เพื่อเตือนใจถึงความตายที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สิ่งนี้เป็นที่คุ้นเคยในศตวรรษที่ 16 และละครโศกนาฏกรรม

แต่กะโหลกศีรษะที่แฮมเล็ตถือว่าไม่ใช่ลางสังหรณ์แห่งความตาย แต่เป็นการเตือนความจำเฉพาะเรื่องในอดีต “โธ่, ยอริคที่น่าสงสาร! ข้ารู้จักเขา, โฮเรโช…เขาแบกข้าบนหลังนับพันรอบ” (5.1.272) รายละเอียดของความทรงจำมีผลกระทบและไม่เคยลืม

hamlet

Tone

มืด, ไม่แน่นอน, ครุ่นคิด, ทัณฑ์ทรมาน

นอกเหนือจากเรื่องตลกขบขันที่โอ้อวดของสัปเหร่อสองคน ฉากสุสานในองค์ที่ 5 และช่วงเวลาที่ขาดอารมณ์ขันอย่างจริงจังในบทละคร แฮมเล็ตเป็นบทละครดำมืดที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและความสงสัย มันเต็มไปด้วยคำถามมากมาย เริ่มจากบรรทัดแรก “นั่นใคร”? (1.1.21) เราถูกทิ้งให้อยู่ในโลกแห่งความไม่แน่นอน ความวิตกกังวล และความเป็นไปได้ว่าวิญญาณผีนั้นมีอยู่จริงหรือไม่

ไม่มีโลกที่สมบูรณ์แบบสำหรับตัวเอกของเรา เมื่อแฮมเล็ตนำเสนอบทพูดที่ครุ่นคิดและทรมาน เรื่องทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการตาย การทรยศ และความไร้ประโยชน์ของชีวิต เขานำเราเข้าสู่โลกทัศน์ที่ถูกทัณฑ์ทรมาน—ถ้าแฮมเล็ตต้องการปล่อยให้เราออกไปสู่อิสระ นั่นหมายถึงความตายของเขาเท่านั้นที่จะนำทางเราไป

Genre

โศกนาฏกรรมการแก้แค้น, โศกนาฏกรรม

“โศกนาฏกรรม” คือชื่อเรื่องแฮมเล็ต อย่างไม่ต้องสงสัย (โศกนาฏกรรมของแฮมเล็ต องค์ชายแห่งเดนมาร์ก) แต่แฮมเล็ตไม่ได้เป็นแค่ละครโศกนาฏกรรม แต่เป็นโศกนาฏกรรมการแก้แค้นแบบคลาสสิก ละครโศกนาฏกรรมการแก้แค้นเกิดขึ้นในอังกฤษในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 และต้นศตวรรษที่ 17 โดยได้รับอิทธิพลมาจากการดัดแปลงของโศกนาฏกรรมกรีกของเซเนกา (ค.ศ. 4 – 65) ช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา บทละครที่หายไปซึ่งนักวิชาการเรียกว่า Ur-Hamlet (ค.ศ. 1587) ของ Thomas Kyd ผู้มีชื่อเสียงเป็นพิเศษในด้านการเขียนละครโศกนาฏกรรมการแก้แค้น ซึ่งได้อิทธิพลมาจาก ‘โศกนาฏกรรมสเปน’  บทละครเรื่องนี้เป็นเสมือนบทละครบรรพบุรุษของเชคสเปียร์

องค์ประกอบของโศกนาฏกรรมการแก้แค้นใน แฮมเล็ต

ฆาตกรรมซ่อนเงื่อน: มีเงื่อนงำบางอย่างที่ต้องตรวจสอบ “บางสิ่งในอาณาจักรเดนมาร์กกำลังผุพัง” (1.4.68) และเราค้นพบว่าสิ่งที่ต้องตรวจสอบคืออะไรในองก์ 1 ฉาก 5 ราชาแฮมเล็ตองค์เก่าไม่ได้ตายเพราะถูกงูพิษกัด แต่เขาถูกคลอเดียสน้องชายจอมวายร้ายวางแผนเทยาพิษลงไปในหู ขณะที่ราชาแฮมเล็ตองค์เก่างีบหลับอยู่ในสวน เป็นไปได้ว่าเราอาจจะอ้างอิงฉากนี้จากพระคัมภีร์ไบเบิลว่าเกิดอะไรขึ้นในสวนเอเดน ลองนึกถึงสัญลักษณ์ จินตภาพ และอุปมา ที่แย่ไปกว่านั้นคลอเดียสยังแย่งมงกุฎไปครองเสียเอง แทนที่จะเป็นแฮมเล็ตองค์ลูก และเขายังช่วงชิงเกอร์ทรูดมาเป็นราชินี

