Home Art & Culture ความโดดเดี่ยวของนักวิ่งระยะไกล

ความโดดเดี่ยวของนักวิ่งระยะไกล

by niwat59
121 views

Review: ความโดดเดี่ยวของนักวิ่งระยะไกล คือผลงานเล่มแรกของนักเขียนหนุ่มนาม วิกรานต์ ปอแก้ว เขาเริ่มต้นจากการเป็นนักอ่าน ก่อนจะพัฒนามาสู่นักเล่าเรื่องทางตัวอักษร ผลงานของเขาผ่านการตีพิมพ์ตามหน้านิตยสาร ผ่านสนามรางวัลมาหลายสนาม จนในที่สุดผลงานเล่มแรกของเขาจึงปรากฏขึ้นในนามสำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม ชีวิตของเขาก็เหมือน นักวิ่ง ที่ต้องวิ่งไปสู่จุดหมาย

รวมเรื่องสั้นเล่มนี้นำเสนอเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ความรัก ความหวัง ความโดดเดี่ยว ความสัมพันธ์ที่ไม่อาจไปถึง การต่อสู้เพื่อการยอมรับต่อเพศสภาพ รวมไปถึงเรื่องราวทางสังคม และประวัติศาสตร์การเมืองผ่านมุมมองเจเนอเรชั่นใหม่ เป็นการส่งทอดเรื่องราวเจ็บปวดแสนอ่อนหวานไปสู่บริบทใหม่ เป็นหนังสือที่ท่านผู้อ่านจะตกหลุมรักได้อย่างไม่ยาก ด้วยลีลาการเขียนด้วยภาษาเรียบง่าย ทว่าสลักสลวยด้วยถ้อยคำกินใจ

Review

อุบัติเหตุนอกเฟรมภาพจากความโดดเดี่ยวของนักวิ่ง: วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา

ความโดดเดี่ยวของนักวิ่งระยะไกล (วิกรานต์ ปอแก้ว)
A +++++++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++++++++

“หลุมดำกลางจักรวาล  (A30+) โรแมนติกสัสบันทึกของอรชุนA30+ชายหนุ่มผู้ถูกสาปให้ตกหลุมรักชั่วชีวิต A30+ ชอบการไม่คลี่คลายอะไรเลยของมัน”

มันมีทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่เป็นปัญหา พูดถึงส่วนที่เป็นปัญหาก่อน
ปัญหาคือเวลาวิกรานต์คือเขียนเรื่องการเมือง เรื่องอะไรที่ต้องอาศัยสถานที่พื้นที่เฉพาะหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ มันจะถูกเล่าแบบไม่คล่องมือ เหมือนพยายามเซตขึ้น จินตนาการขึ้นมันเลยเว้าแหว่งตรงนั้นตรงนี้เหมือนออกแบบมาไม่ครบและจงใจให้เป็นฉากหลัง ที่ชัดเจนเกินไป ทำให้พลังของ การพยายามบรรยาตามขนบ ด้วยความตั้งใจให้ผู้อ่านเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์เป็นวิธีที่ไม่ประสบผล เพราะมันไม่สำเร็จในการสร้างฉากขึ้นมา มันทำให้พลังของ ‘อรชุน’ และ ‘เรื่องราวที่ถูกเล่าซ้ำ’ อ่อนกำลังลง

แต่อย่างไรก็ตาม พอเรื่องกลับสู่อะไรอย่าง การวิ่งมาราธอน ความอ้างว้างในเมือง เขาจะเขียนได้อยู่มือทันที มันทำให้เรื่องอย่าง หลุมดำกลางจักรวาล หรือ พื้นที่ต้องห้าม มีพลังมากขึ้น เพราะเขาเล่าด้วยเสียงของคนที่รู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหนอย่างไร

เราคิดว่าวิกรานต์เขียนเรื่องรักได้ดี แต่การเป็น allergory มากกว่านั้น ยังตรงไปตรงมาจนเหมือนมีป้ายบอกทางไปหน่อย

การวิ่ง อุบัติเหตุนอกเฟรมภาพ ตัวละครที่เป็นเพียงภาพขยายของบาดแผลจากอุบัติเหตุในอดีต และการไม่ย้อนคืนกลับมาเป็นปกติ เป็นแก่นแกนของงานชุดนี้ที่เกือบทั้งหมดเมื่อพ้นไปจากการเมืองก็จะเป็นการเล่าเรื่องชีวิตอ้างว้างในเมืองใหญ่ รักไม่สมปรารถนา ที่มีผลจากเรื่องในอดีตที่ผู้อ่านได้รู้เพียงครึ่งเดียว กรือไม่ได้รับรู้ หรือไม่มีสิทธิ์รับรู้ราวกับตัวละครในเรื่องไม่มีใครเป็นอิสระ ทุกตัวเป็นนักโทษของอดีต ผีที่ตามหลอกหลอน หรือคำสาป