เหยื่อฆาตกรรม: ไม่มีใครรู้ว่าแฮมเล็ตองค์เก่าถูกคลอเดียส น้องชายตัวเองฆ่า เป็นเพราะวิญญาณผีไปบอกแฮมเล็ตองค์ลูกหรือ? นอกจากนั้น ฉากที่คลอเดียสคุกเข่าภาวนาในองก์ 3 ฉาก 3 เขาสารภาพถึงการกระทำผิดของตน วิญญาณผีเรียกร้องให้แฮมเล็ตช่วยแก้แค้น เพราะเขาติดอยู่ในแดนชำระ (Purgatory) วิญญาณต้องการความช่วยเหลือจากแฮมเล็ต “จงฟัง แฮมเล็ต โอ จงฟัง…จงล้างแค้นฆาตกรรมอันต่ำช้าและขัดธรรมชาติของข้า”  (1.5.71) กล่าวอีกนัยหนึ่ง การล้างแค้นจะช่วยปลอดปล่อยให้วิญญาณไปสวรรค์

องค์ประกอบนี้เหมือนเราจะมาถูกทางแล้ว เหยื่อฆาตกรรมต้องการให้แฮมเล็ตล้างแค้น แต่มีบางอย่างแปลกๆ ใช่ไหม แฮมเล็ตก็เช่นกัน เขาไม่แน่ใจว่าวิญญาณตนนี้เป็นพ่อของเขาจริงๆ หรือไม่ และเขาต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้นก่อนลงมือกระทำการใดๆ 

พระเอกต้องการแก้แค้น เมื่อเขาตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว เขาต้องการฆ่าคลอเดียสจริงๆ ขณะเดียวกันแฮมเล็ตต้องการเกอร์ทรูด แต่วิญญาณสั่งให้ทิ้งเธอไป นี่คือสิ่งที่แยกแฮมเล็ตต่างจากละครโศกนาฏกรรมเรื่องอื่นๆ และทุกๆ บทละครที่เราเคยอ่านมา แฮมเล็ตต้องการเวลาเพื่อการแก้แค้น เขาไม่ได้ต้องการฆ่าคลอเดียสในทันที

การวางแผน การปลอมตัว การวางอุบาย และผลที่ตามมา: เมื่อวิญญาณปรากฏ การวางแผนและวางอุบายเริ่มต้นขึ้น! แฮมเล็ตค่อนข้างแน่ใจว่าเขาเชื่อในสิ่งที่วิญญาณมาบอก (หรือเขาอยากจะเชื่อวิญญาณจริงๆ) แต่เขาต้องการความมั่นใจ เลยแสร้งทำตัวว่าเป็นคนบ้า 

พฤติกรรมแปลกๆ ของแฮมเล็ตทำให้ทุกคนพยายามหาคำตอบว่าทำไมเขาถึงทำตัวแปลกๆ คลอเดียสเรียกโรเซ็นแครนท์และกิลเด็นสเติร์น เพื่อนสมัยเด็กของแฮมเล็ตมาเข้าเฝ้าเพื่อสอดแนมแฮมเล็ต ขณะที่โพโลเนียสใช้โอฟีเลียเป็นเหยื่อล่อแฮมเล็ต ในฉากที่โพโลเนียสซ่อนตัวอยู่หลังผ้าม่านในห้องของเกอร์ทรูดเป็นการสอดแนมแฮมเล็ตโดยตรง แฮมเล็ตใช้การแสดงละครเกี่ยวกับการฆาตกรรมเพื่อสืบหาข้อเท็จจริงว่าราชันคือฆากรหรือไม่ และฉากอื่นๆ เป็นการวางแผนและวางอุบายมากมาย

ความบ้าคลั่ง (จริงและ/หรือแกล้งทำเป็น): หากตั้งข้อสังเกต แฮมเล็ตแสร้งทำเป็นบ้า แต่บทละครแสดงให้คิดด้วยว่าจริงๆ แล้วแฮมเล็ตเข้าสู่ความวิกลจริตจริงหรือไม่ ในขณะเดียวกันโอฟีเลียแสดงให้เห็นว่าเธอเสียสติจริงอย่างชัดเจนหลังพ่อของเธอตาย

จำนวนศพที่เพิ่มขึ้น: จำนวนศพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ศพแรก โพโลเนียส เขาอยู่หลังม่านในห้องของเกอร์ทรูด แฮมเล็ตคิดว่าหลังม่านนั้นเป็นคลอเดียสเสียด้วยซ้ำ ศพที่สอง โอฟีเลีย เธอเสียสติ กลายเป็นบ้า จมน้ำตาย จะเป็นการฆ่าตัวตาย หรืออุบัติเหตุ ไม่มีใครรู้ 