จุดที่ชอบมากๆ จริงๆ คือการไม่คลี่คลาย ว่าอะไรเคยเกิดขึ้น ช่องว่างระหว่างนอกเรื่องเล่ากับในเรื่องเล่าทำให้คนอ่านร่วงหล่นได้ และความไม่คลี่คลายกลายเป็นนหัวใจ
แต่เหมือนยังต้องขัดเกลาอีกนิดและลดทอนความเหงาตามขนบบางอย่างลง โดยคงเรื่องเล่าที่ไม่คลี่คลาย ไม่ประนีประนอมเอาไว้

Review: ความโดดเดี่ยวของนักวิ่งระยะไกล

โดดเดี่ยวของนักวิ่งระยะไกล‬

จาก Facebook ภู ภูเพยีย

เพิ่งอ่านเรื่องสั้นทั้ง ๑๒ เรื่องในหนังสือชื่อ ‘ความโดดเดี่ยวของนักวิ่งระยะไกล’ ของ
วิกรานต์ ปอแก้ว จบ

ยอมรับว่าตอนสั่งซื้อนั้นเพราะชื่อหนังสือโดยเข้าใจผิดคิดว่าเขาเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการวิ่งระยะไกล อยากรู้ว่าเขาคิดอะไรระหว่างนั้น มีอะไรน่าสนใจหรืออะไรที่ทำให้เขาอยากวิ่ง แต่เมื่ออ่านทุกเรื่องแล้วกลับชอบเรื่องสั้นที่เขาเขียนเกือบทุกเรื่อง แม้จะมีกลิ่นการเมืองแฝงอยู่เต็มๆ สองเรื่อง ก็อ่านได้ไม่รำคาญ ส่วนเรื่องอื่นๆ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรัก (ชอบเรื่อง หลุมดำกลางจักรวาล / Lost Stars ) พูดถึงความหวังในสังคม ฉันเศร้ากับเรื่อง ดวงวิญญาณสูญสลาย ซึ่งเป็นเรื่องการยอมรับในเพศสภาพ บางคนยอมรับได้ บางคนกลับไม่ จึงเกิดเรื่องเศร้าๆ อย่างไม่น่าจะเกิด

ส่วนเรื่องราวของการวิ่งระยะไกลนั้น เอ่ยพอเป็นทำเนาในเรื่องสั้นบางเรื่องใน บาดแผลชื่อความคิดถึง แต่ไม่ได้เน้นรายละเอียดความรู้สึกในการวิ่ง (ไม่ทราบว่าผู้เขียนวิ่งระยะไกลหรือเปล่า) อ่านจนจบก็เข้าใจว่าทำไมถึงใช้ชื่อหนังสือชื่อนี้ ทั้งที่ไม่ได้เป็นชื่อเรื่องสั้นเรื่องใดในเล่มเลย เพียงแต่เปรียบเทียบการอ่านก่อนมาเขียนนั้นเริ่มต้นอย่างไร ก้าวผ่านความยากลำบากเพียงลำพังบนเส้นทางการเขียน จะมีช่วงสุดท้ายของระยะทางที่ต้องต่อสู้ผสมกับต้นทุนที่มีและความกล้าแกร่งของจิตใจที่จะฟันฝ่าตามลำพัง ยิ่งเหนื่อยยิ่งตระหนักถึงความรู้สึกโดดเดี่ยวยิ่งขึ้น

แต่ที่ชอบมากที่สุดสำหรับเล่มนี้คือน้ำเสียงในการเล่าเรื่อง ภาษาเรียบง่าย อ่อนหวานแต่เศร้า เหมือนคลื่นสั่นไหวใต้ผิวน้ำอันเรียบสงบ สละสลวยด้วยถ้อยคำ สะเทือนอารมณ์
ขอบคุณค่ะ

การออกแบบปก “ความโดดเดี่ยวของนักวิ่งระยะไกล”

การออกแบบปกของรวมเรื่องสั้น “ความโดดเดี่ยวของนักวิ่งระยะไกล” มาลงตัวทีการเลือก มานิตา ส่งเสริม เป็นผู้ออกแบบปก เธอไม่ใช่นักออกแบบหน้าใหม่เสียทีเดียว มีผลงานที่น่าจดจำตั้งแต่หน้าปก วารสาร Bookmoby หน้าปกหนังสือ SUM ที่เป็นที่ฮือฮามาแล้ว นอกจากนั้นเธอยังมีผลงานอีกมากมายทั้งในและต่างประเทศ
แนวคิดของมานิตาต้องการสื่อหน้าปกโดยใช้สัญลักษณ์ และการปล่อยที่ว่างให้คิด พื้นที่สี่เหลี่ยมสีแดง สามารถแทนสนามหญ้า ลู่วิ่ง สนามวิ่ง พื้นที่ หรือกรอบที่ครอบคลุมไว้ ส่วนวงกลมคือตัวแทนของคนหรือตัวละครในแต่ละตัว ปกหน้าจะเชื่อมโยงไปถึงปกหลัง คือวงกลมที่พ้นออกจากกรอบและย้ายมาตำแหน่งที่ 3

มานิตาเลือกใช้สีแดง เพราะด้วยพลังของสีเหมือนเป็นการตะโกนหรือการเรียกร้องออกมาซึ่งต้องการให้ตัดกับรูปแบบที่เรียบง่ายของการจัดวางและชื่อเรื่อง

1 comment

Leave a Comment

You may also like

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More