ศพต่อมา โรเซนแครนซ์และกิลเดนสเติร์น เมื่อแฮมเล็ตฆ่าโพโลเนียส คลอเดียสส่งแฮมเล็ตไปอังกฤษเพื่อสังหารอย่างลับๆ แต่แฮมเล็ตซ้อนแผนฆ่าโรเซนแครนซ์และกิลเดนสเติร์นที่ตามไปแทน

นอกจากนั้นยังไม่นับรวมว่ากองทัพของฟอร์เทนบราสสังหารคนสองข้างทางไปเท่าไหร่ในสนามรบ แม้ว่าเราจะไม่เห็นสิ่งนี้บนเวที

ฉากสุดท้ายในท้องพระโรง การนองเลือดครั้งใหญ่ ผู้ชมจำต้องสวมชุดกันฝน เพราะเวทีนองไปด้วยเลือด

ความรุนแรงปะทุขึ้นเมื่อเลแอร์ทีสต้องการแก้แค้นให้โพโลเนียส คลอเดียสจัดการดวลดาบให้กับคนทั้งสอง เขาเตรียมการเอาไว้เพื่อให้แน่ใจว่าแฮมเล็ตจะต้องตายโดยดาบเคลือบยาพิษของเลแอร์ทีส นอกจากนั้นยังแอบใส่ยาพิษในแก้วไวน์ของแฮมเล็ต เพื่อที่เขาจะได้ดื่มเวลาดวลชนะ โดยเพิ่มเดิมพันโดยใส่ไข่มุกลงไปในแก้วไวน์

ดาบฟันโดนแฮมเล็ต การต่อสู้ยังดุเดือด ดาบของคนทั้งสองสลับกันเลแอร์ทีสโดนฟันบ้าง เกอร์ทรูดดื่มไวน์ในแก้ว คลอเดียสถูกแทงด้วยดาบ แต่คลอเดียสคิดว่ายังทนพิษบาดแผลไหว แฮมเล็ตจึงกรอกไวน์พิษที่เหลือลงไปในปากคลอเดียส สุดท้ายแฮมเล็ตก็สิ้นใจเป็นคนสุดท้าย เวทีนองไปด้วยเลือด แน่นอนว่านี่คือละครโศกนาฏกรรมการแก้แค้นขนานแท้


hamlet แฮมเล็ต แปลไทย

เกิดอะไรขึ้นในตอนจบของ แฮมเล็ต

ในตอนจบของแฮมเล็ตโศกนาฏกรรมการแก้แค้น พื้นเวทีนองไปด้วยเลือด

ราชสำนักถูกกวาดล้างไปจนหมด ขณะที่องค์ชายฟอนทินบราสกำลังก้าวสู่บัลลังก์ แน่นอนว่าเขาจะกลับมาฟื้นฟูราชสำนักต่อไปในอนาคต

โฮเรโชเป็นคนเดียวที่รอดพ้นจากการสังหารหมู่ครั้งนี้ และเขาสัญญาว่าจะเป็นผู้เล่าโศกนาฏกรรมครั้งนี้ตามคำปฏิญาณ “ราตรีสวัสดิ์, องค์ชายรูปงาม, ขอให้ทวยทูตสวรรค์ขับกล่อมท่านสู่นิทรา“ (5.2.309)

โฮเรโช (Horatio) ตามความหมายในภาษาละตินแปลว่า “นักโต้วาที” หากตีความจากความตายและการมีชีวิตรอดของแฮมเล็ต ด้วยถ้อยคำที่สง่างามที่สุด เสียงของทูตสวรรค์จะขับกล่อมยามนิทรา ดูเหมือนว่าโฮเรโชกำลังกล่อมแฮมเล็ตให้ไปสู่ ​​”การพักผ่อน” บนสวรรค์ ฉากนี้เชคสเปียร์ต้องการเชื่อมโยงชีวิตหลังความตายชั่วนิรันดร์ของแฮมเล็ตอย่างชัดเจน เสียงนางฟ้าที่ “ขับกล่อม” กับการบอกเล่าเรื่องราวที่โฮเรโชทำอยู่ในขณะนี้ เมื่อเรื่องราวของแฮมเล็ตได้รับการเล่าขาน ชีวิตของแฮมเล็ตจึงดำรงค์อยู่ชั่วนิรันดร์

และเมื่อพิจารณาจากความนิยมของแฮมเล็ต เชคสเปียร์ก็ดูเหมือนจะเป็นฝ่ายถูก


บรรณานุกรม

Hamlet Resources , Websites : Amleth, Prince of Denmark


About the illustrator

ลิปดา. (she/her/them)


บทความอื่นๆ เกี่ยวกับแฮมเล็ต

Leave a Comment

You may also like

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More